Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59702
Title: แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนให้เป็นโรงเรียนแห่งความสุข
Other Titles: APPROACH TO DEVELOPING HAPPY SCHOOL MANAGEMENT FOR PRIVATE KINDERGARTENS
Authors: กมลพรรณ เอกณรงค์
Advisors: รับขวัญ ภูษาแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Rabkwan.P@Student.chula.ac.th,kwankaew23@gmail.com
Subjects: โรงเรียนอนุบาล -- การบริหาร
School management and organization
Kindergarten
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการเป็นโรงเรียนแห่งความสุขในโรงเรียนอนุบาลเอกชน และนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครให้เป็นโรงเรียนแห่งความสุข กลุ่มตัวอย่างโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 107 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย โรงเรียนแห่งความสุข หมายถึง โรงเรียนที่ส่งเสริมการจัดการศึกษา โดยเคารพในความหลากหลาย การสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม โดยมีหลักเกณฑ์ ได้แก่ 1.คน ในด้านมนุษยสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน 2.กระบวนการสอนและการเรียนรู้ ที่มีความสนุกสนานและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาทักษะและสมรรถนะที่นอกเหนือจากวิชาการ 3.สถานที่ ภายในโรงเรียนและแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารโรงเรียนแห่งความสุขอยู่ในระดับมีการปฏิบัติมากที่สุด ( x̅ = 4.51, SD = .676) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านกระบวนการสอนและการเรียนรู้ ( x̅ = 4.53, SD = .641) ด้านที่มีการปฏิบัติที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมาคือ ด้านคน ( x̅ = 4.52, SD = .662) และในด้านที่มีการปฏิบัติที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านสถานที่ ( x̅ = 4.47, SD = .724) แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครให้เป็นโรงเรียนแห่งความสุข ได้ทั้งหมด 17 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ผู้บริหารและบุคลากรร่วมกันกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ และทิศทางในการพัฒนาสถานที่ภายในโรงเรียน 2) ผู้บริหารโรงเรียนนำข้อมูลจากการประชุมมาวิเคราะห์ 3) ผู้บริหารจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการโรงเรียนแห่งความสุข 4) คณะกรรมการฯ สำรวจและประเมินความสุข 5) คณะกรรมการฯ กำหนดแนวทางการพัฒนา 6) คณะกรรมการฯ นำผลที่ได้จากการประเมินมาจัดลำดับความสำคัญตามความเร่งด่วนของปัญหา 7) คณะกรรมการฯ วางแผนและกำหนดเกณฑ์การประเมินผลในแต่ละด้าน 8) คณะกรรมการฯ กำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานตามแผน 9) คณะกรรมการฯ กำหนดระยะเวลาในการประเมินผล 10) ผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียนลงมือปฏิบัติตามแผน 11) คณะกรรมการฯ ติดตามการปฏิบัติตามแผน 12) คณะกรรมการฯ ประเมินผล 13) คณะกรรมการฯ ประเมินปัญหาและอุปสรรคที่พบ 14) คณะกรรมการฯ ดำเนินการการแก้ปัญหาและอุปสรรค 15) คณะกรรมการฯ นำผลการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงหรือพัฒนา 16) คณะกรรมการฯ เสนอที่ประชุมเพื่อรายงานผล 17) ที่ประชุมแลกเปลี่ยน และสะท้อนการเรียนรู้
Other Abstract: This descriptive research aims to study the present condition to be school of happiness of the private kindergartens, and also provides a guideline for the administrative development to be a school of happiness to the private kindergartens in Bangkok. The sample was 107 private kindergartens in Bangkok. Data was collected via questionnaire. That were using statistical analysis by frequency, percentage, mean, standard deviation and statistic data analysis. Happy School means a school which promotes education by respecting diversity, communication and teamwork by criteria include: 1. the people. In the field of human relations and interactions between them. 2. process of teaching and learning that is fun and encourage learners to develop their skills and performance in addition to academic, 3. location within the school and the learning of the school. The results showed that the overall high level ( x̅ = 4.51, SD = .676). Considering each side found that the highest side is Process ( x̅ = 4.53, SD = .641). The second side is People ( x̅ = 4.52, SD = .662). And the last side is Place ( x̅ = 4.47, SD = .724). There are 17 steps of guideline for the administrative development of the private kindergartens in Bangkok to be a school of happiness which are 1) The administrators and staffs collectively set policies, visions and directions for the location development in the school., 2) The school administrators analyze information received from the meeting., 3) The administrators set up the happy school board to run the project., 4) The Board explores and assesses happiness., 5) The Board sets guidelines for development., 6) The Board takes the results from the assessment to prioritize the problem., 7) The Board plans and sets the criteria for each evaluation., 8) The Board set the timeline on the working plan., 9) The Board set the timeline on the assessment., 10) Administrators, teachers, staff and students start to do as a plan., 11) The Board follows up the plan operation., 12) The Board evaluates., 13) The Board assessed the problems found during the project., 14) The Board solves the problems., 15) The Board evaluate the results, analyze or improve., 16) The Board report the results in the meeting., 17) Exchange and reflect the learning in the meeting.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59702
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.994
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.994
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883302327.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.