Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5966
Title: | การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศและแผนการเตรียมรับของผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2554 |
Other Titles: | Information technology changes and school administrators' plan for change in Thai secondary schools during B.E. 2545-2554 |
Authors: | ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ |
Advisors: | เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร ไพรัช ธัชยพงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chawalert.L@chula.ac.th Pairash.T@chula.ac.th |
Subjects: | นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้บริหารโรงเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อวิเคราะห์นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของประเทศคัดสรรต่างๆ (2) เพื่อศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของไทย ในช่วงระยะปี พ.ศ. 2545-2554 และ (3) เพื่อศึกษาแนวคิดแผนการเตรียมรับของผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของไทย การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ใช้วิธีศึกษาจาการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร การสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และผู้กำหนดนโยบาย และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 23 คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1.นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาจากประเทศคัดสรรต่างๆ มีประเด็นสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ การพัฒนาวิชาชีพครู และการพัฒนาหลักสูตรและการประเมิน จากประเด็นทั้ง 3 ด้านสรุปเป็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมัธยมศึกษาได้ 30 เหตุการณ์หลัก 2. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมัธยมศึกษาของไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2554 ตามความคิดเห็นของผู้กำหนดนโยบาย ได้ 57 เหตุการณ์จาก 69 เหตุการณ์ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ จำนวน 32 เหตุการณ์ (2) ด้านการพัฒนาวิชาชีพครู จำนวน 13 เหตุการณ์ และ (3) ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการประเมิน จำนวน 12 เหตุการณ์ 3 แนวคิดแผนการเตรียมรับของผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของไทย แบ่งได้เป็น 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ มีกลยุทธ์คือ 1) การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การจัดซื้อด้วยเงินสด การเช่าซื้อ การเช่า และการขอบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้แล้ว การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 2) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ได้แก่ การเชื่อมต่อแบบ dial-up แบบฟรี และมีค่าใช้จ่าย การเชื่อมต่อ leased line จากรัฐ และจากเอกชน 3) การจัดหาสื่อการสอนและเนื้อหาสาระทางดิจิทัล ได้แก่ การจัดซื้อ การผลิตโดยครู และนักเรียน (2) ด้านการพัฒนาวิชาชีพครู มีกลยุทธ์คือ การวางวิสัยทัศน์ร่วม การศึกษาวิเคราะห์ความต้องการของครู การกำหนดแผนงาน การสร้างความตระหนัก การแนะนำโน้มน้าว การอบรมครู การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และการติดตาม กำกับ ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง (3) ด้านการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน มีกลยุทธ์คือ การปรับหลักสูตรให้ทันสมัย การบูรณาการเทคโนโลยีกับการเรียน การสอน การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน การมีที่ปรึกษาด้านวิชาการ การประสานงานและอำนวยความสะดวกของครูคอมพิวเตอร์ (4) ด้านงบประมาณและแหล่งรายได้ มีกลยุทธ์คือ การประสานสัมพันธ์ การชี้แจงและโน้มน้าว การจัดกิจกรรมระดมทุน การขอบริจาค การเก็บเงินจากผู้เรียน การจัดตั้งกองทุน IT ในโรงเรียน การบริหารการเงินอย่างโปร่งใส และการทำผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study: (1) national information technology policies for education from selected countries, (2) information technology changes in Thai secondary schools during B.E. 2545-2554, and (3) school administrators{174} plan for changes in Thai secondary schools. The study was planned into 3 steps corresponding to three objectives. Questionnaires were used to obtain data from technological ICT experts and ICT policy-makers. Twenty-three school administrators were selected to participate in this study. In-depth interview was used to gather school administrators{174} plan for changes.The findings of the study were as the following :1. National information technology policies for education from selected countries were grouped as three key topics: information infrastructure development, professional development, and curriculum and instruction development. Based on document-analysis on goal events in secondary education, thirty key events were identified as the basis for the survey. 2. Information technology changes in Thai schools during B.E. 2545-2554 approved by ICT policy-makers were 57 issues out of 69; 32 issues on Information infrastructure development topic, 13 issues on professional development, and 12 issues on curriculum and instruction development topic. 3. School administrators{174} plan for changes were categorised into 4 groups: (1) Plan for information infrastructure. The strategies were: to procure computers, Internet connection, and digital contents, (2) Plan for professional development. The strategies were: shared-vision, teacher need assessment, building up teacher on IT awareness, giving information and persuasion, training teachers, ongoing encouragement, and follow-up assessment, (3) Plan for curriculum and instruction development. The strategies were: IT curiculum update, integrating technology into instruction, integrating curriculum, fostering teachers to conduct classroom research, providing for academic consultant, computer teacher as a technology coordinator and facilitator, and (4) Plan for budget and resources. The strategies were: public relationship, explanation and persuasion, making up activities to find local fund, requesting for donation, student paid, setting up school IT fund, scrupulous financial management, and evident performance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5966 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1324 |
ISBN: | 9741738501 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2003.1324 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Praweenya.pdf | 2.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.