Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5927
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์-
dc.contributor.advisorอมรา พงศาพิชญ์-
dc.contributor.authorนพดล ฐิติพงษ์พานิช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2008-02-22T01:30:45Z-
dc.date.available2008-02-22T01:30:45Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741721323-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5927-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractศึกษารูปแบบที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะปัจจัยด้านวัฒนธรรมการอยู่อาศัยและสังคมแบบครอบครัว ที่ส่งผลต่อรูปแบบการอยู่อาศัย วิธีการศึกษาใช้การสัมภาษณ์ตระกูลเก่าแก่ 6 ตระกูล ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัว กับการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยย้อนหลังไปจนถึงต้นตระกูล ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการอยู่อาศัยของชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญบางกระดี่ มีอิทธิพลจากความเชื่อเรื่องการสืบทอดผีบรรพบุรุษ และความเชื่อเรื่องทิศที่เป็นมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับการอยู่อาศัย ทำให้เกิดรูปแบบการอยู่อาศัยที่สำคัญคือ รูปแบบการขยายตัวจากบ้านสู่ชุมชนเกิดเป็น กลุ่มบ้านของชาวไทยเชื้อสายมอญบางกระดี่ มีปัจจัยมาจากระบบเครือญาติที่เกี่ยวพันทางสายเลือด และมีการนับถือผีบรรพบุรุษในตระกูลเดียวกัน ลักษณะการปลูกเรือนยังคงมีความเชื่อเรื่องทิศ ถ่ายทอดมาตั้งแต่ต้นตระกูลจนถึงปัจจุบัน โดยการวางด้านยาวของเรือนตามตะวัน ทิศทางการวางจั่วเรือนแนวทิศตะวันออก ทิศตะวันตก (ตามตะวัน) การวางบันไดเรือนมีทางขึ้นอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันออก โดยให้ความสำคัญกับทิศหัวนอนอยู่ทางใต้และทิศตะวันออก ความสำคัญกับทิศในการจัดลักษณะกายภาพที่อยู่อาศัย มีการวางจั่วเรือนทางทิศตะวันออก-ตะวันตก (ตามตะวัน ) การวางทางขึ้นบันไดทางทิศใต้และทิศตะวันออก การให้ความสำคัญกับห้องนอนเจ้าของเรือนที่เป็นที่ตั้งของเสาผีบรรพบุรุษ ต้องมีระดับพื้นห้องสูงกว่าห้องอื่น จากการศึกษาผู้วิจัยได้ค้นพบความแตกต่างของตำแหน่งเสาเอกในเรือน โดยเสาเอกหรือเรียกว่าเสาผีบรรพบุรุษเป็นเสาต้นที่สอง ซึ่งแตกต่างจากชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญที่อื่นๆ มีรูปแบบการอยู่อาศัยที่มีอัตลักษณ์จากความเชื่อเรื่องการถือผีบรรพบุรุษ และการสืบตระกูลโดยบุตรชายที่เมื่อมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องต่อไป ได้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยพื้นที่อยู่อาศัยเกิดจากความเป็นครอบครัวขยาย โดยมีการใช้ผนังกั้นเป็นห้องเพิ่มขึ้น สำหรับพื้นที่ชั้นล่างซึ่งเดิมเป็นพื้นที่โล่ง ได้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยโดยมีการกั้นห้องนอนเพิ่ม และการต่อเติมพื้นที่ห้องครัวและห้องน้ำ สรุปได้ว่า รูปแบบที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญบางกระดี่ มีอัตลักษณ์ที่มีแนวคิดของการอยู่อาศัยที่มีคุณค่าในสังคมไทย เพราะไม่ใช่ที่อยู่อาศัยที่มีมิติเพียงแค่สถาปัตยกรรม แต่ยังมีมิติทางสังคมและวัฒนธรรมที่ดีของชุมชนที่สะท้อนความคิดและอุดมการณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมของคนในครอบครัว ระบบเครือญาติ และความสัมพันธ์ของคนในชุมชนซึ่งมีวัฒธนธรรมร่วมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาเป็นชุมชนที่ยั่งยืนต่อไปen
dc.description.abstractalternativeTo study the Thai-Mon housing pattern of the Bangkradee community in Bangkhunthian district in Bangkok Metropolis, especially their cultures and paternal society affecting the housing pattern. The study was done through interviews of six ancient families regarding changes in family structure and changes in housing structure. The results of the study show that the housing pattern of the Thai-Mon in Bangkradee community is influenced by the beliefs of ancestral spirits and auspicious directions (points on the compass). This results in the following:The expansion from households to a community of Thai-Mon in Bangkradee is influenced by the familial system connected by blood, and respect to the same ancestral spirits.The construction of the house still relies largely on the belief on auspicious directions. The long side of the house is orientated to the sun; the gable is to the east and the west (facing the sun); the stairs leading up the house are on the south and the east. Importance is also placed on the orientation of the head bed ( to the east and the south) The house owner's bedroom, which houses the ancestral spirit post, must be raised to a higher level than the other rooms in the house.The belief in ancestral spirits and the continuation of family lineage by the son is reflected in the erection of partitions to create new rooms for extended family. The area downstairs which used to be an open space is partitioned to create an additional bedroom, a kitchen and a bathroom. From the study, the researcher has found the difference between the position of the principal house post. The principal house post, or the ancestral spirit post, is the second column in the house, which is different from other Thai-Mon communities elsewhere. In conclusion, the Thai-Mon settlement in Bangkradee community is unique in Thai society, as it is not just an art of architecture, but also reflects social and cultural values of the community. The housing pattern clearly reflects the thoughts and ideology about the social interactions between the members in the family, filial system and the relationship of the people in the community who share the same culture. These will lead to the development towards a sustainable community in the future.en
dc.format.extent20462097 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.316-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectที่อยู่อาศัยen
dc.subjectการตั้งถิ่นฐานen
dc.subjectสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นen
dc.subjectครอบครัวen
dc.subjectมอญ -- ไทย -- บางกระดี่ (กรุงเทพฯ)en
dc.subjectบางกระดี่ (กรุงเทพฯ) -- ความเป็นอยู่และประเพณีen
dc.titleรูปแบบการอยู่อาศัยชุมชนไทยเชื้อสายมอญบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeThai-Mon housing pattern, Bangkradee community, Bangkhunthian Bangkoken
dc.typeThesises
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเคหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorAmara.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.316-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NoppadolThiti.pdf19.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.