Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59731
Title: | การลดความสูญเสียจากปริมาตรบรรจุของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแบบกระป๋อง |
Other Titles: | REDUCTION OF LOSS FROM VOLUME OF CANNED DRINK PRODUCT |
Authors: | ชานิดา กัมพลานนท์ |
Advisors: | นภัสสวงศ์ โอสถศิลป์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | napassavong.o@chula.ac.th,napassavong.O@chula.ac.th |
Subjects: | บรรจุภัณฑ์อาหาร การควบคุมกระบวนการผลิต Food containers Process control |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปริมาตรน้ำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สกัดจากผลไม้ภายในกระป๋อง และหาค่าการปรับตั้งปัจจัยของเครื่องบรรจุที่เหมาะสมเพื่อให้มูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุน้อยลง ขั้นตอนการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาในงานวิจัยนี้เลือกใช้เครื่องมือแผนผังสาเหตุและผล และเลือกใช้เมทริกซ์ความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลในการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปริมาตรบรรจุ ในขั้นตอนการปรับปรุงได้ทำการทดลองเพื่อหาระดับที่เหมาะสมของปัจจัย โดยอาศัยวิธีการพื้นผิวตอบสนองแบบส่วนประสมกลางชนิดแบบ Faced Central Composite Design: CCF จากนั้นจึงทำการสร้างสมการความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้ากับมูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุเพื่อหาค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมที่ทำให้มูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุมีค่าน้อยที่สุด พบว่าค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสม คือ ความยาวของท่อระบายเท่ากับ 106 มิลลิเมตร ระดับของวาล์วปิดแก๊ส CO2 เท่ากับระดับ 1 ระดับของวาล์วที่ไล่อากาศและไล่แก๊ส CO2 เท่ากับระดับ 3 ค่าความดันภายในถังเก็บเท่ากับ 3.5 บาร์ และค่าระดับน้ำผลิตภัณฑ์ภายในถังเก็บเท่ากับ 45 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นทางผู้วิจัยได้จัดทำวิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการตรวจสอบลักษณะของโอริง และสร้างแผ่นตรวจสอบลักษณะกระป๋องก่อนเข้ากระบวนการบรรจุ หลังจากปรับปรุงพบว่าค่าเฉลี่ยปริมาตรน้ำผลิตภัณฑ์ภายในกระป๋อง ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปริมาตรน้ำผลิตภัณฑ์ภายในกระป๋อง และมูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุหลังการปรับปรุงต่อ 1 รอบการผลิตมีค่าเท่ากับ 254.63 มิลลิลิตร 1.37 มิลลิลิตร และ 3,978 บาท ตามลำดับ ซึ่งค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากก่อนปรับปรุง และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานลดลงจากก่อนปรับปรุงทำให้มูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุลดลงจากก่อนปรับปรุงเท่ากับ 6,679 บาทต่อ 1 รอบการผลิต คิดเป็นความสูญเสียที่ลดลง 62.67 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคาดว่าสามารถลดความสูญเสียได้ 3,205,920 บาทต่อปี สุดท้ายทางผู้วิจัยได้จัดทำแผนควบคุม และวิธีการปฏิบัติงานใหม่ของการตั้งค่าเครื่องบรรจุ |
Other Abstract: | This research has the objective to study the factors affecting the volume of fruit brandy canned products and determine appropriate factor setting of the filling machine to minimize the total loss in the filling process. The Cause and Effect Diagram was used to analyze the causes of the problem and the Cause and Effect Matrix was used to prioritize factors affecting the mean and variation of the filled volume. In the improvement phase, the Faced Central Composite Design: CCF was employed to find out the equation of relationship between the total loss in filling process and significant factors. Then, the optimal levels of these factors were determined. The optimal setting was at the vent tube of 106 mm., the level of the CO2 diaphragm valve at level 1, the level of the drain valve at level 3, the pressure inside the tank at 3.5 bar, and the product level inside the tank at 45 percent. In addition, the researcher has developed a work instruction for checking the condition of O-ring and created a check sheet of can condition before entering the filling process. After improvement, it was found that the average volume of canned products was 254.63 ml., the standard deviation was 1.37 ml. and the total loss cost per 1 batch was 3,978 baht. In conclusion, the average volume was increased but the standard deviation was decreased, leading to the total loss reduction of 6,679 bath per batch, equivalent to 62.67 percent reduction. It is expected the total loss will be reduced by 3,205,920 baht per year. Finally, the researcher has developed a control plan and created the work instruction for setting up the filling machine. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59731 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1425 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1425 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5970146721.pdf | 8.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.