Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59227
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนม คลี่ฉายา-
dc.contributor.authorสุประพล นกทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2018-06-26T09:20:29Z-
dc.date.available2018-06-26T09:20:29Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59227-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractค้นหาและจัดกลุ่มองค์ประกอบตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (ซีเอสอาร์) ของบริษัทธุรกิจในประเทศไทย การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกนักวิชาชีพและนักวิชาการ จำนวน 6 คน เพื่อค้นหาตัวชี้วัด ส่วนที่สองคือ การวิจัยเชิงสำรวจผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการปฏิบัติงานซีเอสอาร์ ของบริษัทธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยปี 2552 จำนวน 224 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis) จัดกลุ่มองค์ประกอบตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลการดำเนินซีเอสอาร์ของบริษัทธุรกิจ ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความหมายของซีเอสอาร์ซึ่งมีสาระสำคัญคือ เป็นการดำเนินงานขององค์กรเพื่อแสดงความรับผิดชอบในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตของคนในสังคมและสิ่งแวดล้อม ต่อกลุ่มคน 2 กลุ่มหลักคือ กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน ครอบครัวของพนักงาน คณะผู้บริหาร ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียโดยอ้อม ได้แก่ ประชาชนทั่วไป คู่แข่งขันทางธุรกิจ ทั้งนี้เพื่อที่จะสนับสนุนให้เกิดการรับรู้ของการมีชื่อเสียงที่ดีขององค์กรเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนขององค์กร ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลซีเอสอาร์พบว่ามี 4 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ตัวชี้วัดในกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ประกอบด้วย ความมั่นใจของผู้ถือหุ้น ความพึงพอใจในสินค้าหรือบริการของลูกค้า ความไว้วางใจของลูกค้า ผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น ความมั่นใจของคู่ค้า ผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อพนักงาน ความมั่นใจของพนักงาน จำนวนเรื่องร้องเรียนที่ลดลง การที่บุคลากรคุณภาพไม่ลาออกจากบริษัท การปฏิบัติที่เป็นธรรมต่อคู่ค้า และความภูมิใจของผู้ถือหุ้น องค์ประกอบที่ 2 ตัวชี้วัดในกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียโดยอ้อม ประกอบด้วย การได้รับการสนับสนุนจากชุมชน การได้รับการสนับสนุนจากสังคม ความเชื่อใจจากสังคม ความเชื่อใจจากชุมชนและความเชื่อใจจากสื่อมวลชน องค์ประกอบที่ 3 ตัวชี้วัดในกลุ่มรายได้และตราสินค้า ประกอบด้วย รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการขายสินค้าหรือบริการ การเสริมตำแหน่งตราสินค้าให้แข็งแกร่ง ความรู้สึกทางบวกต่อตราสินค้า ผลกำไรในระยะยาวและการทำให้ตราสินค้ามีความแตกต่างจากคู่แข่งขัน องค์ประกอบที่ 4 ตัวชี้วัดในกลุ่มกดดัน ประกอบด้วย ความเชื่อใจจากองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ความเชื่อใจจากหน่วยงานรัฐบาล การได้รับการสนับสนุนจากองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐบาลen_US
dc.description.abstractalternativeTo find indicators of corporate social responsibility (CSR) evaluation of Thai business firms. The methodology divided into 2 parts. 1) Qualitative research, in-dept interview is used for data collecting among 6 people of academic and professional experts in CSR. 2) Quantitative research, questionnaire is used for survey research among 224 samples from the listed companies of The Stock Exchange of Thailand in 2009. The research finds that the experts give the meaning of CSR in key term as means to commit with responsibility in economic, quality of life and environment for 2 main target groups; primary stakeholders such as customer, trader, employee, employee’s family executive, community, etc. and secondary stakeholders such as public, business competitor, etc., in order to promote good corporate reputation awareness that leads to sustain of the corporate. The factor analysis concludes that there are 4 factors of indicators for CSR evaluation as follows; 1. Primary stakeholders: such as trust from shareholders, customers’ satisfaction, fare return benefit for shareholders, trust from traders, fare return benefit for employee, less complaint, low employee turn over rate, fare treat to traders and proud of shareholders. 2. Secondary stakeholders: such as trust and support from community, trust and support from people in society and trust from mass media person. 3. Profit and branding: such as increase income, strength brand positioning, positive brand felling, long term profit and brand differentiate. 4. Pressure group: such as trust and support from Non-government organizations (NGOs), trust and support from government.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.760-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจen_US
dc.subjectความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ -- การประเมินen_US
dc.subjectบริษัทมหาชน -- ไทยen_US
dc.subjectSocial responsibility of businessen_US
dc.subjectSocial responsibility of business -- Evaluationen_US
dc.subjectPublic companies -- Thailanden_US
dc.titleตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทธุรกิจในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeIndicators of corporate social responsibility evaluation of Thai business firmsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPhnom.K@Chula.ac.th-
dc.description.publicationแฟ้มข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text) ชื่อเรื่องนี้เป็นแฟ้มข้อมูลของนิสิตเจ้าของวิทยานิพนธ์ที่ส่งผ่านทางบัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.760-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suprapol Nokthong.pdf969.96 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.