Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59372
Title: | การพัฒนาคู่มือการสร้างรูบริคเพื่อให้คะแนนสำหรับการประเมินการปฏิบัติงานของผู้เรียน |
Other Titles: | Development of a handbook for creating scoring rubric for students' performance assessment |
Authors: | นันทนัช อ่อนพวน |
Advisors: | ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nuttaporn.L@Chula.ac.th |
Subjects: | การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา) -- คู่มือ การประเมินผลทางการศึกษา -- คู่มือ Grading and marking (Students) -- Handbooks, manuals, etc. Educational evaluation -- Handbooks, manuals, etc. |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการประเมินการปฏิบัติงานของนักเรียน การสร้างและการใช้รูบริคเพื่อให้คะแนนสำหรับการประเมินการปฏิบัติงานของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาปัญหาในการสร้างและการใช้รูบริคเพื่อให้คะแนนสำหรับการประเมินการปฏิบัติงานของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) พัฒนาคู่มือการสร้างรูบริคเพื่อให้คะแนนสำหรับการประเมินการปฏิบัติงานของผู้เรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาที่ใช้ระเบียบวิธีการวิจัย 3 วิธี คือ 1) การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 356 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม 2) การศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินคุณภาพของคู่มือและแบบบันทึกการสัมภาษณ์ และ 3) การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบ แบบประเมินผลงานที่ให้คะแนนแบบรูบริค และแบบประเมินคุณภาพของคู่มือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติทดสอบ t และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ส่วนใหญ่มีการประเมินการปฏิบัติงานของนักเรียน โดยมีสภาพการประเมินตามหลักการวัดและประเมินผลการศึกษา และครูส่วนใหญ่ใช้รูบริคเพื่อให้คะแนนสำหรับการประเมินการปฏิบัติงานของนักเรียน 2. ครูส่วนใหญ่ที่ใช้รูบริคเพื่อให้คะแนนสำหรับการประเมินการปฏิบัติงานของนักเรียนประสบปัญหาเรื่องของเวลาในการสร้างและการใช้รูบริคมากที่สุด 3. คู่มือการสร้างรูบริคเพื่อให้คะแนนสำหรับการประเมินการปฏิบัติงานของผู้เรียนที่สร้างขึ้นประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 5 บท คือ 1) บทนำ 2) การประเมินการปฏิบัติงาน 3) การสร้างรูบริคเพื่อให้คะแนนสำหรับการประเมินการปฏิบัติงาน 4) การตรวจสอบคุณภาพของรูบริค และ 5) การนำรูบริคไปใช้เพื่อให้คะแนนสำหรับการประเมินการปฏิบัติงาน และค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ความเข้าใจเรื่องรูบริคระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมก่อนการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ความเข้าใจเรื่องรูบริคระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถด้านการสร้างรูบริคระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมหลังการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 |
Other Abstract: | The proposes of research were 1) to study the state of students’ performance assessment, creating and using scoring rubric for students’ performance assessment in basic education, 2) to study the problems of creating and using scoring rubric for students’ performance assessment in basic education, and 3) development of a handbook for creating scoring rubric for students’ performance assessment. This study was a research and development using 3 research methodologies. In survey research, participants were 356 teachers using multi-stage random sampling. Research instrument was questionnaire. In quantitative and qualitative study, participants were 5 experts. Research instruments were evaluation of a handbook and record the interview. Finally, in quasi-experiment, participants were 10 teachers using purposive sampling. Research instruments were testing, scoring rubric and evaluation of a handbook. Analyze data was used descriptive statistics, t-test and content analysis. The results were summarized as follows: 1. Most teachers in all learning strands made students’ performance assessment based on the state of assessment principles and evaluation, and they used scoring rubric for students’ performance assessment. 2. Teachers using scoring rubric for students’ performance assessment had problem in the time limitation of creating and using scoring rubric, the most. 3. The contents of a handbook for creating scoring rubric for students’ performance assessment included five chapters; 1) introduction 2) performance assessment 3) creating scoring rubric for performance assessment 4) validity and reliability and 5) using scoring rubric for performance assessment. The pretest score of teachers’ knowledge of scoring rubric between experimental group and control group were not statistically significantly different (p>.05), whereas the posttest score of teachers’ knowledge of scoring rubric of those groups were statistically significantly different (p<.05). In addition, the posttest score of teachers’ performance of scoring rubric between two groups were not statistically significantly different (p>.05). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59372 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1578 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1578 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nanthanat Ornpuan.pdf | 5.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.