Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59568
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อนุสรณ์ ลิ่มมณี | - |
dc.contributor.author | หฤทัย จงวัฒนบัณฑิตย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-14T05:08:20Z | - |
dc.date.available | 2018-09-14T05:08:20Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59568 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีจุดม่งหมายในการค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายแรงงานข้ามชาติ และท่าทีต่อปัจจัยดังกล่าวของรัฐบาลในสมัยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีวิจัยเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยต่างๆ และคำแถลงการณ์ของคณะรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านทางนายกรัฐมนตรีหัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยผลักดันที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายแรงงานข้ามชาติของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ภายในประเทศ แรงงานข้ามชาติมีส่วนให้เกิดปัญหาอาชญากรรม การค้ายาเสพติด และเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ส่วนภายนอกประเทศ เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีการบังคับใช้แรงงานเด็ก บังคับหญิงค้าประเวณี การใช้แรงงานทาสอันเชื่อมโยงไปสู่การค้ามนุษย์ ทำให้ถูกเพ่งเล็งโจมตี และได้รับแรงกดดันอย่างมากจากต่างชาติและองค์การระหว่างประเทศ จากปัจจัยดังกล่าว ทำให้ท่าทีของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเข้าสู่อำนาจทางการเมืองโดยรัฐประหาร มีฐานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ มีความคล่องตัวในการใช้อำนาจได้อย่างรวดเร็วในการแก้ปัญหา จึงให้ความสำคัญเรื่องการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติเป็นวาระเร่งด่วน อันนำไปสู่วาระแห่งชาติอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นการลดแรงกดดัน ทั้งจากภายในและโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากต่างประเทศ เพื่อสร้างการยอมรับในเรื่องการใช้อำนาจ พร้อมทั้งเร่งสร้างความเข้าใจในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อไม่ให้กระทบบรรยากาศการค้าและการลงทุน ภายหลังการดำเนินงานตามนโยบายแรงงานข้ามชาติที่ปรับเปลี่ยนโดยรัฐบาลนี้ ทำให้สถานการณ์การค้ามนุษย์ในปี 2559 ดีขึ้น ได้รับการเลื่อนอันดับอยู่ Tier 2 Watch List | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research is to study factors which influenced the adjustments of migrant worker policy under the government of General Prayuth Chan-O-Cha. The reactions taken by the government to address these factors are also studied. Qualitative research method, which based on academic papers, research papers and the official statements of the Government, is used for this research. The research indicates that both internal factors within the country and external factors outside the country influenced the adjustments of migrant worker policy. For the internal factors, migrant workers contributed to the crimes, drug trafficking and threats to national security. For the external factors, human rights abuses, forced child labors, forced prostitutes and slave labors in Thailand were linked to human trafficking, which led to criticism and pressures by foreign and international organizations. From these factors, General Prayut Chan-o-cha, who came to power through a political coup, reacted rapidly to the issues using his political status and power. As a national agenda, he emphasized the urgency of migrant workers issues, leading to concrete adjustments of migrant worker policy to reduce pressures from both within the country and outside the country and to establish acceptance of the power coming from the political coup. Furthermore, the adjustments of migrant worker policy were urgently communicated internationally to form the understanding not to affect Thailand's international trades and international investments. From the implementation on the adjusted policies, Thailand's human trafficking rank in 2016 was promoted to Tier 2 Watch List. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.680 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | นโยบายแรงงาน | - |
dc.subject | การจ้างงานในต่างประเทศ | - |
dc.subject | รัฐบาล -- ไทย -- สมัย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา, 2557- | - |
dc.subject | Labor policy | - |
dc.subject | Employment in foreign countries | - |
dc.title | การปรับเปลี่ยนนโยบายแรงงานข้ามชาติสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา | - |
dc.title.alternative | The Migrant Worker Policy Adjustment of General Prayuth Chan-o-cha's Government | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | การเมืองและการจัดการปกครอง | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Anusorn.L@Chula.ac.th,Anusorn.L@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.680 | - |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5781061624.pdf | 2.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.