Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59804
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์ | - |
dc.contributor.author | ติรวิทย์ หงสกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-14T05:19:02Z | - |
dc.date.available | 2018-09-14T05:19:02Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59804 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | ที่มา: การติดเชื้อที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดฝังสำหรับหัวใจนับว่าเป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยแต่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการติดเชื้อที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดฝังสำหรับหัวใจ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์, ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อและผลการรักษาการติดเชื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดฝังสำหรับหัวใจในแบบต่างๆในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 10 ปีย้อนหลัง วิธีการศึกษา: ศึกษาอัตราการเกิดการติดเชื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดฝังสำหรับหัวใจ 10 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2550-2559) ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในตามรหัสทำหัตถการ ICD 9 ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดฝังสำหรับหัวใจเท่ากับ 68 ราย จากผู้ป่วยที่สามารถตามประวัติหัตถการทั้งหมด 1,100 ราย คิดเป็นอัตราการติดเชื้อ 6.2% เป็นการติดเชื้อที่รุนแรง 25 ราย คิดเป็น 2.7% จากผู้ป่วยทั้งหมด ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อที่สำคัญได้แก่ ผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจเทียม [odds ratio (OR) =1.65; 95% confidence interval (CI), 1.19-2.3; p=0.036], การปรับยาวาร์ฟารินเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดแบบฉีดก่อนทำหัตถการ (OR =1.72; 95% CI, 1.27-2.33; p=0.005) และแผลหลังผ่าตัดมีก้อนเลือด (OR =2.79; 95% CI, 2.16-3.6; p<0.001) เชื้อก่อโรคที่พบมากที่สุดคือ Staphylococcus aureus พบในภาวะติดเชื้อที่รุนแรงเท่ากับร้อยละ 36 ผลการรักษาที่ 1 ปีหลังใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดฝังสำหรับหัวใจพบว่า การติดเชื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดฝังสำหรับหัวใจเมื่อเปรียบเทียบกับไม่มีการติดเชื้อ มีผลต่ออัตราการเกิดทุพพลภาพและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามลำดับ (อัตราทุพพลภาพเท่ากับ 27.9% vs 4.4, p<0.001 และอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 8.8% vs 0%, p=0.012) สรุป: อัตราการติดเชื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดฝังสำหรับหัวใจที่รุนแรงพบได้ 2.7% ซึ่งสามารถรักษาได้ทั้งการให้ยาปฎิชีวนะและการถอดอุปกรณ์ออกซึ่งแพทย์จะพิจารณารักษาเป็นรายๆไป สำหรับแนวทางการรักษาต้องอาศัยงานวิจัยขนาดใหญ่อย่างเป็นระบบต่อไป | - |
dc.description.abstractalternative | Background: Cardiac Implantable Electronic Device (CIED) infection is a serious complication. The CIED infection research in Thailand is lack of data. Objective: To determine the incidence, risk factors and outcomes of treatment of CIED infection in King Chulalongkorn Memorial hospital Material and Method: This is retrospective case control study of consecutive cases of CIED infection at a tertiary academic medical center in Thailand between 2007 and 2016. Results: A total 68 CIED infection cases were identified from 1,100 patients who had CIED implantation. The incidence of CIED infection was 6.2%. Of these, 25 cases were serious infection. The most identified organism in serious CIED infection was Staphylococcus aureus (36%). From univariate analysis, identified risk factors were included prosthetic heart valve [odds ratio (OR) =1.65; 95% confidence interval (CI), 1.19-2.3; p=0.036], bridging anticoagulant from oral to injection during operation (OR =1.72; 95% CI, 1.27-2.33; p=0.005) and post-operative pocket hematoma (OR =2.79; 95% CI, 2.16-3.6; p<0.001). CIED infection was associated with higher 1-year mortality rate compared to non-infection cases (8.8% vs 0%, p = 0.012). Conclusion: In this single center experience, the incidence of CIED infection is common and associate with high 1-year mortality rate. The risks of CIED complication must be weighed against potential benefits in each individual. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1616 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ตัวคุมจังหวะหัวใจ -- การติดเชื้อ | - |
dc.subject | Cardiac pacemakers -- Infection | - |
dc.title | การศึกษาการติดเชื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดฝังสำหรับหัวใจ 10 ปีย้อนหลังในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ | - |
dc.title.alternative | Cardiac Implantable Electronic Device infections: 10-year experiencein King Chulalongkorn Memorial Hospital | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | vutvut33@gmail.com,vutvut33@gmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.1616 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5974065230.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.