Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59440
Title: | การพัฒนาโมเดลวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : การประยุกต์ใช้โมเดลฟิวชัน |
Other Titles: | Development of diagnostic in Thai reading comprehension of sixth graders : fusion model application |
Authors: | ธนิยา เยาดำ |
Advisors: | ศิริชัย กาญจนวาสี ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sirichai.K@Chula.ac.th,skanjanawasee@hotmail.com Piyawan.P@chula.ac.th |
Subjects: | ภาษาไทย -- การอ่าน การอ่านขั้นประถมศึกษา Thai language -- Reading Reading (Elementary) |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนาแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) วินิจฉัยความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้โมเดลฟิวชัน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย (1) ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน เพื่อพัฒนาทักษะความเข้าใจในการอ่าน (2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 818 คน เพื่อวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่าน เครื่องมือมี 3 ฉบับ คือ แบบสอบถาม 2 ฉบับ สำหรับผู้เชี่ยวชาญเป็นสอบถามเกี่ยวกับทักษะความเข้าใจในการอ่าน โดยชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามปลายปิด และแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย 1 ฉบับ สำหรับนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ทักษะความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย หาฉันทามติด้วยค่ามัธยฐาน ผลต่างของมัธยฐานกับฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไทล์ วิเคราะห์โมเดลวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่านโดยใช้โมเดลฟิวชัน ผลการวิจัยพบว่า ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยมี 7 ทักษะ ดังนี้ 1) การบอกความหมายของคำศัพท์โดยไม่อาศัยบริบท 2) การบอกความหมายของคำศัพท์โดยอาศัยบริบท 3) การจับใจความรองโดยไม่อาศัยบริบท 4) การจับใจความรองโดยอาศัยบริบท 5) การจับใจความหลักโดยไม่อาศัยบริบท 6) การจับใจความหลักโดยอาศัยบริบท และ 7) การตีความ ทักษะความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย 7 ทักษะ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเป็นฉันทามติในระดับมากที่สุด (Md=5.00, |Md-Mo|=0, IR=0) แบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ครอบคลุมทั้ง 7 ทักษะ มีจำนวนข้อสอบ 23 ข้อ เป็นแบบทดสอบแบบอิงสถานการณ์ รูปแบบข้อสอบเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก คุณภาพของข้อสอบจากการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม MULTILOG มีค่าความยากง่าย (b) ระหว่าง -2.31 ถึง 1.98 มีค่าอำนาจจำแนก (a) ระหว่าง .51 ถึง 1.76 และค่าโอกาสการเดา (c) ระหว่าง .00 ถึง .30 ค่าความเที่ยง เท่ากับ .83 และผลวิเคราะห์จากโมเดลฟิวชัน พบว่า ค่าความยากง่าย (πi) มีค่าระหว่าง .61 – .92 และค่าอำนาจจำแนก (r*ik) มีค่าระหว่าง .14 – .88 ผลการวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่าน พบว่า ทักษะที่ง่ายที่สุด คือ การบอกความหมายของคำศัพท์โดยอาศัยบริบท รองลงมา คือ การบอกความหมายของคำศัพท์โดยไม่อาศัยบริบท ส่วนทักษะที่ยากที่สุด คือ การตีความ และผลการวิเคราะห์โปรไฟล์ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีแบบแผน 81 รูปแบบ นักเรียนส่วนใหญ่มีรูปแบบโปรไฟล์แบบรอบรู้ทุกทักษะ (1111111) รองลงมา คือ โปรไฟล์แบบรอบรู้เพียง 1 ทักษะ คือ ทักษะที่ 2 (0100000) โปรไฟล์แบบไม่รอบรู้ทุกทักษะ (0000000) โปรไฟล์แบบรอบรู้ทุกทักษะ ยกเว้นทักษะที่ 7 (1111110) และ โปรไฟล์แบบรอบรู้เพียงทักษะที่ 1-3 (1110000) ตามลำดับ ในด้านความถูกต้อง (P_a) มีค่าตั้งแต่ .376 – .961 ความคงเส้นคงวา (P_c) ในการวินิจฉัยโปรไฟล์ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย มีค่าตั้งแต่ .459 - .894 |
Other Abstract: | This research aimed to 1) develop factors of Thai reading comprehension for sixth grade students; 2) develop a Thai reading comprehension test for sixth grade students; 3) validate a Thai reading comprehension test for sixth grade students; 4) diagnose Thai reading comprehension of sixth grade students, using Fusion Model. Participants were 17 experts for developing factors of Thai reading comprehension of sixth grade students and 818 of sixth grade students for diagnosing Thai reading comprehension. There are 3 Instruments used to collect data. Two instruments were an open-end questionnaire and a six point scale rating used for collecting opinions of experts. The other instrument was the test of Thai reading comprehension for sixth grade students. Opinions were analyzed to find median, absolute value of the difference between median and mode, and interquartile range for acquiring the experts’ consensus and the scores were analyzed by Fusion Model. The outcomes showed that: 1. Seven factors of Thai reading comprehension were; 1) determining the denotative meaning of words 2) determining the connotative meaning of words 3) specifying the explicit meaning of supporting details 4) specifying the implicit meaning of supporting details 5) specifying the main idea of concrete writing 6) specifying the main idea of complex writing and 7) interpreting. The experts had highest level of mutual agreement to the seven factors of Thai reading comprehension. (Md=5.00, |Md-Mo|=0, IR=0) 2. The 23-item of reading comprehension test for sixth grade students was context based. There were questions with four multiple choices. 3. The reading comprehension test has its item difficulty from -2.31 to 1.98. The item discrimination from .51 to 1.76 and the guessing parameter from .00 to .30. The content validity is 1.00. The reliability was .83. The internal consistency was .75. Item difficulty (πi) from Fusion model from .61 – .92 and item discrimination (r*ik) from .14 – .88. 4. The diagnosis of reading comprehension showed that the simplest skill was determining the connotative meaning of words, the second was determining the denotative meaning of words. The most difficult skill was interpreting. The results of the analysis of skill profiles of Thai reading comprehension showed that there were 81 patterns. Most students had master of all skills (1111111), master only the 2nd skill (0100000), non-master of all skills (0000000), non-master only the 7nd skill (1111110) and master only the 1st to 3rd skills (1110000) respectively. Probability of accuracy from .376 – .961 and probability of consistency from .459 - .894. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59440 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.725 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.725 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584211827.pdf | 7.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.