Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59598
Title: | การพัฒนาแบบจำลองปัจจัยการผลิตแบบไฮบริดของปริมาณความต้องการใช้น้ำและปริมาณน้ำเสีย |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF HYBRID INPUT OUTPUT MODEL FOR WATER DEMAND AND WASTEWATER QUANTITY |
Authors: | พิมรัตน์ มาตยานุมัตย์ |
Advisors: | พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | pongsak.su@Chula.ac.th,pongsak.su@Chula.ac.th Orathai.C@Chula.ac.th |
Subjects: | การใช้น้ำ น้ำเสีย ปัจจัยการผลิต Water use Sewage Factors of production |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตและเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมผ่านกระบวนการผลิตในด้านต่างๆ โดยกิจกรรมต่างๆ ล้วนใช้น้ำเพื่อขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นและตอบสนองกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐบาล จากแผนดังกล่าวส่งผลให้มีปริมาณความต้องการใช้น้ำและปริมาณน้ำเสียเพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ยุคที่มีปริมาณน้ำต้นทุนจำกัด หากมีการบริหารจัดการน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ งานศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและปริมาณน้ำที่ตอบสนองต่อการพัฒนา รวมถึงปริมาณน้ำเสียของภาคการผลิตต่างๆ และการพิจารณามูลค่าของน้ำ นอกจากนี้ได้มีประเมินการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของปริมาณความต้องการใช้น้ำและปริมาณน้ำเสียจากการพัฒนาประเทศภายใต้ภาพฉาย (scenarios) ของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่างกัน 1, 3 และ 5 เปอร์เซ็นต์ โดยผนวกกับแผนนโยบายของรัฐบาลยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการศึกษานี้ได้พัฒนาแบบจำลองปัจจัยการผลิตไฮบริดเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงมิติระหว่างเศรษฐศาสตร์ ปริมาณความต้องการใช้น้ำและปริมาณน้ำเสียเข้าด้วยกัน และใช้ข้อมูลปี พ.ศ. 2553 เป็นปีฐาน ผลจากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีความต้องการใช้น้ำและมีปริมาณน้ำเสียมากขึ้น โดยปริมาณความต้องการใช้น้ำและปริมาณน้ำเสียภาคเกษตรมีปริมาณที่สูงกว่าภาคการผลิตอื่นๆ ในขณะที่มูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อปริมาณความต้องการใช้น้ำภาคบริการมีค่ามากที่สุด และมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อปริมาณน้ำเสียภาคอุตสาหกรรมมีค่ามากที่สุด นอกจากนั้นผลการประเมินสถานการณ์ของประเทศไทยเมื่อมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่างกัน คือ 1, 3 และ 5 เปอร์เซ็นต์ พบว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำและปริมาณน้ำเสียมีปริมาณที่สูงกว่าความสามารถในการจัดสรรน้ำและความสามารถในการบำบัดน้ำเสียของประเทศไทย และเมื่อศึกษาความต้องการใช้น้ำและปริมาณน้ำเสียจากการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวม ในกรณีฐาน 5 เปอร์เซ็นต์ จะพบว่า ด้านการลงทุนเป็นหน่วยที่มีค่าปริมาณความต้องการใช้น้ำผลิตภัณฑ์มวลรวมและปริมาณน้ำเสียต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมน้อย ดังนั้นจากผลที่กล่าวมาจึงจำเป็นที่ต้องมีการแก้ไขและหาวิธีในการลดปริมาณความต้องการใช้น้ำและการเกิดปริมาณน้ำเสียเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาประเทศให้มีความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพต่อไป |
Other Abstract: | Water is an important natural resource to life and for socio-economic development in agricultural, industrial, and service sectors. In Thailand, water is primarily used to meet increasing demands resulting from the past and future governmental strategies such as Thailand 20-Year Strategic Plan and Reform. This strategy results in more demand for water in production and an increase in post-production waste water. If water management is not efficiently managed, there might be a shortage of water and waste water problems affecting the environment. The objectives of study are (1) to investigate the relationship between economic development and the amount of water required to meet it, including waste water from various types of productions and (2) to consider the value of water. Hybrid Input-Output Model was developed with linkage of economic and physical use of freshwater and wastewater with the base year in 2010. A set of scenarios of development is applied such as economic growth rate at 1, 3, 5% and Thailand 20-Year Strategic Plan and Reform. The calculation results show that Thailand needs more water and produces more wastewater comparing with the past to meet national development. On the one hand, agricultural is the main water consumers, on the other hand, service sector can produce more income per unit use of water. In all scenarios, the amounts of water and wastewater are more than the capacity of water supply system and wastewater treatment plant. This causes difficulties in water management to meet green development. Policy makers should carefully consider the water related issue for Thailand 20-Year Strategic Plan and Reform. We have to provide the options to address this issue for sustainable development. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59598 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1285 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1285 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5787203520.pdf | 6.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.