Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59284
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิมล ว่องวาณิช-
dc.contributor.advisorนงลักษณ์ วิรัชชัย-
dc.contributor.authorดวงเนตร ธรรมกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-06-30T04:48:50Z-
dc.date.available2018-06-30T04:48:50Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59284-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3ประการ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพด้วยวิธีการสอนแบบใช้ปัญหาและโครงการเป็นหลัก สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต 2)เพื่อเปรียบเทียบความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของนักศึกษาพยาบาล ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนต่างกัน และ 3 ศึกษาอิทธิพลของรูปแบบการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพที่มีต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมส่งเสริม สุขภาพของนักศึกษาพยาบาล และตรวจสอบพัฒนาการของความรู้ ทัศนคติมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของพฤติกรรมส่งเสริม สุขภาพในวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย ใช้การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 และ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจังหวัดนนทบุรีภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 190 คน ได้มาจากการเปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่ง ออกเป็น 2 ชุด ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้แบบวัดทัศนคติและแบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.872, 0.897 และ 0.913 ตามลำดับ และ 2) รูปแบบการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย 2.1) คู่มือและคำแนะนำการใช้รูปแบบการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ 2.2) แผนการสอน 2.3) แผนการจัดการเรียนรู้ 2.4) เอกสารประกอบการสอน และ 2.5) แบบตรวจสอบการจัดกระทำ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวัด 3 ครั้ง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ โดยการเรียนแบบใช้ปัญหาและโครงการเป็น หลักประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ 4 แผน สำหรับสถานการณ์ปัญหา 4 สถานการณ์จากสาระการเรียนรู้ 6 หน่วย ใช้เวลาในการสอนสถานการณ์ละ 4 ชั่วโมง (เปิดปัญหาและปิดปัญหา) กิจกรรมการสอนมี 7 ขั้นตอน คือ (1) ทำความ กระจ่างกับคำศัพท์และมโนมติ (2) ระบุประเด็นปัญหา (3) ระดมสมอง (4) ขั้นวางแผนดำเนินการ และสร้างจุดประสงค์การเรียนรู้ (5) รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจากภายนอกกลุ่มและดำเนินโครงการตามแผน (6)รวบรวมสังเคราะห์ข้อมูลใหม่ที่ได้ศึกษาหรือดำเนินโครงการมาและ (7) จัดทำเป็นข้อสรุปและหลักการที่ได้จากการศึกษาหัวข้อปัญหาหรือโครงการรวมทั้งประเมินผลและการตอบแบบสอบถามตรวจสอบการจัดกระทำ 2) การเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพเพื่อศึกษาอิทธิพลของรูปแบบการสอน 2 แบบ พบว่า ผู้เรียนในกลุ่มที่ใช้รูปแบบการสอนเพื่อการสร้างเสริม สุขภาพ มีค่าเฉลี่ยของความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพสูงกว่ากลมที่ใช้รูปแบบการสอนปกติ 3) รูปแบบการ สอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพมีอิทธิพลต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของ นักศึกษาพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการตรวจสอบพัฒนาการของความรู้ ทัศนคติมีอิทธิพลต่อ พัฒนาการของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ พบว่า คะแนนตั้งต้นของทัศนคติการส่งเสริมสุขภาพ มีอิทธิพลต่อคะแนนตั้งต้น พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และคะแนนพัฒนาการทัศนคติการส่งเสริมสุขภาพ มีอิทธิพลต่อคะแนนพัฒนาการพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนพัฒนาการความรู้ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่มีอิทธิพลต่อทั้งคะแนนตั้งต้น และคะแนนพัฒนาการ ของทัศนคติและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.description.abstractalternativeThe 3 objectives of this research were 1) to develop a health promotion instruction model using the problem-based and project-based learning for nursing students 2) to compare nursing students’ knowledge, attitude and health promoting behavior between groups having different techniques of learning, and 3) to study the long- term effects of a health promotion instruction model on nursing students’ knowledge, attitude and health promoting behavior and to validate the slope of nursing students’ knowledge and attitude on the slope of health promoting behavior in studying health promotion and illness prevention. The research design was quasi- experimental design. The sample consisted of 190 1st and 2nd year nursing students in the first semester of 2009, Boromarajonani College of Nursing, Nonthaburi Province, all of whom volunteered to participate in this research. The 2 sets of research instruments were 1) the test for health promoting knowledge, the questionnaires of attitude and health promoting behavior, each of which had reliability of 0.872, 0.897 และ 0.913 respectively and 2) a health promotion instruction model consisted of 5 instruments were 2.1) manual and guide for use of the health promotion instruction model, 2.2) lesson plans, 2.3) learning organizational plans, 2.4) supplementary documents for teaching, and 2.5) questionnaire for the manipulation check. The data were collected at 3 different times and analyzed using the analysis of latent growth curve model, ANOVA and repeated ANOVA. The research results were as follows: 1) The developed health promotion instruction model using the problem-based and project-based learning consisted of 4 learning organizational plans for 4 situations from 6 learning content areas. Each situation took approximately 4 hours from problem introduction to conclusion. The teaching process had 7 stages, namely: clarify terms and concepts, define the problem, brain storming, planning and formulate learning objective, collect additional information outside the group and carry out project, synthesize and test the newly acquired information, and identify generalizations and principles derived from studying this problem or project include evaluation and responding the manipulation check questionnaire. 2) The comparison of knowledge, attitude and health promoting behavior to detect the effects of instruction model indicated that the nursing students receiving a health promotion instruction model using the problem-based and project-based learning had higher knowledge, attitude and health promoting behavior than that receiving regular health promotion instruction model. 3) A health promotion instruction model had effect on nursing students’ knowledge, attitude and health promoting behavior that was statistically significant at .05. It was found that the initial health promoting attitude had an effect on the initial health promoting behavior and the slopes of health promoting attitude had an effect on the slopes of health promoting behavior that were statistically significant at .05. But the slopes of health promoting knowledge had no effect on the initials and the slopes of attitude and health promoting behavior.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.671-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพยาบาล -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectนักศึกษาพยาบาลen_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen_US
dc.subjectNurses -- Study and teachingen_US
dc.subjectNursing studentsen_US
dc.subjectHealth behavioren_US
dc.titleผลตามของรูปแบบการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพที่มีต่อโมเดลโค้งพัฒนาการของความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลen_US
dc.title.alternativeConsequential effects of a health promotion instructional model on the latent growth curve model of nursing students' knowledge, attitude, and health promoting behavioren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuwimon.W@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.671-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Doungnetre Thummakul.pdf44.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.