Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59665
Title: ผลของโปรเเกรมการปรับพฤติกรรมการนอนต่ออาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว
Other Titles: THE EFFECT OF SLEEP BEHAVIORAL MODIFICATION PROGRAM ON INSOMNIA IN HEART FAILURE PATIENTS
Authors: กรรณิกา ชูจิตร
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
จรรยา ฉิมหลวง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th,jchanokp@hotmail.com
Janya.C@Chula.ac.th
Subjects: การนอนไม่หลับ
หัวใจวาย -- ผู้ป่วย
Insomnia
Heart failure -- Patients
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมการนอนต่ออาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่ห้องตรวจโรคหัวใจ และห้องตรวจโรคอายุรกรรม ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 40 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน โดยจับคู่ให้ทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันในเรื่อง ระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลว และระดับอาการนอนไม่หลับก่อนการทดลอง โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับพฤติกรรมการนอน ของ Troxel et al.(2012) ที่ประกอบด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขวิทยาการนอนหลับ หลักการปรับพฤติกรรมการนอนหลับ (การจำกัดการนอนและการควบคุมสิ่งเร้า) และการให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามตารางการนอนหลับอย่างต่อเนื่องที่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามอาการนอนไม่หลับของ Morin (1993) ฉบับที่แปลเป็นภาษาไทยโดย พัทรีญา แก้วแพง (2547) ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่าน และหาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวในหลังได้รับโปรแกรมการปรับพฤติกรรมการนอนน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการปรับพฤติกรรมการนอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. อาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปรับพฤติกรรมการนอนน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of sleep behavioral modification program on insomnia in heart failure patients.Subject were 40 heart failure patients at the cardiology unit and medical unit of Phramongkutklao Hospital. They were selected by a convenience sampling. The subjects were equally divided into a control group and an experimental group. They were matched in terms of NYHA functional classification and insomnia level. The control group received conventional nursing care while the experimental group received the sleep behavioral modification program comprised of sleep hygiene education, rule of behavioral treatment (sleep restriction and stimulus control) and patients followed sleep schedule. Data collection instruments were the Insomnia Severity Index by Morin (1993). It was translated into Thai by Pattrarieya Keawpang (2004). The instruments were tested for content validity by 4 experts, and for reliability yielding Cronbach’s alpha coefficients 0.87. The statistical techniques used in data analysis were percentage, mean, and t-test. The research findings were as follows: 1. Post-test score mean of insomnia in experimental group was significantly lower than those of pre-test score at the .05 level. 2. Post-test score mean of insomnia in the experimental group was significantly lower than those of the control group at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59665
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1059
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1059
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5877153236.pdf6.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.