Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59710
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปรีดา อัครจันทโชติ | - |
dc.contributor.author | สุทธิอาภา คุ้มครอง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-14T05:13:42Z | - |
dc.date.available | 2018-09-14T05:13:42Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59710 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะสำคัญของหนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศ, เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์หนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศในบริบทสังคมไทย และเพื่อศึกษาความเข้าใจในประเด็นความหลากหลายทางเพศของผู้รับสารที่ได้รับจากหนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อความหลากหลายทางเพศในบริบทสังคมไทย จากผลการวิจัยพบว่าคุณลักษณะสำคัญของหนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศ คือ การสอดแทรกประเด็นความหลากหลายทางเพศลงไปในรูปแบบการเล่าเรื่องด้วยคุณลักษณะพื้นฐานที่เรียบง่ายและคุ้นเคยดีของหนังสือภาพสำหรับเด็กโดยทั่วไป ด้วยกลวิธีการใช้สัญญะ และ/หรือการลดทอนความสมจริง โดยมีจุดประสงค์เพื่อสะท้อนการเห็นคุณค่าของบุคคล, เพื่อการให้อิสระในการเลือกและแสดงตัวตน และเพื่อการสร้างการยอมรับ คุณลักษณะสำคัญในข้างต้น ถูกนำมาเป็นฐานคิดเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการสร้างสรรค์หนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศในบริบทสังคมไทย เรื่อง ชุดใหม่ของลูกหมี ซึ่งมีกระบวนการทั้งสิ้น 5 ขั้นตอน โดยในแต่ละขั้นตอนได้ทำการออกแบบและสอดแทรกแนวคิดความหลากหลายทางเพศในรูปแบบของสัญญะลงไปในองค์ประกอบของหนังสือภาพ อาทิ ตัวละคร เสื้อผ้าของตัวละคร และเนื้อหาคำบรรยาย เพื่อการสื่อสารในประเด็นการให้อิสระในการเลือกและการแสดงตัวตน และการเห็นคุณค่าและยอมรับบุคคลจากภายใน ผลการประเมินพบว่า ผู้รับสารสามารถเข้าใจประเด็นการให้อิสระในการเลือกและการแสดงตัวตนจากหนังสือภาพเรื่อง ชุดใหม่ของลูกหมี ได้ แต่ต้องอาศัยการทำความเข้าใจร่วมกับคำอธิบายเพิ่มเติมในท้ายเล่มเพื่อให้สามารถเข้าใจสารได้ชัดเจนขึ้น ผู้รับสารสามารถเข้าใจสัญญะของ “กระโปรง” และ “กางเกง” ได้ชัดเจนที่สุด โดยประเด็นการเห็นคุณค่าและยอมรับบุคคลจากภายในเกิดจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดให้การยอมรับความหลากหลายทางเพศโดยภูมิหลังอยู่แล้ว แต่ยังมีบางส่วนที่ปฏิเสธการเลือกหนังสือภาพเรื่อง ชุดใหม่ของลูกหมี ให้บุตร-หลานอ่าน เนื่องจากมองว่ายังไม่จำเป็นสำหรับครอบครัวตน | - |
dc.description.abstractalternative | This research is a study about communication on gender diversity depicted in children's picture books. The objectives of this study are to analyze the attributes of children's picture books that are made for gender diversity communication, to study the process of creating a children's picture book with communication on gender diversity in Thai's society context and to study the recipients’ understanding of gender diversity after reading this children's picture book. It was found that an important attribute of children's picture books for communicating gender diversity is to include the topic in a basic and familiar manner as any other children's picture books are depicted by using semiotics, and/or attenuation to reflect the person’s self-value, promote freedom of will and acceptance in oneself. Thus "Chud Mai Khong Luk Mhee" (Little bear's new dresses); a children’s picture book for communicating gender diversity in Thai’s society context was created based on those attributes above. The making of this book consists of five steps inserted with concept of gender diversity in symbolic form among various elements of the book such as the fabrication of the character, clothing and context described with the purpose of promoting freedom of will and acceptance in oneself. The result showed that recipients can understand the message of free will from the picture book but need additional explanations at the end of the book for better understanding. Also the most understood symbolic depiction are "skirt" and "pants". And because all recipients have some backgrounds on recognizing gender diversity, most could get the message about promoting self-value and acceptance in oneself. Still there are some people who refuse to choose this picture book for their children for the reason that it’s unnecessary. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.935 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | หนังสือภาพสำหรับเด็ก | - |
dc.subject | ความแตกต่างทางเพศ | - |
dc.subject | Picture books for children | - |
dc.subject | Sex differences | - |
dc.title | การสร้างสรรค์หนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศ | - |
dc.title.alternative | CREATION OF CHILDREN'S PICTURE BOOK FOR COMMUNICATION ON GENDER DIVERSITY | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Preeda.A@chula.ac.th,Prita_a@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.935 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5884668228.pdf | 7.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.