Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59511
Title: SEROLOGICAL STATUS OF PCV2-INFECTED SWINE HERDS
Other Titles: สถานภาพทางซีรัมวิทยาของฝูงสุกรที่ติดเชื้อเซอร์โคไวรัส
Authors: Cherdpong Phupolphan
Advisors: Komkrich Teankum
Sawang Kesdangsakonwut
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Veterinary Science
Advisor's Email: Komkrich.T@Chula.ac.th,komkrich.T@chula.ac.th
Sawang.K@Chula.ac.th
Subjects: Swine -- Infections
สุกร -- การติดเชื้อ
Issue Date: 2017
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This study aimed to determine the dynamics of serological and virological profiles against Porcine Circovirus type 2 (PCV2) infection in Thai swine herds using the in-house indirect ELISA and real-time PCR techniques. A total of 10 swine herds in Thailand were divided into two groups according to their clinical history. Group A (n=5) had clinical signs of PCV2, and was routinely vaccinated by PCV2 vaccines with production loss more than 5%. Group B (n=5) had no clinical signs of PCV2 with production loss less than 5%. Group B consisted of two subgroups: PCV2-vaccinated herds (B-Vac, n=2) and non-vaccinated herds (B-non-Vac, n=3). Serum samples (n=500) were collected from parity 1, 3 and 5 sows and at 3, 5, 9, 13, 17, 21 and 25 weeks of pigs (n=5 per age group). The result of seroprofiles of group A and B revealed similar pattern in which high antibody titers in all parity sows. However, PCV2 antiboby titers of group A at parity 1 and 5 sows were significantly higher than those of group B (p<0.05). In piglets, the titers were high at 3 weeks and gradully decreased at 5 to 9 weeks of age indicating the decline in maternal immunity. After 9 weeks, PCV2 antibodies were gardually increased until fattening period coincided with high viral loads and high percentage of production loss indicating natural infection. At 17 weeks of age, the titers of group A were significantly higher than those of group B (p<0.05). In group B, the antibody levels at 3 to 13 weeks of B-Vac were significantly lower than those of B-non-Vac. The detection of PCV2 load revealed that mean viral load of group A was higher than group B but it was not significantly different. Within group B, the PCV2 DNA load in B-Vac group was significantly lower than B-non-Vac group indicating that vaccination in non-clinical pigs could reduce viral load and risk of clinical disease. This study showed that in-house ELISA and detection of viral DNA together with PCV2 clinical expressions of pigs could indicate the dynamic of PCV2 infection within swine herds and could be beneficial for disease control.
Other Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตของการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อเซอร์โคไวรัสชนิดที่ 2 ของฝูงสุกรที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการทางคลินิกในภาคสนาม โดยใช้วิธีอีไลซาร่วมกับภาวะการมีไวรัสในเลือดโดยใช้วิธีเรียลไทม์พีซีอาร์ ทำการคัดเลือกฟาร์มสุกรโดยอาศัยข้อมูลอาการทางคลินิก แบ่งฟาร์มสุกรออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม A เป็นฟาร์มสุกรที่แสดงอาการ (5 ฟาร์ม) มีอัตราการสูญเสียสุกรหลังหย่านมและขุนมากกว่าร้อยละ 5 และทำวัคซีนป้องกันโรคเซอร์โคไวรัสชนิดที่ 2 สุกรกลุ่ม B ไม่แสดงอาการของการติดเชื้อเซอร์โคไวรัสชนิดที่ 2 (5 ฟาร์ม) มีอัตราการสูญเสียน้อยกว่าร้อยละ 5 ภายในกลุ่ม B แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ทำวัคซีนป้องกันโรคเซอร์โคไวรัสชนิดที่ 2 (B-Vac, 2 ฟาร์ม) และกลุ่มที่ไม่ทำวัคซีน (B-non-Vac, 3 ฟาร์ม) ทำการเก็บตัวอย่างซีรัมรวมทั้งสิ้น 500 ตัวอย่าง ได้จากแม่สุกรลำดับท้องที่ 1, 3 และ 5 และลูกสุกรที่อายุ 3, 5, 9, 13, 17, 21 และ 25 สัปดาห์ จากผลการทดลองระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเซอร์โคไวรัสชนิดที่ 2 เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าในแม่สุกรทุกลำดับท้องมีระดับภูมิคุ้มกันที่สูง แต่อย่างไรก็ดีแม่สุกรลำดับท้องที่ 1 และ 5 ของกลุ่ม A มีระดับภูมิคุ้มกันสูงกว่ากลุ่ม B อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ส่วนในลูกสุกรพบว่าระดับภูมิคุ้มกันสูงในช่วงอายุ 3 สัปดาห์และลดลงในช่วง 5 ถึง 9 สัปดาห์ ซึ่งอาจเป็นการลดลงของภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ ในลูกสุกร พบระดับภูมิคุ้มกันของทั้ง 2 กลุ่มเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่อายุ 9 สัปดาห์จนถึงสุกรขุน ร่วมกับพบระดับไวรัสในเลือดที่สูงโดยลำดับ และสุกรแสดงอาการป่วยและตายมากขึ้น ซึ่งบ่งบอกได้ว่าสุกรติดเชื้อโดยธรรมชาติ สุกรในกลุ่ม A ที่อายุ 17 สัปดาห์ มีระดับภูมิคุ้มกันสูงกว่ากลุ่ม B ในช่วงอายุเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ภายในกลุ่ม B ลูกสุกรช่วงอายุ 3 ถึง 13 สัปดาห์ของกลุ่มที่ทำวัคซีนระดับภูมิคุ้มกันสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ทำวัคซีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการตรวจปริมาณไวรัสในเลือดพบว่ากลุ่มที่แสดงอาการมีระดับไวรัสในเลือดเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ไม่แสดงอาการทางคลินิก แต่ไม่มีมีนัยสำคัญทางสถิติ ภายในกลุ่ม B พบว่ากลุ่มที่ทำวัคซีนมีระดับไวรัสในเลือดเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ทำวัคซีนอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ซึ่งบ่งชี้ว่าการใช้วัคซีนในกลุ่มที่ไม่มีอาการจะช่วยลดปริมาณไวรัสในเลือดและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันด้วยวิธีอีไลซาที่ผลิตขึ้นมาใช้เองร่วมการตรวจปริมาณเชื้อไวรัสในเลือดและอาการทางคลินิกของสุกร จะสามารถบอกถึงพลวัตของการติดเชื้อเซอร์โคไวรัสภายในฟาร์มและเป็นปรโยชน์ต่อการควบคุมโรคได้เป็นอย่างดี
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2017
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Veterinary Pathobiology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59511
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.547
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.547
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5775305931.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.