Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59651
Title: ความชุกของไวรัสที่มาจากยุงในผู้ป่วยที่มีไข้เฉียบพลัน ในประเทศไทย, 2558-2559
Other Titles: PREVALENCE OF MOSQUITO-BORNE VIRAL DISEASES IN PATIENTS WITH ACUTE FEBRILE ILLNESS IN THAILAND, 2015-2016
Authors: วริษฐา เพ็ชรสม
Advisors: ยง ภู่วรวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: yong.p@chula.ac.th,yong.p@chula.ac.th
Subjects: ไข้เลือดออก
การติดเชื้อไวรัสซิกา
ชิคุนกุนยา
Zika virus infection
Hemorrhagic fever
Chikungunya
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไข้เฉียบพลัน หมายถึง มีอาการไข้โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาการไข้เกิดขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ตามคำจำกัดความ การมีไข้ หมายถึง มีอุณหภูมิของร่างกายเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ตามคำจำกัดความ จะให้มีไข้ไม่เกิน 1 สัปดาห์ ในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงดี ไข้เฉียบพลันที่ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด หรือลักษณะอาการบ่งบอกที่แน่ชัดว่ามีสาเหตุจากอะไร พบได้บ่อย (ในรายที่มีไข้และรู้สาเหตุที่แน่ชัด เช่น เป็นฝี มีหนองการอักเสบของแขนและขา โรคทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ เราก็จะไม่เรียกว่า ไข้เฉียบพลัน) ไข้เฉียบพลันในประเทศไทย จึงมีสาเหตุมาจากหลายอย่าง แต่ที่พบบ่อย เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อน (tropical) ซึ่งเป็นเขตที่มียุงชุกชุม เพราะมีสภาพแวดล้อม ได้แก่ มีป่าไม้ แหล่งน้ำ อุณหภูมิ และความชื้น ที่เหมาะสมต่อการแพร่พันธุ์ของยุง ซึ่งยุงเป็นพาหะของโรคติดเชื้อไวรัส ที่เป็นสาเหตุของไข้เฉียบพลัน ในประเทศไทย ได้แก่ ไวรัสเดงกี่ (dengue virus) ไวรัสชิคุนกุนยา (chikungunya virus) และไวรัสซิกา (Zika virus) โดยในการศึกษานี้ จะศึกษาความชุกของไข้เลือดออก ไวรัสชิคุนกุนยา และไวรัสซิกา ในผู้ป่วยที่มีไข้เฉียบพลัน ในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2558 – 2559 โดยการตรวจวินิจฉัยไวรัสเดงกี่ จากผู้ป่วยไข้เฉียบพลันทั้งหมด 1,918 ราย ด้วยเทคนิค Semi-nested RT-PCR ตรวจวินิจฉัยไวรัสชิคุนกยา 1,753 ราย และไวรัสซิกา 1,949 ราย ด้วย Real-time RT-PCR จากนั้นเลือกตัวอย่างผู้ป่วยไข้เฉียบพลันที่ทราบจำนวนวันเป็นไข้ มาทั้งหมด 367 ราย เพื่อมาตรวจหาโปรตีน NS1, IgM และ IgG antibodies (Dengue markers) ด้วย ELISA พบว่าการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ ทั้งหมด 181 ราย (9.44%) ตรวจพบการติดเชื้อไวรัสซิกา ทั้งหมด 4 ราย (0.21%) และไม่พบการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา และการทำ ELISA เพื่อตรวจหาโปรตีน NS1, IgM, IgG antibodies (dengue markers) ควบคู่ไปกับการตรวจด้วย semi-nested RT-PCR จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการในการตรวจจับไวรัสเดงกี่ได้เพิ่มขึ้น
Other Abstract: Acute febrile illness fever with temperature more than 37.5 celsius is one of the most common presenting symptoms in Thai patients. Bacterial, viral or parasitic infection usually cause it. Arbovirus infections such as dengue virus, chikungunya virus and Zika virus infection are common. However, the prevalence is still unknown. The study tested sera samples for dengue virus by semi-nested reverse transcriptase polymerase chain reaction (RT- PCR), and for chikungunya and Zika virus by real-time RT-PCR from Thai patients presenting with acute febrile illness between 2015-2016. The samples with days of fever data were selected to test for NS1 antigen, IgM and IgG antibodies by ELISA. There were a total of 1,918, 1,753 and 1,943 patients enrolled for Dengue, Chikungunya and Zika virus study, respectively. Dengue and Zika virus infection was detected in 9.44% and 0.21% of the patients, respectively. There was no chikungunya virus detected in the study. Dengue virus is the most common arboviruses found in patients with the acute febrile illness. Zika virus infection is rare whereas chikungunya virus is not detected. Using semi-nested RT-PCR with ELISA in order to better detect dengue virus in the samples.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59651
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1208
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1208
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874103330.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.