Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59278
Title: ผลการใช้โปรแกรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุต่อประสิทธิผลของทีมการพยาบาลและพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน
Other Titles: The effects of using fall prevention program on the effectiveness of nursing team, and fall prevention behaviors of community-dwelling elders
Authors: ฐิติมญชุ์ ปัญญานะ
Advisors: สุวิณี วิวัฒน์วานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: suvinee.w@chula.ac.th
Subjects: ผู้สูงอายุ
การพยาบาลผู้สูงอายุ
การหกล้มในผู้สูงอายุ
Older people
Geriatric nursing
Falls (Accidents) in old age
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการ หกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน 2) เพื่อ เปรียบเทียบประสิทธิผลของทีมการพยาบาลในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุก่อนและหลังการใช้โปรแกรม การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มคือ 1) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วย บริการปฐมภูมิโรงพยาบาลเชียงกลางและหน่วยบริการปฐมภูมิระดับตำบล จำนวน 12 คน 2) ผู้สูงอายุเป็น ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อการหกล้ม ที่มีอายุ 60-75 ปี จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง คือ แผนการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาโปรแกรมการป้องกันการ หกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน แนวปฏิบัติโปรแกรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน คู่มือการปฏิบัติการ ป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนสำหรับพยาบาลและคู่มือการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุและ ครอบครัว ส่วนที่ 2 เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบวัดความรู้การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุสำหรับ พยาบาล แบบวัดความรู้การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนสำหรับอสม.และเครื่องมือบันทึกการออก กำลังกายเพื่อฝึกการทรงตัวของผู้สูงอายุ และส่วนที่ 3 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ชุดคือ 1) แบบสอบถาม ประสิทธิผลของทีมการพยาบาลในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ 2) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการป้องกันการหก ล้มของผู้สูงอายุในชุมชน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าความตรงเท่ากับ 1 และ .77 ตามลำดับ และทดสอบความเที่ยง โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 และ.77 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ ทดสอบที (Dependent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน หลังการใช้โปรแกรมการป้องกันการหกล้ม ของผู้สูงอายุในชุมชน สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -6.07, p = .00) 2. ประสิทธิผลของทีมการพยาบาลในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน หลังการใช้โปรแกรม การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุใน ชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -3.96, p = .002)
Other Abstract: The purpose of this research were to 1) compare fall prevention behaviors of community-dwelling elders before and after using fall prevention program 2) compare the effectiveness of nursing team before and after using fall prevention program. The research subject composed of 1) 12 professional nurses in Chiangklang community hospital and primary care units in Chiangklang district. 2) 34 community-dwelling elders who were fall risk group, 60-75 years old. The research instruments were fall prevention training project, fall prevention practice program, fall prevention manual for nurses and, fall prevention manual for community-dwelling elders and their familys, effectiveness of nursing team questionnaire and prevention behaviors interview form, tested for content validity by 5 experts, the validity were 1, .77 respectively, the Cronbach’s alpha coefficients were .89, .77 respectively. Statistical techniques utilized in data analysis were frequency, percentage, mean and t-test. Major finding of this study were as follows: 1. Fall prevention behaviors of community-dwelling elders after using fall prevention program were higher than before using fall prevention program significantly. 2. The effectiveness nursing team to prevent falls after using fall prevention program was significantly higher than before using fall prevention program significantly.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59278
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.868
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.868
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thitimon Punyana.pdf51.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.