Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59786
Title: | การรับรู้ความหมายในชีวิตและความเครียดของนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | Purpose in Life and Stress of Chulalongkorn university's undergraduate students |
Authors: | กนกวรรณ พงสยาภรณ์ |
Advisors: | ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Puchong.L@Chula.ac.th,doctorpuchong@gmail.com |
Subjects: | ความเครียดในวัยรุ่น ความหมาย (จิตวิทยา) Stress in adolescence Meaning (Psychology) |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เหตุผลของการทำวิจัย : จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนที่มีการรับรู้ความหมายในชีวิตสามารถปรับตัวกับความเครียดได้ดีกว่าคนที่ไม่รู้ความหมายในชีวิต การรับรู้ความหมายในชีวิตของตนจึงมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพและการใช้ความสามารถอันแท้จริงที่บุคคลนั้นมี วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการรับรู้ความหมายในชีวิตและความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี วิธีการทำวิจัย : เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 - 4 ในคณะครุศาสตร์ คณะจิตวิทยา และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 427 ราย โดยใช้1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2. แบบวัดการรับรู้ความหมายชีวิตฉบับภาษาไทย แปลโดย อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ ประกอบด้วย แบบวัดความมุ่งหวังในชีวิต และ แบบวัดแรงจูงใจค้นหาความหมายในชีวิต 3.แบบทดสอบความเครียดสวนปรุง ( ฉบับปรับปรุง ) โดยนายภควัต วงศ์ไทย 4. แบบสอบถามแหล่งความเครียด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ 1. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา 2. วิเคราะห์ปัจจัยเกี่ยวข้องกับการรับรู้ความหมายชีวิตและระดับความเครียด 3. ค่าปกติวิสัยโดยวิเคราะห์ค่าคะแนนเฉลี่ย ของการรับรู้ความหมายในชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษา : 1.นิสิตส่วนใหญ่มีความเครียดระดับต่ำ(ร้อยละ42.2)ถึงปานกลาง(ร้อยละ38.9) 2. นิสิตที่มีการรับรู้ความหมายในชีวิตระดับสูงมีเป็นจำนวนมากกว่านิสิตที่มีการรับรู้ความหมายในชีวิตระดับต่ำ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความหมายในชีวิตได้แก่ ความเครียดต่ำ การสามารถเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้อย่างชัดเจน ตารางเรียนในแต่ละสัปดาห์เหมาะสม ไม่มีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว พอใจสถานที่พักอาศัย และการมีกลุ่มเพื่อนหรือเพื่อนสนิท สรุป : นิสิตปริญญาตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ มีการรับรู้ความหมายในชีวิตระดับสูง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนแนวทางการสร้างเสริมการรับรู้ความหมายในชีวิตแก่นิสิตผ่านทางการศึกษาและกิจกรรมต่างๆของมหาวิทยาลัยและให้การช่วยเหลือนิสิตกลุ่มที่มีความเครียดรุนแรงต่อไป |
Other Abstract: | Background : It is generally believed that people who understand the purpose in life tend to handle stress better than those who do not. Understanding the purpose in life helps one reach full potential development. Objective : To study the Purpose in life and stress of Chulalongkorn university’s undergraduate students. Method : A total of 427 Chulalongkorn university’s undergraduate students in faculty of Education, faculty of Psychology, faculty of Architecture, after signing a consent were asked to complete 4 questionnaires, namely : 1 ) Personal information questionnaire ; 2 ) Purpose in Life ( PIL ) and Seeking of Noetic Goals ( SONG ) ; 3 ) Suanprung Stress Test - 22 ( SPST – 22 ) a revision version by PaKawat Wongthai ; 4 ) Stress Sources Questionnaire. The following data analysis methods are applied --1 ) descriptive statistics to explain the basics of the sample ; 2 ) Chi – square ; 3 ) mean ± SD Results : 1.Most students have low stress level (42.2%) to moderate level (38.9%) 2.Students with high level of perception of life are higher than students with low level of perception of life. Related factors of perception of life are low stress, understanding the lesson, class schedules are appropriate, no contradiction with family, satisfied with homes, haveing a group of friends or closed friends Conclusion : Most of Chulalongkorn university's undergraduate students have high perception of life. Relevant agencies should provide support and encouragement to them via education and activities. And also help the students who have severe stress level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59786 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1541 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1541 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5974026830.pdf | 2.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.