Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59579
Title: การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศของสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อรองรับการเป็นประเทศไทย 4.0
Other Titles: DEVELOPMENT OF AN EXCELLENCE MANAGEMENT MODELFOR INSTITUTE OF VOCATIONAL EDUCATIONTO ACCOMMODATE THAILAND 4.0
Authors: รัชต ไตรมาลัย
Advisors: พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
ปรัชญนันท์ นิลสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pansak.P@Chula.ac.th,pansakp@gmail.com
prachyanunn@gmail.com
Subjects: อาชีวศึกษา -- การบริหาร
Vocational education -- Administration
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการบริหารจัดการของสถาบันการอาชีวศึกษาในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติที่ดีด้านการบริหารจัดการสถาบันการอาชีวศึกษา และพัฒนารูปแบบและการบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศของสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อรองรับการเป็นประเทศไทย 4.0 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและปัญหาในการบริหารจัดการของสถาบันการอาชีวศึกษาในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และข้อมูลวิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติที่ดีด้านการบริหารจัดการสถาบันการอาชีวศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ ไทย เยอรมนี ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ และ 2) ข้อมูลจากบุคคล กลุ่มแรก กลุ่มสัมภาษณ์จำนวน 42 คน ประกอบไปด้วย 1) กลุ่มกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษา จำนวน 30 คน 2) กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษาและฝึกอบรมจากต่างประเทศ ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ จำนวน 12 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มตอบแบบสอบถาม จำนวน 174 คน ประกอบไปด้วย 1) กลุ่มผู้บริหารและคณาจารย์สถาบันการอาชีวศึกษา จำนวน 114 คน 2) กลุ่มผู้ใช้บัณฑิตที่เป็นผู้บริหารภาครัฐและเอกชน จำนวน 60 คน และกลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในการจัดประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์สาระ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.จากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาในการบริหารจัดการสถาบันการอาชีวศึกษา 1.1 ด้านการบริหารวิชาการควรมีการพัฒนาหลักสูตรในระดับปริญญาตรีแบบทวิภาคีให้สามารถรองรับการเป็นประเทศไทย 4.0 และความต้องการของสถานประกอบการ 1.2 ด้านการบริหารแผนงาน งบประมาณ ควรมีการวางแผนงานงบประมาณประจำปีและปรับปรุงกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการแผนงานงบประมาณ 1.3 ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลควรมีการพัฒนาระบบการสร้างแรงจูงใจให้ผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นบุคคลากรของสถาบัน และ 1.4 ด้านการบริหารจัดการทั่วไปควรมีการพัฒนาวัตถุประสงค์ พันธกิจ เป้าหมายให้มีความชัดเจนและเป็นแบบเชิงกลยุทธ์มากขึ้น 2. แนวปฏิบัติแห่งความสำเร็จ 9 ประการ ได้แก่ 2.1การนำเสนอคุณค่า โดยการสร้างคุณค่าที่ดีกว่าเดิม 2.2 การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยการศึกษากลุ่มเป้าหมายคือใครและความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย 2.3 การส่งมอบความสำเร็จ ได้แก่การส่งมอบโอกาสทางการศึกษา ส่งมอบผลงานทางวิชาการสู่สังคม 2.4 การสร้างความสัมพันธ์กับผู้เกี่ยวข้อง โดยมีการสื่อสารสร้างสรรค์ความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดี 2.5 ปัจจัยความพร้อมด้านทรัพยากรทางการบริหาร ได้แก่ความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพองค์กร 2.6 การดำเนินกิจกรรมสำคัญในองค์การ มุ่งให้ความสำคัญในการผลิตบัณฑิตให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ 2.7 การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางการศึกษา ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน 2.8 การปรับโครงสร้างต้นทุน โดยแสวงหาเงินทุนได้ด้วยตนเองนอกเหนือจากเงินงบประมาณ และ 2.9 การได้มาของรายได้ โดยประเด็นหลักต้องสนับสนุนให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษา และ 3. รูปแบบการบริหารจัดการ คือรูปแบบ H-A-P-G-I : Model for the Vocational Education Institute Strategy Management ประกอบด้วย 3.1 การเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานเป็นทีมของผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรของสถาบันการ 3.2 การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน และการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อรองรับการเป็นประเทศไทย 4.0 3.3 การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการแผนงาน งบประมาณ ที่มีประสิทธิภาพและธรรมาภิบาล 3.4 สร้างสรรค์พัฒนาวัตถุประสงค์ พันธกิจ เป้าหมายของการบริหารจัดการสถาบันการอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมและประเทศชาติ และ 3.5 การสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา และเป็นโครงสร้างหลักในการสนับสนุนการเป็นประเทศไทย 4.0
Other Abstract: This research aims to analyze current conditions and problems in management of vocational institutes under the office of the vocational education commission, analyze concepts, theories, and good practices in management of vocational education institutions management and propose the model and strategies for vocational education institution to accommodate Thailand 4.0. The research population and sample are categorized into 2 types: (1) document concerning current conditions and problems in management of vocational institutes under the office of the vocational education commission, and analysis of concepts, theories, and good practices in management of vocational education institutions both in Thailand and abroad, including Thailand, Germany, Australia, Japan and Singapore. (2) data acquired from 3 groups of persons. the first one includes 42 persons (1) 30 councilor of the vocational training institute. (2) the group of graduates and trainers from abroad, including Germany, Australia, Japan and Singapore, the second one consists of 174 persons : 114 administrators and faculty members of the vocational institutes, 60 private and public administrators. The third one consisted of experts in the discussion group of 10 senior experts. The tools used in the research were questionnaire, questionnaire and evaluation form. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. Research findings could be concluded as follows: 1. Analysis of current state and problems in management of vocational education institutions. 1.1 The academic administration should develop bilateral bachelor degree programs to be able to support Thailand 4.0 and the needs of enterprises. 1.2. Budget plans should include annual budget planning and streamlining the process of involving all sectors in the management of the budget plan. 1.3 Human resources management should develop the incentive system for the knowledge workers to become the personnel of the institute and 1.4 The general management should develop the objectives, mission, goals and objectives. clarity and more strategic. 2. Practices of success: 2.1 Value proposition by creating better value. 2.2 Targeted access by studying the target audience and the actual needs of the target audience. 2.3 Delivering success. The delivery of educational opportunities. Delivering academic excellence to society. 2.4 Establishing relationships with stakeholders. 2.5 Communication resource management factors human resource readiness impact on organizational performance. 2.6 Implementation of key activities in the organization the focus is on the production of graduates to meet the needs of enterprises. 2.7 Creating an educational partner network. Focus on participation in all sectors. 2.8 Cost restructuring. Seeking funding by themselves, other than budget, and 2.9 Acquisition of income. The main issues must be to support the readiness of education. And 3. H-A-P-G-I: Model for the Vocational Education Institute. 3.1. To improve the efficiency and effectiveness of teamwork of administrators, faculty, and personnel. 3.2. teach And quality assurance education. 4.0 3.3 Participation of all sectors in the management of effective budgeting and good governance. 3.4 Develop the objectives, mission, goals, and goals of the management of vocational education institutions in accordance with the social context. And 3.5 national technology innovation. It is the main structure in support of Thailand 4.0.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59579
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1640
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1640
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5784261327.pdf9.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.