Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59273
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุเทพ กลชาญวิทย์-
dc.contributor.authorฉัตรชัย เกรียงกิรากูร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทย์ศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-06-30T03:15:49Z-
dc.date.available2018-06-30T03:15:49Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59273-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: มีรายงานถึงความผิดปกติของการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของกระเพาะอาหารในผู้ป่วยกรดไหลย้อน อย่างไรก็ตาม ผลของพริกแดงต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของกระเพาะอาหารนั้นยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน ดังนั้นวัตถุประสงค์การศึกษานี้เพื่อศึกษาผลของพริกแดงต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของกระเพาะอาหารอาการทางหลอดอาหารและกระเพาะอาหารในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนเปรียบเทียบกับอาสาสมัครปกติ ระเบียบวิธีวิจัย: ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนและอาสาสมัครปกติจะต้องงดน้ำและอาหาร 6 ชั่วโมงก่อนมาทำการศึกษา พบว่ามีอาสาสมัครปกติ 10 คน (ผู้ชาย 7 คน, อายุเฉลี่ย 31.80±2.48 ปี) และผู้ป่วยกรดไหลย้อน 9 คน (ผู้ป่วยกรดไหลย้อนทุกคนได้รับการใส่สายวัดกรด 24 ชั่วโมงที่หลอดอาหารส่วนปลาย พบว่าค่าเฉลี่ยของร้อยละความเป็นกรดตลอดเวลา 24 ชั่วโมงมีค่าเท่ากับ 12.86±5.89; ผู้ชาย 4 คน, อายุเฉลี่ย 47.66±2.98 ปี) ผู้เข้าร่วมการศึกษาทุกคนจะได้รับการตรวจปริมาตรของกระเพาะอาหารหลังจากการรับประทานพริกแดง 2 กรัม (เท่ากับมีสาร capsaicin 1.46 มิลลิกรัม) และยาหลอก ด้วยเครื่อง single photon emission computed tomography (SPECT), การศึกษานี้เป็นแบบ randomized double blind cross-over fashion โดยมีการเว้นช่วงระหว่างสาร 2 ชนิดเป็นเวลา 1 สัปดาห์. ผู้เข้าร่วมการศึกษาทุกคนจะได้รับประทานอาหารเหลว 250 มิลลิลิตร (Ensure) ที่ 15 นาทีหลังรับประทานพริกหรือยาหลอก การวัดปริมาตรของกระเพาะอาหารเริ่มที่ 10 นาที หลังรับประทานพริกหรือยาหลอก และวัดปริมาตรของกระเพาะอาหารทุกๆ 10 นาทีหลังจากรับประทานอาหารเหลวจนครบ 50 นาที การเปลี่ยนแปลงปริมาตรของกระเพาะอาหาร (gastric accommodation;GA) คือ การนำค่าปริมาตรของกระเพาะอาหารมากที่สุดหลังรับประทานอาหารเหลวลบด้วยค่าปริมาตรของกระเพาะอาหารขณะท้องว่าง. อาการของระบบทางเดินอาหารส่วนต้นจะถูกประเมินด้วย visual analog scales ความยาว 10 เซ็นติเมตร ที่ก่อนรับประทานพริกหรือยาหลอก, หลังรับประทานพริกหรือยาหลอก, และทุก 10 นาทีหลังรับประทานอาหารเหลว. การเปลี่ยนแปลงปริมาตรของกระเพาะอาหาร (gastric accommodation;GA) และ อาการของระบบทางเดินอาหารส่วนต้นจะถูกเปรียบเทียบกันระหว่างการรับประทานพริกและยาหลอก ผลการศึกษา: (ข้อมูลจะอยู่ในรูปค่าเฉลี่ย±ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน) ในกลุ่มอาสาสมัครปกติ หลังจากการรับประทานพริกจะมีอาการปวดแสบร้อนท้องและเรอลมเพิ่มขึ้นมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการรับประทานยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.510.16, และ 0.610.14 ระหว่าง 0.030.01, และ 0.010.01, ตามลำดับ, p<0.05) ส่วนอาการอื่นๆเช่น อาการปวดท้อง, ความรู้สึกอิ่มง่าย, อาการอืดแน่นท้อง, อาการแสบร้อนอก, อาการเรอเปรี้ยว, อาหารไหลย้อนขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ, และอาการคลื่นไส้อาเจียน ไม่มีแตกต่างกันระหว่างการรับประทานพริกกับยาหลอก ขณะที่ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนจะมีอาการปวดแสบร้อนท้องมากขึ้นหลังจากการรับประทานพริกเมื่อเปรียบเทียบกับการรับประทานยาหลอก(4.04±1.10 ระหว่าง 2.50±1.03; p<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบกับอาสาสมัครปกติที่รับประทานพริก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (4.04±1.10 ระหว่าง 0.51±0.16; p<0.05) อาการแสบร้อนอกของผู้ป่วยกรดไหลย้อนระหว่างการรับประทานพริกและยาหลอก (2.19±0.97 ระหว่าง 1.65±0.92) และอาการอื่นๆไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05). หลังจากรับประทานยาหลอก การเปลี่ยนแปลงปริมาตรของกระเพาะอาหาร (gastric accommodation;GA) ในผู้ป่วยกรดไหลย้อนจะเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียกับอาสาสมัครปกติ แม้ว่าจะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (424.44±37.21 ระหว่าง 373.80±15.85; p>0.05). และหลังจากการรับประทานพริก การเปลี่ยนแปลงปริมาตรของกระเพาะอาหาร (gastric accommodation;GA) ก็ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับการรับประทานยาหลอกในอาสาสมัครปกติ (381.50±24.23 ระหว่าง 373.80±15.85; p>0.05) และในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน (430.11±28.45 ระหว่าง 424.44±37.21; p>0.05). ปริมาตรกระเพาะอาหารก่อนการรับประทานพริกหรือยาหลอกและเวลาที่ 0, 10, 20, 30, 40, และ 50 นาที หลังการรับประทานอาหารเหลว ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างการรับประทานพริกและยาหลอก (p>0.05) สรุป: การรับประทานพริกไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรกระเพาะอาหารหลังรับประทานอาหารทั้งในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนและอาสาสมัครปกติ และพบว่าการรับประทานพริกจะทำให้เกิดอาการแสบร้อนท้องในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนมากกว่าในอาสาสมัครปกติ แสดงว่าการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรกระเพาะอาหารมีบทบาทเล็กน้อยต่อการเกิดอาการของหลอดอาหารและกระเพาะอาหารในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนและอาสาสมัครปกติen_US
dc.description.abstractalternativeBackground: Abnormal gastric accommodation (GA) has been reported in GERD. However, the effects of red chili on GA have not been explored. Aim: To investigate the effects of red chili on GA and upper gastrointestinal (GI) symptoms in GERD patients compare to healthy volunteers. Methods: After an overnight fast, 10 healthy volunteers (HV) (7 males, mean age 31.80±2.48 years) and 9 GERD patients (all GERD patients underwent 24 hour esophageal pH monitoring and mean±SE of total % time pH < 4 was 12.86±5.89; 4 male, mean age 47.66±2.98 years) underwent single photon emission computed tomography (SPECT) for GA after ingestion of 2 gm chili (C) (capsaicin = 1.46 mg) or placebo(P) in capsules, in a randomized double blind cross-over fashion with a one-week washout period. All subjects ingested standard liquid meals (250 ml of Ensure) at 15 minutes after the ingestion of C or P capsules. Gastric volume monitoring began at 10 minutes before C or P ingestion and was continued for 50 minutes after the liquid meal ingestion. The GA volume was the maximal postprandial gastric volume minus the fasting gastric volume. Upper GI symptoms were evaluated using 10 cm long visual analog scales at baseline, after C or P ingestion and at every 10 minutes after liquid meal ingestion. The GA and upper GI symptoms were compared between after P and C ingestion. Results: (data were expressed as meanSEM) In HV; after ingestion of C, abdominal burning and bleching symptom scores were significantly increased compared to P (0.510.16, and 0.610.14 vs 0.030.01, and 0.010.01, respectively, p<0.05). Other symptom scores including abdominal pain, early satiety, abdominal fullness, heartburn, acid regurgitation, food regurgitation, and nausea/vomiting were not significantly different comparing between C and P. Whereas in GERD patients, abdominal burning symptom was significantly increased after C compared to P (4.04±1.10 vs 2.50±1.03; p<0.05) and compared to that was in HV (4.04±1.10 VS 0.51±0.16; p<0.05). The heartburn (HB symptom score C vs P; 2.19±0.97 vs 1.65±0.92) and other symptoms were not significantly different between C and P (p>0.05). After placebo, GA in GERD patients was increased, although not significantly different compared to HV (424.44±37.21 vs 373.80±15.85; p>0.05). After C ingestion, GA was not significantly different compared to P in HV (381.50±24.23 vs 373.80±15.85; p>0.05) and in GERD patients (430.11±28.45 vs 424.44±37.21; p>0.05). The gastric volume at baseline and at 0, 10, 20, 30, 40, and 50 minutes after meal ingestion were not significantly different between C and P (p>0.05). Conclusions: GA and postprandial gastric volume in GERD patients and HV were not significantly increased after C ingestion. Chili ingestion induces abdominal burning in GERD patients more than healthy volunteers. This suggests that, GA plays little role on chili induced symptoms in GERD patients and healthy volunteers.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2161-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectGastroeophageal refluxen_US
dc.subjectกรดไหลย้อนen_US
dc.subjectกระเพาะอาหารen_US
dc.titleผลของพริกป่นแดงต่อการเกิดการขยายตัวของกระเพาะอาหารส่วนต้น, อาการของหลอดอาหารและกระเพาะอาหารในอาสาสมัครที่มีสุขภาพแข็งแรงและผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อนen_US
dc.title.alternativeEffect of red chili on gastric accommodation of proximal stomach, esophageal and gastric symptoms in healthy volunteers and patients with gastroesophageal reflux diseaseen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorgsutep@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.2161-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatchai Kriengkirakul.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.