Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59757
Title: การปรับปรุงคุณภาพเชิงเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันชีวภาพโดยซีโอไลต์โดปด้วยโลหะ
Other Titles: CATALYTIC UPGRADING OF BIO-OIL BY METALS DOPED ZEOLITES
Authors: ณิชาบูล ชายหาด
Advisors: ประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Prasert.R@Chula.ac.th,Prasert.R@Chula.ac.th,prasert.r@chula.ac.th
Subjects: พลังงานชีวมวล
การแยกสลายด้วยความร้อน
ตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์
Biomass energy
Pyrolysis
Zeolite catalysts
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นการการปรับปรุงคุณภาพเชิงเริงปฏิกิริยาของน้ำมันชีวภาพที่ได้จากกระบวนไพโรไลซิสแบบเร็วของลำต้นทานตะวัน ไม้สนซีดาร์ ลำต้นเจแปนนิสน็อตวีด และลำต้น แอปเปิ้ลด้วยซีโอไลต์ H-ZSM-5 H-Beta และ H-USY จากผลการทดลองพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาทั้ง 3 ชนิดมีความว่องไวและเลือกจำเพาะในการเกิดสารประกอบแอโรมาติกไฮโดรคาร์บอนโดยได้ปริมาณสัมพัทธ์ของสารประกอบแอโรมาติกไฮโดรคาร์บอนร้อยละ 56.2 – 100 จากการวิเคราะห์ด้วย GC/MS ตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ H-ZSM-5 ผลิตปริมาณสารประกอบแอโรมาติกไฮโดรคาร์บอนมากที่สุด นอกจากนี้ตัวเร่งปฏิกิริยาทุกชนิดมีประสิทธิภาพในการนำกลับมาใช้ซ้ำโดยยังคงความว่องไวและความเลือกจำเพาะในการเป็นสารประกอบแอโรมาติกไฮโดรคาร์บอนสูงถึงร้อยละ 70 ในรอบการใช้ซ้ำครั้งที่ 3 และตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้แล้วยังสามารถฟื้นฟูสภาพได้โดยการเผาแบบง่าย ในขณะที่การเมื่อศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์โดปด้วยโลหะทองแดงเพื่อเพิ่มความว่องไวและความเสถียรของตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยวิธีแลกเปลี่ยนไอออนและการเคลือบฝัง จากผลการทดลองพบว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์โดปด้วยโลหะทองแดงในปริมาณร้อยละ 0.5 ด้วยวิธีเคลือบฝัง ทำให้ปริมาณสารประกอบแอโรมาติกไฮโดรคาร์บอนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการเพิ่มปริมาณทองแดงที่โดปบน H-ZSM-5 ส่งผลทำให้ความเลือกจำเพาะและพื้นที่ผิวของซีโอไลต์ลดลง ในขณะที่มีความเป็นกรดเพิ่มมากขึ้นซึ่งจากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าการโดปทองแดงในปริมาณที่เหมาะสมมีผลการต่อประสิทธิภาพในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
Other Abstract: This study focused on the catalytic upgrading of bio-oils derived from fast pyrolysis of sunflower stalk, cedar, Japanese knotweed and apple tree stem over H-ZSM-5, H-beta and H-USY zeolites It is found that three zeolites have high activity and selectivity towards aromatic hydrocarbons and 56.2-100% of aromatic hydrocarbons were found in the upgraded bio-oils which can be detected by GC/MS. H-ZSM-5 produced the highest yield of aromatic hydrocarbon during the upgrading process. Furthermore, all catalysts maintained high activity and selectivity with the maximum aromatic hydrocarbons amount of 70% in the upgraded bio-oils detected in the third cycle. In addition, the spent catalysts were easily regenerated by simple calcination. Meanwhile, in order to enhance the catalytic activity and stability of zeolites, Cu/H-ZSM-5 was prepared by ion-exchange and impregnation method to adjust the acidity. When H-ZSM-5 is modified by a small amount of Cu, the selectivity can be promoted. Especially, when 0.5%Cu/H-ZSM-5 prepared by impregnation method, the yield of aromatic hydrocarbons was increased. However, if more Cu is loaded, the selectivity and surface area obviously decreases with the increase of acidity. These results indicate that the suitable amount of Cu loading is important for the catalytic performance.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59757
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1046
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1046
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5971967823.pdf6.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.