Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59508
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์-
dc.contributor.advisorสุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย-
dc.contributor.advisorธนะภูมิ รัตนานุพงศ์-
dc.contributor.authorเพ็ญภพ พันธุ์เสือ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T05:06:54Z-
dc.date.available2018-09-14T05:06:54Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59508-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบชี่กงในกลุ่มผู้สูงอายุกรุงเทพมหานครที่มีภาวะซึมเศร้าในระดับเล็กน้อย และปานกลาง จำนวน 66 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 คน โดยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมออกกำลังกายแบบชี่กงเป็นครั้งละ 1 ชั่วโมง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกัน 36 ครั้ง; 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย; และ 3) แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับฉบับภาษาไทย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังแบบชี่กง ส่วนในกลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมดั้งเดิมตามปกติ คือ สวดมนต์ และร้องเพลง เริ่มดำเนินการทดลอง และเก็บรวบรวมข้อมูลในวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2560 ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ผลการออกกำลังกายแบบชี่กงส่งผลให้ระดับภาวะซึมเศร้าลดลง ในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเมื่อเทียบกับก่อนได้รับการฝึก (p < .001) และเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (p < .001) โดยผลของการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อคุณภาพการนอนหลับพบว่า ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมชี่กง เทียบกับก่อนได้รับฝึกมี คุณภาพการนอนดีกว่าก่อนได้รับการฝึก (p < .001) และมีคุณภาพการนอนดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (p = .001) จากผลการครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการออกกำลังแบบชี่กงสามารถลดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุที่เริ่มมีภาวะซึมเศร้า และเพิ่มคุณภาพการนอนให้ดีขึ้น รวมถึงส่งผลทางบวกเมื่อเทียบกับกิจกรรมดั้งเดิมอีกด้วย-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this randomized controlled trial study was to examine the effect of Qigong program to depression in Thai elderly. Sixty-six elderly participants aged 60–90 years with mild-to-moderate depressive symptoms were recruited and randomly allocated to the control group and Qigong group. The intervention group was given a 1 hour/session, 3 sessions/week for 12 weeks of Qigong program while the control group was given usual activities (praying and singing). Questionnaire included: 1) General background; 2) Thai Geriatric Depression Scale; 3) Thai version the Pittsburgh sleep quality index. Descriptive statistics were used to examine general background and parametric statistics (unpaired and paired t-test) were used to test hypotheses for TGDS and T - PSQI mean differences. Results showed that Qigong Program significantly improved in all depression and sleep-quality measures. The effect of Qigong Program in reducing depression score and improving sleep quality between controlled and intervention groups at 12 weeks was significant at p < .001 and p = .001 respectively. Depression score decreased only in the Qigong group (p < .001). Improvement in sleep quality only found in the Qigong group (p < .001). These findings support the Qigong program was effective in reducing depression and improving sleep quality score in depression elderly people. The Qigong program appears to confer greater improvements than the usual program.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.748-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ-
dc.subjectชี่กง-
dc.subjectความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ-
dc.subjectExercise for older people-
dc.subjectQi gong-
dc.subjectDepression in old age-
dc.titleประสิทธิผลของการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย-
dc.title.alternativeEFFECTIVENESS OF QIGONG EXERCISE TO DEPRESSION IN THAI ELDERLY-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSomrat.L@Chula.ac.th,slertmaharit@hotmail.com-
dc.email.advisorSookjaroen.T@Chula.ac.th-
dc.email.advisorThanapoom.R@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.748-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774760530.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.