Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59275
Title: กระบวนการสร้างสารของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ในรายการธรรมะเดลิเวอรี่
Other Titles: Message production of Phramaha Sompong Talaputto in Dhammadelivery Programme
Authors: ชลธิชา ชูชาติ
Advisors: สุธี พลพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: sutee.p@chula.ac.th
Subjects: พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต
ธรรมะเดลิเวอรี่ (รายการโทรทัศน์)
การสื่อทางภาษาพูด
การสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด
Dhammadelivery (Television programs)
Oral communication
Nonverbal communication
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษากระบวนการสร้างสารของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ในรายการธรรมะเดลิเวอรี่ โดยการศึกษาดังกล่าวเป็นไปเพื่อตอบวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ถึงรูปแบบการนำเสนอและเนื้อหาที่ถ่ายทอดโดยพระมหาสมปอง 2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสารของพระมหาสมปอง 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของของผู้รับสารที่มีต่อรูปแบบการนำเสนอ และเนื้อหาที่ถ่ายทอดโดยพระมหาสมปอง โดยระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้คือ วิธีกาวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอและเนื้อหาจากวีซีดีรายการธรรมะเดลิเวอรี่ ชุดที่ 8-20 การสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้สร้างสาร 2 ส่วน คือ บริษัทแกรมมี่ เทเลวิชั่น จำกัด ผู้ผลิตรายการ และพระมหาสมปอง ผู้ถ่ายทอดเนื้อหาสาร และการสัมภาษณ์ผู้รับสาร 2 กลุ่ม คือ ผู้ชมรุ่นใหม่ และผู้ชมรุ่นเก่า จำนวนกลุ่มละ 10 คน โดยอาศัยแนวคิดรายการสนทนา แนวคิดด้านการสื่อสารเชิงวัจนะและอวัจนะ ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันศาสนาและสถาบันสื่อมวลชน แนวคิดการสร้างสารด้วยการพูด แนวคิดการผสมผสาน และแนวคิดรสนิยม เป็นกรอบในการวิเคราะห์ โดยผลการศึกษาพบว่า 1. พระมหาสมปอง ใช้รูปแบบวิธีการสื่อสารใน 2 ลักษณะ คือ รูปแบบการสื่อสารเชิงวัจนะ ได้แก่ การใช้คำพูด เช่น การตั้งคำถาม การอธิบายให้เห็นชัดเจน การเลือกใช้ถ้อยคำ เช่น คำหรือภาษาอย่างที่คนทั่วไปพูดกัน คำใหม่ คำแปลก คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ภาษาสมัยใหม่/ภาษาวัยรุ่น คำคม ภาษาพระ การเล่นคำเล่นภาษา เช่น การใช้คำสัมผัสคล้องจอง การผสมภาษา การอุปมาอุปไมย การถามตอบ การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง การใช้อารมณ์ขัน การเล่าเรื่อ การใช้เหตุการณ์ปัจจุบัน การใช้กิจกรรม และการใช้ภาพและเสียง เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวประเภทภาพยนตร์ เสียงดนตรี รูปแบบการสื่อสารเชิงอวัจนะ ได้แก่ พฤติกรรมของเสียงด้วยการพูดเสียงดังฟังชัด น้ำเสียงน่าฟัง ชัดถ้อยชัดคำ มีจังหวะในการพูดที่ค่อนข้างเร็ว และการเลียนเสียงพฤติกรรมการพูดของวัยรุ่น การเลียนเสียงศิลปินตลก การแสดงอากัปกิริยาท่าทางที่หลากหลายปะปนกัน ได้แก่ การวางท่า และการใช้ท่าทางประกอบการพูด และมีการแสดงออกทางใบหน้าอย่างเป็นธรรมชาติ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีชีวิตชีวา แสดงออกทางสีหน้าสอดคล้องตามเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ และการสบสายตากับผู้ฟังตลอดเวลา 2. พระมหาสมปอง มีการกระบวนการสร้างสารใน 3 ด้าน คือ 1. ด้านความรู้ความเข้าใจ ได้แก่ การวิเคราะห์ผู้รับสาร การกำหนดวัตถุประสงค์ และการกำหนดรูปแบบการเผยแพร่ธรรมะในแบบธรรมะเดลิเวอรี่ 2. ด้านทักษะ ได้แก่ การเลือกใช้สื่อ และการเลือกสาร 3. ด้านกลยุทธ์ ได้แก่ การใช้อารมณ์ขัน การเล่าเรื่อง การใช้เหตุการณ์ปัจจุบัน การใช้ความรู้ประสบการณ์เดิม และการเลียนแบบ ซึ่งเป็นการสร้างสารที่ถือเอาผู้รับสารเป็นตัวตั้ง อีกทั้งเป็นการสร้างสารจากรสนิยม/ความชื่นชอบรูปแบบใหม่ของผู้รับสารเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะรสนิยม/ความชื่นชอบของผู้รับสารกลุ่มเด็กและวัยรุ่น 3. ผู้ชมรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ (เกือบทั้งหมด) มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนำเสนอ และเนื้อหาของพระมหาสมปอง ซึ่งแตกต่างจากความคิดเห็นของผู้ชมรุ่นเก่า ซึ่งมีทั้งความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจ แต่จากสัดส่วนที่แสดงออกซึ่งความพึงพอใจและไม่พึงพอใจมีจำนวนแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังของความความพึงพอใจ และความไม่พึงพอใจดังกล่าว เกิดจาก "รสนิยม" (taste) ของผู้รับสารทั้งสองกลุ่ม ทั้งรสนิยมในเรื่องทางธรรม และรสนิยมในเรื่องทางโลก ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเรื่อง "อายุ" ของผู้รับสารทั้งสองกลุ่ม เนื่องจากตัวแปรเรื่องอายุนั้นเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผ่านมา โดยเฉพาะประสบการณ์การเรียนรู้ในทางธรรม หรือต้นทุนทางศาสนาของผู้รับสารทั้งสองกลุ่ม เนื่องจากในการวิจัยครั้งนี้ความคิดเห็นที่แตกต่างระหว่างผู้รับสารสองกลุ่มเกิดจาก "ตัวแปรเรื่องประสบการณ์การเรียนรู้ในทางธรรม หรือ ต้นทุนทางศาสนา"
Other Abstract: The research focuses on the study of message creation processes of Phramaha Sompong Talaputto in Dhamma Delivery Programme. The 3 main objectives are 1) To analyze the presentation patterns and contents, 2) To study the message creation processes, and 3) To study the opinions of receivers toward presentation patterns and contents of Phramaha Sompong. The research methodology is mainly qualitative research, consisting of analysis of presentation patterns and contents from Dhamma Delivery Programme VCD, no. 8-20, in-depth interview with producer and speaker; Grammy Television Co., Ltd. and Phramaha Sompong. For receivers, 2 groups are interviewed, which are new generation and mature adult, 10 persons each. The scope of analysis includes various concepts related to talk show, verbal and non-verbal communication, relationship between religion and mass media, verbal message creation, combined method of message creation, and taste. The results show that; 1. Phramaha Sompong applies both verbal and non-verbal communication methods in that he makes use of speech in asking questions and describing words. He knows how to choose variety of words that are very common, modern, exotic, transliterated, trendy/cool, precise, or religion-related. He also applies synchronization, mix, analogy, questions and answers, representation, humor, narration, current issues, activities, light and sound, illustration, motion, film, and music. On the other hand, his non-verbal communication is reflected by his tone of voice that is clear, gentle, precise, and quick-rhythm. His speaking expertise also includes imitation of teenagers' voices and comedian, movement hybrid such as posture and gesture. Not only can he use facial emotion to convey the message effectively, Phramaha Sompong is capable of maintaining pleasant facial appearance, happy and lively look, as well as eye contact with audiences. 2.Phramaha Sompong creates message processes in 3 aspects: 1) Understanding of audiences which are audience analysis, objective identification, and communication pattern identification in accordance with Dhamma Delivery, 2) Communication skills which is media and message selection, and 3) Communication strategies which are humor, narration, current issues, experiences, and imitation. These strategies focus on the audiences (audience-centered) and taste/preference of receivers, especially youths and teenagers. 3.Most of new-generation audiences are satisfied with presentation patterns and contents of Phramaha Sompong. On the contrary, mature adults show significant differences between the group who are satisfied and those who are not. The rationale behind the conflict relates to the "taste" of both groups of receivers in terms of religion and personal life. This result shows that the disagreement between two groups of receivers relates to the age, the key factor that reflects the different experiences of both groups, specifically, in terms of religious understanding or background.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59275
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.37
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.37
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chonticha Chuchart.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.