Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59225
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ | - |
dc.contributor.author | สุทธิพันธุ์ พุฒิเลอพงศ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.coverage.spatial | นนทบุรี | - |
dc.date.accessioned | 2018-06-26T08:38:12Z | - |
dc.date.available | 2018-06-26T08:38:12Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59225 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยและผลกระทบที่เกิดจากการขยายตัวของที่อยู่อาศัยในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางบัวทองตลอดจนศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงต่อที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษา และเสนอแนะแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษา วิธีการศึกษาประกอบด้วยการสำรวจพื้นที่ และการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจำนวน 399 ชุด โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ในการศีกษาครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างจะเป็นผู้ที่พักอาศัยในนนทบุรี และมีแหล่งงานอยู่ในกรุงเทพฯ และประมวลผลโดยโปรแกรม SPSS ในการแจกแจงความถี่แบบร้อยละ และใช้ Crosstab เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูล ส่วนการหาศักยภาพของพื้นที่ศึกษาเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยใช้เทคนิค Potential Surface Analysis(PSA) ผลการศึกษาพบว่านนทบุรีเป็นเมืองที่มีการขยายตัวของที่อยู่อาศัย ซึ่งมีปัจจัยจากความเหมาะสมของที่ตั้งที่ติดต่อกับกรุงเทพฯจึงมีเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อหลายเส้นทาง ทั้งการสร้างถนนเป็นการเปิดพื้นที่ในการพัฒนาที่พักอาศัย ราคาที่ดินที่มีราคาถูก และสภาพแวดล้อมที่ดีเพราะในอดีตนนทบุรีเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ยังไม่ถูกทำลายจากอุตสาหกรรม รวมถึงความพร้อมของสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ นนทบุรีจึงเป็นพื้นที่รองรับประชากรจากกรุงเทพฯส่งผลให้มีปัญหาจราจรบนถนนรัตนาธิเบศร์ และถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งเมื่อพิจารณาจากค่าV/C Ratio เท่ากับ 1.35 และ 1.55 ตามลำดับ น าไปสู่การแก้ไขปัญหาโดยการสร้างเส้นทางคมนาคม เช่น สะพานพระราม5 สะพานพระนั่งเกล้าแห่งใหม่ แต่ไม่สามารถแก้ไขได้ ดังนั้นโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งมีเส้นทางระหว่างบางซื่อ-บางใหญ่ มีระยะทาง 23 กิโลเมตร 16 สถานี เพื่อเป็นทางแก้ปัญหาการเดินทาง มีผลทำให้เกิดความสะดวกสบายในการเดินทางของคนในนนทบุรีกับกรุงเทพฯ และเมื่อเกิดระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ จึงมีการศึกษาผลกระทบของรถไฟฟ้าต่อที่อยู่อาศัยแต่ละสถานี พบว่า สถานีตลาดบางใหญ่ และคลองบางไผ่เป็นสถานีที่ตั้งอยู่บนถนนกาญจนาภิเษก และเชื่อมต่อกับถนนรัตนาธิเบศร์ ทั้งยังมีตลาดกลางสินค้าเกษตรของนนทบุรี (ตลาดบางใหญ่) ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ 3 แห่ง มีโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ และรถสาธารณะบริการกว่า 20 เส้นทาง เมื่อมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะทำให้เป็นแรงดึงดูดให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการของตลาดบางใหญ่มากขึ้น และการพัฒนาที่อยู่อาศัยก็จะมากขึ้น เพราะรถไฟฟ้าจะเป็นปัจจัยเพิ่มศักยภาพให้กับพื้นที่ จากการเดินทางที่เข้าถึงได้ดีขึ้น สถานีไทรม้ามีการใช้ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยอย่างหนาแน่น จึงมีการเดินทางเข้าสู่แหล่งงานสูงเช่นกัน แต่มีถนนรัตนาธิเบศร์เส้นทางเดียวในการเดินทางสู่กรุงเทพฯ ทำให้ประสบกับปัญหาจราจรเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับสะพานพระนั่งเกล้าที่มีปัญหาคอขวดในบริเวณทางขึ้น-ลงสะพาน ในด้านพาณิชยกรรมมีตลาดท่าอิฐให้บริการเพียงแห่งเดียว เมื่อเกิดโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะส่งผลให้การคมนาคมสะดวกขึ้น เป็นแรงจูงใจให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณนี้หันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น ดังนั้นการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงจึงเป็นปัจจัยที่เพิ่มศักยภาพการพัฒนาให้พื้นที่ และดึงดูดคนให้เข้ามาในพื้นที่มากขึ้น เนื่องจากการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯกับนนทบุรี สามารถเดินทางได้รวดเร็วขึ้น ข้อเสนอแนะควรมีการปรับปรุงผังเมืองรวมให้รับกับระบบขนส่งมวลชนระบบราง เช่น ในสถานีที่มีความหนาแน่นมากควรพัฒนาที่อยู่อาศัยในแนวสูง และควรมีการสร้างเส้นทางคมนาคมย่อยเพื่อให้พื้นที่ด้านในบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้ามีความสะดวกในการเข้าถึง | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study explores the factors which influence the expansion of Bang Yai and Bang Buathong residential areas in Nonthaburi province, investigates the effects of the Purple-line rail transit on the residential areas, and suggests guidelines for residential land use. The data collection was conducted using area surveys and 399 questionnaire responses. 399 respondents were selected with the purposive sampling method, based on their residency in Nonthaburi and jobs in Bangkok. The data analyses used the SPSS program to show frequency distribution and percentage frequency; the Crosstab to investigate the relationship of the variables; and the Potential Surface Analysis (PSA) technique to indicate the potential area for residence development. Results reveal that Nonthaburi is set for major expansion of residential areas due to its suitable location near Bangkok and various connecting routes. The factors which influence the Nonthaburi residential expansion for Bangkokians are more road construction, low land price, natural and non-destructive environment, as well as public utilities and infrastructure. These elements cause traffic congestion on Rattanathibet Road and Kanjanapisek Road, at 1.35 and 1.55 vehicle capacity ratio (V/C Ratio) respectively. To tackle the problem, various transport linkages were constructed, such as Rama V Bridge and New Pranangklao Bridge; however, the traffic problem was not remedied. To overcome the challenge, the 23-kilometer Purple-line rail transit project will be launched, comprising 16 stations from Bang Sue to Bang Yai. This will add convenience for Bangkok and Nonthaburi commuters. This study thus investigated the effects of the construction of mass rapid transit on residential areas around each station. Findings suggest that the Purple-line rail transit benefits Talad Bang Yai and Khlong Bang Phai stations in some aspects. These stations will be located on Kanjanapisek Road, intersecting with Rattanathibet Road, and are surrounded by Bang Yai Market, the central market for Nonthaburi agricultural products, three big retail stores and Kasemrad Rattanathibet Hospital, with public transportation of over 20 lines. The transit line will help bring more customers to the market and increase the value and accessibility of the residential areas. The land around Sai Ma Station is used substantially for residences, with Tha It Market being the only shopping place. A large number of people commute to work in Bangkok but the sole route to Bangkok is Rattanathibet Road, causing traffic bottlenecks up and down the Pranangklao Bridge. The Purple-line rail transit thus adds more convenience for transportation around this station. All in all, the Purple-line rail transit project will increases the value of land and will attract more residents because of travel convenience. It can be recommended that the overall urban planning be adapted for the mass rail transit system. For instance, high-rise buildings should be developed around the transit stations. More high-density residences and sub-roads should be constructed around the stations for higher accessibility. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.137 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การใช้ที่ดิน -- ไทย -- นนทบุรี | en_US |
dc.subject | ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- นนทบุรี | en_US |
dc.subject | รถไฟฟ้า | en_US |
dc.subject | Electric railroads | en_US |
dc.subject | Dwellings -- Thailand -- Nonthaburi | en_US |
dc.subject | Land use -- Thailand -- Nonthaburi | en_US |
dc.title | แนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อรองรับระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง | en_US |
dc.title.alternative | Guidelines for residential land use in response to purple-line rail transit | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การวางผังเมือง | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Sakchai.K@chula.ac.th | - |
dc.description.publication | แฟ้มข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text) ชื่อเรื่องนี้เป็นแฟ้มข้อมูลของนิสิตเจ้าของวิทยานิพนธ์ที่ส่งผ่านทางบัณฑิตวิทยาลัย | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.137 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sutthiphan Putthilerpong.pdf | 8.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.