Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59620
Title: การประมาณตำแหน่งความผิดพร่องแบบไม่สมมาตรในระบบไฟฟ้าโดยวิธีอิมพีแดนซ์ร่วมกับข้อมูลแจ้งเตือนแรงดันไม่สมดุลจากมิเตอร์แบบเอเอ็มอาร์
Other Titles: UNSYMMETRICAL FAULT LOCATION ESTIMATION IN POWER SYSTEM USING IMPEDANCE BASED METHOD AND UNBALANCE VOLTAGE WARNING ALARM DATA FROM AMR METER
Authors: ณัฐกฤตา ฤทธิ์รักษ์
Advisors: วาทิต เบญจพลกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Watit.B@Chula.ac.th,Watit.B@chula.ac.th
Subjects: การจ่ายพลังงานไฟฟ้า
Electric power distribution
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอ การประยุกต์การประมาณตำแหน่งความผิดพร่องในระบบจำหน่ายไฟฟ้าโดยวิธีใช้ค่าอิมพีแดนซ์ (Impedance based method) ร่วมกับการใช้สัญญาณแจ้งเตือนความผิดปกติแรงดันไม่สมดุลจากมิเตอร์แบบเอเอ็มอาร์ โดยทดสอบการประมาณตำแหน่งความผิดพร่องแบบไม่สมมาตรในระบบจำหน่ายไฟฟ้า อาศัยการจำลองข้อมูลระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และข้อมูลเหตุการณ์ความผิดพร่องแบบไม่สมมาตร ได้แก่ ความผิดพร่องแบบเฟสเดียวลงดิน ความผิดพร่องแบบสองเฟส และความผิดพร่องแบบสองเฟสลงดิน ผ่านโปรแกรม ATP (Alternative transient program) ข้อมูลที่ได้จากการจำลองระบบจะนำไปวิเคราะห์ตำแหน่งความผิดพร่องโดยวิธีใช้ค่าอิมพีแดนซ์ เพื่อศึกษาความคลาดเคลื่อนของระยะทางความผิดพร่อง ผลการศึกษาพบว่า การประมาณตำแหน่งความผิดพร่องในระบบจำหน่ายไฟฟ้าโดยวิธีใช้ค่าอิมพีแดนซ์ มีค่าความคลาดเคลื่อนของระยะทางความผิดพร่องอยู่ในช่วง 0-2 กิโลเมตร คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 7% เนื่องจากระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นระบบแบบเรเดียล ส่งผลให้ระยะทางความผิดพร่องที่คำนวณได้ ให้ค่าตำแหน่งความผิดพร่องได้หลายค่า ซึ่งเมื่อนำข้อมูลสัญญาณแจ้งเตือนความผิดปกติแรงดันไม่สมดุลจากมิเตอร์เอเอ็มอาร์มมาพิจารณาร่วมด้วย พบว่าข้อมูลสัญญาณแจ้งเตือนความผิดปกติแรงดันไม่สมดุลสามารถลดตำแหน่งความผิดพร่องที่เป็นไปได้ให้เหลือน้อยลงได้ เมื่อพิจารณาตำแหน่งความผิดพร่องที่เป็นไปได้ที่อยู่ใกล้เคียง กับสายย่อยที่มิเตอร์แจ้งเตือนความผิดปกติแรงดันไม่สมดุล สามารถลดค่าความคลาดเคลื่อนของระยะทางความผิดพร่องลงได้ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดไม่เกิน 4% และในกรณีความผิดพร่องแบบเฟสเดียวลงดิน พบว่าบางข้อมูลให้ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนของระยะทางสายย่อยที่เกิดความผิดพร่องสูงกว่า ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนที่ได้จากกระประมาณตำแหน่งความผิดพร่องโดยวิธีอิมพีแดนซ์ คิดเป็น 18.60% ซึ่งเป็นผลมาจากการแบ่งระยะทางของสายย่อยที่มีระยะมากเกินไป เนื่องจากมิเตอร์ที่ติดตั้งในระบบไฟฟ้ากระจายตัวไม่สม่ำเสมอ
Other Abstract: This thesis presents a developed impedance based method combined with the voltage unbalance warning alarm data of AMR meter for unsymmetrical fault location estimation in power system. The proposed consist of two steps. In the first step simulate the power distribution system data of Provincial Electricity Authority (PEA) in Lopburi province and asymmetric fault events data by ATP (Alternative Transient Program). The data from the first step estimate the unsymmetrical fault location by the impedance technique. The result of the experiment shows that the estimation fault location using an impedance based method has fault distance error in the range of 0-2 kilometers and the percentage error is not more than 7 %. Because the power distribution system of Provincial Electricity Authority (PEA) is a radial system so these results have many a position. In the last step algorithm uses the voltage unbalance warning alarm data from automatic meter reading (AMR). It is found that the voltage unbalance alarm can reduce the scope of fault location in the power distribution system. When considering the possible location nearby with the line section that the meters have a voltage unbalance alarm. It can reduce the tolerance of fault distance and the maximum percentage error is not more than 4 %. In the case of single line to ground fault, the result is found that some data give the percentage error of fault line section distance higher than the percentage distance error from an impedance based method around 18.60 %, which is the result from distance of line section is divided is too long. Because the AMR meter is installed in the power distribution system is not uniform.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59620
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1349
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1349
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5870398421.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.