Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59808
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิสุทธิ์ กตเวทิน-
dc.contributor.advisorปาจรีย์ จริยวิลาศกุล-
dc.contributor.advisorเลลานี ไพฑูรย์พงศ์-
dc.contributor.authorปิ่นพงศ์ศานต์ ตริยาวธัญญู-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T05:19:17Z-
dc.date.available2018-09-14T05:19:17Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59808-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractความสำคัญและที่มา: คำแนะนำมาตรฐาน ของการบริหารยาปฏิชีวนะทางช่องท้องในผู้บำบัดทดแทนไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติที่มีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบในปัจจุบัน คือผสมในน้ำยาล้างช่องท้องโดยค้างท้องไว้นานอย่างน้อย 6 ชั่วโมงซึ่งอาจไม่สามารถทำได้ เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะน้ำเกินจากการแลกเปลี่ยนสารผ่านเยื่อบุช่องท้องที่เปลี่ยนแปลงไป (ultrafiltration failure) วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาชีวปริมาณการออกฤทธิ์ (bioavailability) และวัดระดับความเข้มข้นของยาเซฟาโซลินและเซฟตาซิดิม ซึ่งใช้บ่อยในการบริหารยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมเชื้ออย่างกว้าง (empirical treatment) ในผู้ป่วยบำบัดทดแทนไตทางช่องท้องที่มีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ โดยการบริหารยาด้วยเครื่องอัตโนมัติทางช่องท้องและค้างน้ำยาเพียง 2 ชั่วโมง ระเบียบวิธีวิจัย: ผสมยาเซฟาโซลินและเซฟตาซิดิมขนาด 2,500 มิลลิกรัม ในน้ำยาล้างช่องท้องที่มีน้ำตาลเด็กซ์โตรสความเข้มข้นร้อยละ 2.5 ปริมาตร 5 ลิตร วางถุงน้ำยาบนถาดทำความร้อนของเครื่องล้างช่องท้องอัตโนมัติ โดยมีน้ำยาล้างช่องท้องปริมาตร 5 ลิตร อีกถุงวางด้านข้าง ผู้ป่วยจะได้รับการล้างช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติโดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำยา 5 ครั้ง ครั้งละ 2 ลิตร รวม 10 ชั่วโมง โดยจะมีการเก็บตัวอย่างเลือดที่เวลา 0, 1, 2, 4, 6, 8, 10, 14, 18, และ 24 ชั่วโมง น้ำยาล้างช่องท้องแต่ละรอบจะถูกเก็บที่เวลา 0, 2, 4, 6, 8, 10 และ 24 ชั่วโมง จากนั้นตรวจระดับยาโดยวิธี high performance liquid chromatography ผลการศึกษา: ผู้ป่วยบำบัดทดแทนไตทางช่องท้องที่มีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ จำนวน 6 ราย เข้าร่วมการศึกษา พบว่า ค่าชีวปริมาณการออกฤทธิ์ของยาเซฟาโซลินและเซฟตาซิดิมที่บริหารทางช่องท้องคือร้อยละ 50.3±16.4 และร้อยละ 56.6±18.4 ตามลำดับ ระดับยาเซฟาโซลินและเซฟตาซิดิมในพลาสมามีระดับสูงกว่าค่า MIC ภายในชั่วโมงแรก (ระดับยาเซฟาโซลินและเซฟตาซิดิมคือ 37.0±6.5 และ 21.4±5.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ) และสามารถคงระดับยาทั้ง 2 ชนิด ในพลาสมาสูงกว่าค่า MIC ตลอด 24 ชั่วโมง (82.3±3.2 และ 40.2±10.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่ 24 ชั่วโมง ตามลำดับ) นอกจากนี้ระดับยาเซฟาโซลินและเซฟตาซิดิมในน้ำยาล้างช่องท้อง มีระดับสูงกว่าค่า MIC ตลอดช่วงเวลาที่ใส่น้ำยาเช่นกัน สรุป: การบริหารยาเซฟาโซลินและเซฟตาซิดิมทางช่องท้องโดยมีระยะเวลาค้างท้องเพียง 2 ชั่วโมง สามารถให้ค่าชีวปริมาณการออกฤทธิ์ที่เพียงพอ ทำให้ระดับความเข้มข้นของยาทั้ง 2 ชนิดในพลาสมาสูงกว่าค่า MIC ได้ตลอด 24 ชั่วโมง การบริหารยาทางช่องท้องรูปแบบนี้สามารถนำมาใช้เป็นมาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่ได้รับการบำบัดช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติหรือผู้ป่วยที่ล้างช่องท้องด้วยตนเองแต่มีภาวะ ultrafiltration failure ได้-
dc.description.abstractalternativeBackground: The current guideline for peritonitis suggested that intraperitoneal antibiotics be administered only in a peritoneal dialysis (PD) that last longer than six hours. However, this might not be practical as such a long PD might cause poor ultrafiltration and volume overload. Objectives: This study was aimed to evaluate intraperitoneal bioavailability, and plasma and dialysate concentration of the widely used empirical antibiotics for PD-related peritonitis, cefazolin and ceftazidime, in 2-hour dwell IP administration. Materials and Methods: cefazolin and ceftazidime (2,500 mg each) were added in a 5-liter bag containing 2.5% dextrose PD fluid, placed on the warmer of PD cycling machine. Another 5-liter bag of PD fluid was connected to the machine, off the warmer. Patients underwent 5 exchanges of 2-liter PD fluid over 10 hours by the PD cycling machine without last fill or additional dwell. Plasma samples were collected at 0, 1, 2, 4, 6, 8, 10, 14, 18, and 24 hours after the infusion. Dialysate samples from each exchange were collected at time 0, 2, 4, 6, 8, 10, and 24 hours. Cefazolin and ceftazidime concentrations in plasma and dialysate were determined by high performance liquid chromatography. Results: Six patients with PD-related peritonitis participated in this study. The intraperitoneal bioavailability of cefazolin and ceftazidime is 50.3±16.4% and 56.6±18.4%, respectively. Plasma cefazolin and ceftazidime levels exceeded the minimum inhibitory concentration (MIC) of 8 mg/L within the first hour (cefazolin 37.0±6.5 and ceftazidime 21.4±5.7 mg/L at an hour), and sustained well above the MIC at 24 hours after the infusion (82.3±3.2 and 40.2±10.5 mg/L). Dialysate cefazolin and ceftazidime levels were also sustained above the MIC throughout the PD session in all patients. Conclusion: The IP cefazolin and ceftazidime in 2hr-dwell administration indicated sufficient bioavailability and adequate dialysate and plasma concentrations. This regimen could become a standard for peritonitis in PD patients already using PD cycling machine as well as the continuous ambulatory PD (CAPD) patients who needed shorter dwells during peritonitis.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1622-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectเภสัชจลนศาสตร์-
dc.subjectการล้างไตทางช่องท้อง-
dc.subjectยา -- การบริหาร-
dc.subjectPharmacokinetics-
dc.subjectPeritoneal dialysis-
dc.subjectDrugs -- Administration-
dc.titleเภสัชจลนศาสตร์ของยาเซฟาโซลินร่วมกับเซฟตาซิดิม ที่บริหารทางช่องท้องในผู้ป่วยบำบัดทดแทนไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ ที่มีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย-
dc.title.alternativePharmacokinetics of Intraperitoneal Cefazolin and Ceftazidime in Patients Treated with Automated Peritoneal Dialysis with Bacterial Peritonitis-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPisut.K@chula.ac.th,pkatavetin@yahoo.com-
dc.email.advisorPajaree.L@Chula.ac.th-
dc.email.advisorLeilani.P@chula.ac.th,leilani_idcu@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.1622-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974078430.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.