Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59608
Title: การปรับปรุงผิว Incoloy 825 ด้วยวิธีอะลูมิไนซิงแบบผง
Other Titles: SURFACE MODIFICATION OF INCOLOY 825 BY PACK ALUMINIZING
Authors: วิมุติ ตงศิริ
Advisors: ปฐมา วิสุทธิพิทักษ์กุล
ศิริชัย ลีลาเชาว์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Patama.V@Chula.ac.th,Patama.V@Chula.ac.th
sirichai.l@eng.kmutnb.ac.th
Subjects: โลหะ -- พื้นผิว
โครเมียม
Metals -- Surfaces
Chromium
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในวิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการปรับปรุงผิวโลหะผสมเกรด INCOLOY 825 ด้วยวิธีอะลูมิไนซิง แบบผง ใช้อุณหภูมิการทำอะลูมิไนซิงที่ 700, 800 และ 900 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1, 2.25, 4 และ 6.25 ชั่วโมง โครงสร้างจุลภาคของชั้นเคลือบอะลูมิไนด์ตรวจสอบและวิเคราะห์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์แสง กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และเทคนิควิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ ทดสอบการเกิดออกซิเดชันที่อุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 50 ชั่วโมง พบว่ามีชั้นเคลือบ 2 ชั้น ชั้นเคลือบด้านนอกจะประกอบไปด้วยเฟสของสารประกอบ Ni2Al3, NiAl3 และ Fe2Al5 และชั้นเคลือบด้านในจะประกอบไปด้วยเฟสของสารประกอบ Ni3Al และ Fe3Al ผลจากชุดเอกซ์เรย์สเปคโตรสโคปีแบบกระจายพลังงานแสดงให้เห็นการกระจายตัวของธาตุโครเมียมบริเวณชั้นรอยต่อระหว่างชั้นเคลือบด้านในกับวัสดุพื้น ผลจากเทคนิควิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์แสดงให้เห็นว่าธาตุโครเมียมที่อยู่บริเวณชั้นรอยต่อจะอยู่ในรูปของอะตอมของธาตุโครเมียม ความหนาเฉลี่ยของชั้นเคลือบจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการเคลือบเพิ่มขึ้น ค่าพลังงานก่อกัมมันต์สำหรับการทำอะลูมิไนซิงแบบผงบนโลหะผสมเกรด INCOLOY 825 มีค่าเท่ากับ 70.64 กิโลจูลต่อโมล ผลการทดสอบการเกิดออกซิเดชันแสดงให้เห็นว่าชิ้นงานที่ผ่านการเคลือบจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าชิ้นงานโลหะผสมเกรด INCOLOY 825
Other Abstract: In this thesis, we study a surface modification of Incoloy 825 superalloys using pack aluminization. The temperatures were 700°C, 800°C and 900°C with processing times of 1, 2.25, 4 and 6.25 hours. Microstructure of aluminide coatings were examined and analyzed by optical microscope, scanning electron microscope and x-ray diffractometry technique. Oxidation test was cyclically performed at 1000°C and 10 hours, a total time was 50 hours It was found that there are 2 layers obtained. The outer coating consisted of 3 compounds of Ni2Al3, NiAl3 and Fe2Al5. The inner layer contained Ni3Al and Fe3Al. According to EDS results, it shows a dispersion of chromium at the interface between the inner coating and substrate. It was in forms of elemental Cr, regarding to XRD patterns. Average thickness of coatings increases with an increase of time and temperature. The activation energy for aluminizing process on Incoloy 825 superalloys were calculated as 70.64 kJ/mol. The oxidation test shows that a mass gain of the aluminized alloys is greater than that of bare metal.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโลหการและวัสดุ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59608
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1339
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1339
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5870243821.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.