Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59580
Title: | การพัฒนารูปแบบวีดิทัศน์สะท้อนคิดออนไลน์ในกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันตามกรอบแนวคิดทีแพคเพื่อส่งเสริมความสามารถการบูรณาการไอซีทีในการสอน |
Other Titles: | Development of online video reflection model in lesson study process based onTPACK framework to enhance teachers' ICT integrated instruction ability |
Authors: | วาเลน ดุลยากร |
Advisors: | ประกอบ กรณีกิจ จินตวีร์ คล้ายสังข์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Prakob.K@Chula.ac.th,prakob.k@chula.ac.th jinkhlaisang@gmail.com |
Subjects: | วีดิทัศน์เพื่อการศึกษา สื่อการสอน Video tapes in education |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างรูปแบบวีดิทัศน์สะท้อนคิดออนไลน์ในกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันตามกรอบแนวคิดทีแพคเพื่อส่งเสริมความสามารถการบูรณาการไอซีทีในการสอน 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบวีดิทัศน์สะท้อนคิดออนไลน์ในกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันตามกรอบแนวคิดทีแพคเพื่อส่งเสริมความสามารถการบูรณาการไอซีทีในการสอน 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ครูระดับประถมศึกษา สังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสำรวจสภาพการบูรณาการไอซีทีในการสอนและการพัฒนาความสามารถการบูรณาการไอซีทีในการสอนในปัจจุบันและสภาพที่มุ่งหวัง 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบประเมินรับรองรูปแบบ กลุ่มทดลองใช้รูปแบบ ได้แก่ ครูระดับประถมศึกษาจำนวน 21 คน แบ่งเป็นบทบาทสมาชิกหลัก 13 คน และบทบาทเพื่อนร่วมเรียนรู้ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบวีดิทัศน์สะท้อนคิดออนไลน์ และ 2) เกณฑ์ประเมินความสามารถการบูรณาการไอซีทีในการสอนแบบรูบริค ใช้ระยะเวลาทดลอง 10 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. รูปแบบวีดิทัศน์สะท้อนคิดออนไลน์ในกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันตามกรอบแนวคิดทีแพคเพื่อส่งเสริมความสามารถการบูรณาการไอซีทีในการสอน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กลุ่มครูผู้สอน 2) กลุ่มผู้รู้ไอซีที 3) เป้าหมายด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน 4) ระบบวีดิทัศน์สะท้อนคิดออนไลน์ 5) ผู้ดำเนินการ โดยมี 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ร่วมกันวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน 2) ร่วมกันเลือกวิธีการสอน วางแผนการสอนในขั้นตอนหลักและเลือกเครื่องมือไอซีทีที่นำมาใช้สนับสนุนเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน 3) พัฒนาแผนจัดการเรียนรู้ ผลิตหรือเตรียมเครื่องมือไอซีที และทดลองใช้ 4) ดำเนินการสอนและบันทึกวีดิทัศน์การสอน 5) สังเกต สะท้อนคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และบันทึกข้อค้นพบในระบบ 6) ร่วมกันอภิปรายผล 7) ปรับปรุงแผนจัดการเรียนรู้และเครื่องมือไอซีทีให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 8) แบ่งปันผลการเรียนรู้ 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า ครูกลุ่มทดลองที่มีบทบาทเป็นสมาชิกหลักมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถการบูรณาการไอซีทีในการสอนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อความเหมาะสมของขั้นตอนในรูปแบบฯของกลุ่มทดลอง อยู่ในระดับมาก 4. ผู้เชี่ยวชาญให้การประเมินรับรองรูปแบบฯ อยู่ในระดับดีมาก |
Other Abstract: | The purpose of this research were 1) to develop online VDO reflection model in lesson study process based on TPACK framework to enhance teacher’s ICT integrated instruction ability 2) to try out the model 3) to propose the model. The sample in the model consists of 7 experts, 387 primary school teachers under the office of private education commission. The research instruments used are 1) Needs assessment survey on ICT usage in instruction and skill development 2) expert interview form and 3) model evaluation form. Experimental groups consist of 21 primary school teachers, of which 13 are classified as key members and 8 as co-learners. The research instruments used are 1) Online VDO Reflection System and 2) Rubrics on ICT Integrated instruction ability. Experimental period lasted for 10 weeks. The data were analyzed by using frequency (%), mean, standard deviation and t-test. The research result indicated that: 1. An online VDO reflection model in lesson study process based on TPACK framework to enhance teacher’s ICT integrated instruction ability consisted of 5 components: 1) teacher’s group 2) ICT experts 3) Student’s learning objective 4) Online VDO reflection system and 5) Facilitator; with 8 steps as follows: 1) Identify and Analyze 2) Select 3) Design 4) Implement and record 5) Observe and reflect 6) Discuss 7) Revise and 8) share. 2. The result from the key members experimental group showed the post-test score for the ICT integrated instruction ability higher than the pre-test score at the .05 level of significance. 3. The experimental group agreed that the model was appropriate at high level. 4. The model validation result by experts was appropriate at very good level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59580 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.611 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.611 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5784263627.pdf | 8.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.