Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59345
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี-
dc.contributor.authorธนวัฒน์ จามิกรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-08-22T14:59:15Z-
dc.date.available2018-08-22T14:59:15Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59345-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractศึกษาผลของการลดค่าระยะเวลากักเก็บน้ำเสียต่อประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี และการเกิดก๊าซชีวภาพของระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอนแอโรบิกฟลูอิดไดซ์เบด โดยใช้เม็ดยางที่ผลิตจากเศษยางรถยนต์ใช้แล้วเป็นวัสดุตัวกลาง ทำการทดลองที่ระยะเวลากักเก็บน้ำเสียที่ต่ำกว่างานวิจัยส่วนใหญ่ 4 ค่าคือ 8, 5, 2 และ 0.4 ชม. โดย 0.4 ชม. เป็นสภาวะการเดินระบบที่ไม่มีการหมุนเวียนน้ำเสียภายในถังปฏิกรณ์ที่ใช้มีปริมาตร 3.5 ล. ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.05 ม. สูง 2 ม. น้ำเสียสังเคราะห์เตรียมจากน้ำประปาโดยมีน้ำตาลทรายเป็นแหล่งสารอินทรีย์คาร์บอน เริ่มเดินระบบโดยการป้อนน้ำเสียต่อเนื่องด้วยการเพิ่มอัตราภาระสารอินทรีย์จาก 0.5 ถึง 5.0 กก. ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน จนระบบอยู่ในสภาวะคงตัว จากนั้นจึงเข้าสู่ช่วงการทดลองแปรค่าระยะเวลากักเก็บน้ำเสีย โดยปรับเปลี่ยนอัตราการไหลของน้ำเสียเข้าถังปฏิกรณ์และค่าซีโอดี ที่ระยะเวลากักเก็บน้ำเสียต่างๆ ให้สัมพันธ์กันเพื่อควบคุมอัตราภาระสารอินทรีย์ของทุกการทดลองให้เท่ากันที่ 8 กก.ซีโอดี/ลบ.ม-วัน ผลการทดลองพบว่าที่ระยะเวลากักเก็บน้ำเสีย 8, 5, 2, และ 0.4 ชม. ระบบมีประสิทธิภาพเฉลี่ยในการบำบัดซีโอดีที่สูง โดยมีค่าลดลงตามระยะเวลากักเก็บน้ำเสียที่ต่ำลง ได้แก่ 89.4, 82.3, 70.1 และ 70.3 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการเกิดก๊าซชีวภาพที่ไม่ต่างกันคือ 0.40, 0.38, 0.36 และ 0.35 ล./ก. ซีโอดีที่ถูกกำจัด ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้ระบบจะใช้ระยะเวลากักเก็บน้ำเสียที่ต่ำ แต่เมื่อควบคุมสภาวะการเดินระบบให้เหมาะสม และประกอบกับข้อดีของระบบแอนแอโรบิกฟลูอิไดซ์เบด ที่สามารถรักษาความเข้มข้นของมวลชีวภาพไว้ได้มาก และมีการกระจายน้ำเสียได้ทั่วถังปฎิกรณ์ จึงทำให้ระบบยังมีประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีที่ดี โดยระยะเวลากักเก็บน้ำเสียที่ต่ำจะทำให้ถังปฏิกรณ์มีขนาดเล็กลง หรือสามารถรับอัตราการไหลของน้ำเสียที่มากขึ้นได้ นอกจากนี้ยังอาจกล่าวได้ว่าเม็ดยางมีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นวัสดุตัวกลางในระบบแอนแอโรบิก ฟลูอิดไดซ์เบด เนื่องจากสามารถเข้ากันได้กับจุลินทรีย์ในระบบ โดยสามารถพบการเกาะติดของจุลินทรีย์กลุ่มสร้างมีเทนในชั้นฟิล์มชีวภาพรอบเม็ดยางและผนวกกับลักษณะเด่นของเม็ดยางที่เป็นวัสดุที่มีความหนาแน่นต่ำจึงง่ายต่อการสร้างสภาวะฟลูอิดไดซ์และใช้พลังงานที่ต่ำ ในการควบคุมให้อยู่ในสภาวะฟลูอิดไดซ์ตลอดเวลาen_US
dc.description.abstractalternativeTo study the effect of Hydraulic Retention Time (HRT) to COD removal and biogas production of anaerobic fluidized bed system by using rubber granule as a media for treating synthetic wastewater. The dimensions of reactor are 2.0 m. height, an internal diameter of 0.05 m. and a total volume of 3.5 liter. The experiments were operated with low 4 hydraulic retention time as 8, 5, 2 and 0.4 hrs, while 0.4 hrs was uncirculated wastewater condition in a reactor. Start-up process was performed by step up feeding of synthetic wastewater into the reactor with organic loading rate from 0.5 to 5.0 kg.COD/cb.m.-d. until the system reaches the steady state. Then proceed to the experimental treatment by adjusting the flow rate and COD value corresponding to various HRTs in order to control the organic loading rate constant at 8 kg.COD/cb.m./d. Based on the experimental results, anaerobic fluidized bed system using rubber granule as a media at hydraulic retention time of 8, 5, 2 and 0.4 hrs achieved the COD removal efficiency of 89.4, 82.3, 70.1 and 70.3% and the biogas production were 0.40, 0.38, 0.36 and 0.35 L./g.COD removed respectively. The result indicated that anaerobic fluidized bed still show effective in the treatment of COD, base on the advantages of this system which is able to maintain the high concentration of biomass and good water distribution around the tank. Moreover, it can be concluded that the crumb rubber was the appropriate media in anaerobic fluidized bed system. The crumb rubber could compatible with microorganisms in the system, making methanogen groups could created biofilm layer surrounding the rubber beads. In addition, crumb rubber material is low density and easy to create fluidized conditions with low energy to control and maintain this situation at all times.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1567-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจนen_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพen_US
dc.subjectรถยนต์ -- ยางล้อ -- การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์en_US
dc.subjectSewage -- Purification -- Anaerobic treatmenten_US
dc.subjectSewage -- Purification -- Biological treatmenten_US
dc.subjectAutomobiles -- Tires -- Recyclingen_US
dc.titleการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยระบบแอนแอโรบิกฟลูอิดไดซ์เบดที่ใช้เม็ดยางเป็นวัสดุตัวกลาง : ผลของระยะเวลากักเก็บน้ำเสียen_US
dc.title.alternativeSynthetic wastewater treatment by anaerobic fluidized bed system using rubber granule as a media : effect of hydraulic retention timeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWiboonluk.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1567-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanawat Jamikorn.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.