Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59707
Title: | การพัฒนาคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF TEST AND ITEM SPECIFICATIONS OF CHEMICAL LITERACY FOR UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS |
Authors: | ณัฐพล สิทธิกุล |
Advisors: | วรรณี แกมเกตุ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wannee.K@Chula.ac.th,wannee.k@gmail.com |
Subjects: | เคมี -- ข้อสอบ การประเมินผลทางการศึกษา Educational evaluation |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายขั้นตอนในการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ ระยะที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ 2 จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 600 คน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบการรู้เคมีฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบฯ และแบบสอบการรู้เคมีฯ ทำการวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ความเที่ยงของแบบสอบ และความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดการรู้เคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรม SPSS โปรแกรม TAP และโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมีฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย บทนำ คำชี้แจงในการใช้งาน วัตถุประสงค์ของการสอบ มโนทัศน์เกี่ยวกับการรู้เคมี องค์ประกอบการรู้เคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักการสร้าง โครงสร้างของแบบสอบการรู้เคมี คุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบการรู้เคมีฯ ตัวอย่างแบบสอบการรู้เคมีฯ และการแปลความหมายของคะแนน โดยมีผลการประเมินคุณภาพในด้านความถูกต้องในระดับมากที่สุด ด้านความเหมาะสมในระดับมาก ด้านความเป็นไปได้ในระดับมาก และผลการประเมินคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=4.44, SD=0.26) 2. แบบสอบการรู้เคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีรูปแบบข้อสอบเป็นแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ ครอบคลุมไปด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านความรู้ทางเคมี, ด้านบริบททางเคมี, ด้านทักษะการเรียนรู้ขั้นสูง และด้านเจตคติต่อเคมี โดยแบบสอบการรู้เคมีฯ มีความยากง่ายที่พอเหมาะ (มีค่าระหว่าง 0.292 - 0.790) สามารถจำแนกกลุ่มผู้สอบได้ดี (มีค่าตั้งแต่ 0.218 – 0.519) มีคุณภาพทั้งด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง (Chi-square=20.65, df=22, P=0.54217, GFI=0.992, AGFI=0.984, RMSEA=0.000) และแบบสอบการรู้เคมีฯ ความเที่ยงอยู่ในระดับสูง (KR-21, α=0.73) |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to develop and verify the qualification of the test and item specifications of chemical literacy for upper secondary school students and 2) to develop and verify the quality of the tests and item specifications. The research methodology was taken into 2 steps. Step 1: Developing and verifying the qualification of the test and item specification of chemical literacy. And step 2: Developing and verifying the quality of chemical literacy test. These are for upper secondary school students. The sample used to gather the data for this research consisted of 600 students studying semester II in Mathayomsuksa 6 in public schools conducted by The Office of Secondary Education, Bangkok Region 1 and 2, OBEC. The instruments used were the evaluation form to evaluate the test and item specifications of chemical literacy for upper secondary school students. Data was to analyze content validity, difficulty index, discrimination index, reliability and construct validity with confirmatory factor analysis by using SPSS, TAP and LISREL. The research findings were as follows 1. Developing and verifying the qualification of the test and item specification of chemical literacy, the test and item specification consisted of Introduction, guideline to use, objectives of chemical literacy test, vision in chemistry and components of chemical literacy for upper secondary school students. It was also included guideline principle, table of specification, test format, item specification, sample items, and scoring and grading criteria. The quality evaluation result was in the high level (Mean=4.44, SD=0.26). 2. The test of chemical literacy for upper secondary school students was 25 multiple-choice test items. They were consisted of 4 main components: chemistry content, chemistry in context, high order learning skill and attitude toward chemistry. The quality of the tests was shown by item difficulty was between 0.292 - 0.790; the item discrimination was between 0.218 – 0.519; content validity, construct validity (Chi-square=20.65, df=22, P=0.54217, GFI=0.990, AGFI=0.984, RMSEA=0.000); and reliability was in the high level (KR-21, α=0.73). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59707 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.722 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.722 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5883891627.pdf | 5.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.