Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59403
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประณัฐ โพธิยะราช-
dc.contributor.advisorกนกทิพย์ บุญเกิด-
dc.contributor.advisorอุไรวรรณ ลีลาอดิศร-
dc.contributor.authorสิทธิพร งามสุรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-06T08:58:43Z-
dc.date.available2018-09-06T08:58:43Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59403-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำแม่แบบปูนปลาสเตอร์ที่หมดอายุการใช้งานมาใช้ประโยชน์เป็นตัวเติมในยางธรรมชาติ โดยเปรียบเทียบกับยิปซัมทางการค้า และแคลเซียมคาร์บอเนตตัวเติมชนิดที่ใช้กันทั่วไป คือ แคลเซียมคาร์บอเนต รวมทั้งศึกษาการใช้ยางธรรมชาติอิพอกซิไดซ์เป็นสารคู่ควบเพื่อเพิ่มสภาพความเข้ากันได้ระหว่างตัวเติมและยางธรรมชาติ การทดลองเริ่มจากการนำยางธรรมชาติในลักษณะของยางแท่งและสารเคมีที่จำเป็นสำหรับการวัลคาไนซ์รวมทั้งตัวเติม มาบดผสมกันด้วยเครื่องผสมระบบปิดและเครื่องบดสองลูกกลิ้งตามลำดับ นำยางคอมพาวด์ที่ได้ไปทดสอบสมบัติการคงรูปด้วยรีโอมิเตอร์ชนิดมูฟวิงดาย จากนั้นทำให้คงรูปเป็นชิ้นทดสอบด้วยเครื่องอัดแบบ นำยางคงรูปทดสอบสมบัติต่างๆ ได้แก่ สมบัติด้านแรงดึง ความต้านทานแรงฉีกขาด สมบัติเชิงกลพลวัต รวมทั้งศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด จากผลการทดลองพบว่ายิปซัมที่ได้จากแม่แบบปูนปลาสเตอร์ใช้แล้วนี้สามารถนำมาใช้เป็นตัวเติมไม่เสริมแรงในยางธรรมชาติได้ โดยทำให้ยางคงรูปมีสมบัติดีกว่าหรือใกล้เคียงกับการใช้ยิปซัมทางการค้าและแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นตัวเติม อย่างไรก็ตามเมื่อปริมาณของตัวเติมเพิ่มขึ้นเกินกว่า 40 ส่วนในร้อยส่วนของเนื้อยาง (phr) ความทนแรงดึงของยางจะลดลง เนื่องจากตัวเติมเกิดการรวมตัวเป็นก้อน ส่วนความทนแรงฉีกขาดลดลงเมื่อปริมาณของตัวเติมเพิ่มขึ้นเกินกว่า 10 phr สำหรับผลของการใช้ธรรมชาติอิพอกซิไดซ์เป็นสารคู่ควบนั้น แม้ว่าผลการทดสอบสมบัติเชิงกลพลวัตจะชี้ให้เห็นถึงการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยางธรรมชาติกับตัวเติมเมื่อมีการใช้สารคู่ควบก็ตาม แต่เนื่องจากยิปซัมนี้มีลักษณะเป็นตัวเติมไม่เสริมแรง ผลของยางธรรมชาติอิพอกซิไดซ์จึงไม่ส่งผลต่อสมบัติเชิงกลมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับยางที่ไม่ได้ใช้ยางธรรมชาติอิพอกซิไดซ์สารคู่ควบen_US
dc.description.abstractalternativeIn this research, gypsum from waste plaster molds were reutilized as filler in natural rubber in comparison with a commercial gypsum as well as calcium carbonate, a general filler used in natural rubber. Effects of epoxidized natural rubber as a coupling agent were also studied so as to improve compatibility between rubber and filler. Natural rubber was mixed with vulcanizing chemicals and fillers in an internal mixer and a two-roll mill, respectively. Rubber compounds were examined for their curing characteristics using a moving dierheometer and were then cured in a compression molding machine. The vulcanizates were tested fortheir tensile properties and tear strength. The results indicated that gypsum from waste plaster molds can effectively be used as an inert filler in natural rubber. Mechanical properties of waste gypsum filled rubbers were comparable to those filled with the commercial gypsum and calcium carbonate. However, when the amount of filler was higher than 40 part per hundred rubbers (phr), the tensile strength decreased significantly. The tear strength also dropped when the amount of filler was higher than 10 phr. The decrease in these mechanical properties was due to filler agglomeration. When epoxidized natural rubber was used as a coupling agent, the dynamic mechanical propertiesclearly illustrated the enhancement of interaction between rubber and filler. However, as gypsum acted as an inert filler, the mechanical properties were almost similar to those without epoxidized natural rubber.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1607-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectยางธรรมชาติen_US
dc.subjectการใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์en_US
dc.subjectยิปซัมen_US
dc.subjectปูนพลาสเตอร์en_US
dc.subjectNatural rubberen_US
dc.subjectRecycling (Waste, etc.)en_US
dc.subjectGypsumen_US
dc.subjectPlasteren_US
dc.titleการใช้ยิปซัมจากเศษแม่แบบปูนปลาสเตอร์เป็นตัวเติมในยางธรรมชาติen_US
dc.title.alternativeUtilization of gypsum from waste plaster molds as filler in natural rubbersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPranut.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorKanoktip.B@Chula.ac.th-
dc.email.advisorUraiwan.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1607-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sittiporn Ngamsurat.pdf5.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.