Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59686
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรและพลังเสริมสร้างอำนาจด้านจิตใจในนักฟุตบอลอาชีพไทย
Other Titles: THE RELATIONSHIP BETWEEN ORGANIZATIONAL CULTURE AND PSYCHOLOGICAL EMPOWERMENT AMONG THAI PROFESSIONAL FOOTBALLERS
Authors: สิรภพ กุดสระ
Advisors: ฉัตรชัย มะสุนสืบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Chatchai.Ma@Chula.ac.th,chatchai.ma@chula.ac.th
Subjects: วัฒนธรรมองค์การ
นักฟุตบอล
แรงจูงใจภายใน
ความสามารถในตนเอง
Corporate culture
Soccer players
Intrinsic motivation
Self-efficacy
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรและพลังเสริมสร้างอำนาจด้านจิตใจในนักฟุตบอลอาชีพไทย รวมถึงเพื่อศึกษาความแตกต่างของระดับพลังเสริมสร้างอำนาจด้านจิตใจในนักฟุตบอลอาชีพไทยโดยจำแนกตามอายุงานของนักฟุตบอลอาชีพ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างนักฟุตบอลอาชีพไทยในไทยลีก ฤดูกาล 2017 จำนวน 246 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากงานวิจัยที่ผ่านมาและผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและการทดสอบความแตกต่าง ANOVA ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์สมมติฐานในการวิจัย ผลการวิจัย พบว่าวัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพลังเสริมสร้างอำนาจด้านจิตใจอย่างมีนัยสำคัญ และสามารถอธิบายความแปรปรวนของพลังเสริงสร้างอำนาจด้านจิตใจได้ร้อยละ 63.3 (R2 = 0.633) เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ว่า วัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพลังเสริมสร้างอำนาจด้านจิตใจ เมื่อวิเคราะห์ลงไปในแต่แบบของวัฒนธรรมองค์กร พบว่าวัฒนธรรมองค์กรแบบปรับตัว วัฒนธรรมองค์กรแบบมุ่งผลสำเร็จ และวัฒนธรรมองค์กรแบบเครือญาติ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพลังเสริมสร้างอำนาจด้านจิตใจในนักฟุตบอลอาชีพไทย อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยพบว่าระดับของพลังเสริมสร้างอำนาจด้านจิตใจในนักฟุตบอลอาชีพไทยโดยจำแนกตามอายุงานไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัยที่ว่าอายุงานแตกต่างกันส่งผลต่อระดับพลังเสริมสร้างอำนาจด้านจิตใจแตกต่างกัน เนื่องจากนักฟุตบอลอาชีพมีพลังเสริมสร้างอำนาจด้านจิตใจอยู่ในระดับที่สูงมากทุกคน สรุปผลการวิจัย วัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพลังเสริมสร้างอำนาจด้านจิตใจของนักฟุตบอลอาชีพไทย โดยแบบวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสมกับพลังเสริมสร้างอำนาจด้านจิตใจของนักฟุตบอลอาชีพไทย เรียงตามความสัมพันธ์ คือ วัฒนธรรมองค์กรแบบปรับตัว วัฒนธรรมองค์กรแบบมุ่งผลสำเร็จ และวัฒนธรรมองค์กรแบบเครือญาติ นอกจากนั้นระดับของพลังเสริมสร้างอำนาจทางด้านจิตใจของนักฟุตบอลอาชีพไม่สามารถอธิบายได้โดยอายุงานในสโมสร
Other Abstract: Purpose The objective of this study was two folds: to examine the relationship between organizational culture and psychological empowerment among Thai professional footballers and to examine the level of psychological empowerment by work tenure. Methods Survey method was employed. Respondents comprised two hundred and sixty-four Thai professional footballers in Thai league 2017. Self-report questionnaires for organizational culture and psychological empowerment were adopted from previous studies and were checked by experts. Regression analysis and ANOVA were employed to test hypotheses. Results Organizational culture is significantly and positively associated with psychological empowerment among professional footballers in Thai league. The variance of psychological empowerment can be explained at 63.3 percent (R2 = 0.633). Hypothesis 1: Organizational culture is positively associated with psychological empowerment. However, when investigating types of organizational culture, Adhocracy culture, Achievement culture, and Clan culture have positive relationship with psychological empowerment among Thai professional footballers. However, results show that level of psychological empowerment is not significantly different by work tenure Conclusion Organizational culture is significantly and positively associated with psychological empowerment among professional footballers in Thai league. The suitable types of organizational culture that are related to psychological empowerment among Thai professional footballers include Adhocracy culture, Achievement culture and Clan culture. However, level of psychological empowerment among Thai professional footballers cannot be explained by work tenure.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59686
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1246
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1246
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5878413639.pdf4.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.