Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59817
Title: ความชุกของความผิดปกติทางพยาธิสภาพของกระดูกจากโรคไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังชาวไทยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Other Titles: Prevalence of Renal Osteodystrophy on Bone Histomorphometry in Hemodialytic Patients
Authors: สุธานิธิ เลาวเลิศ
Advisors: ปวีณา สุสัณฐิตพงษ์
ลลิตา วัฒนะจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Paweena.S@Chula.ac.th,pesancerinus@hotmail.com,pesancerinus@hotmail.com
Lalita_md@yahoo.com
Subjects: พาราไทรอยด์ฮอร์โมน
ไตวายเรื้อรัง
Parathyroid hormone
Chronic renal failure
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: การดูแลรักษาภาวะระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนเกินแบบทุติยภูมิในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้รับพัฒนาเป็นอย่างมากในช่วงหลังแต่ยังขาดหลักฐานเชิงประจักษ์อีกหลายประการ เนื่องจากการวินิจฉัยมาตรฐานจำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางพยาธิสภาพของกระดูก ปัจจุบันแนวทางเวชปฏิบัติได้แนะนำระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนเป้าหมายโดยมีพิสัยค่อนข้างกว้าง ดังนั้นการสืบหาระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนที่เหมาะสมในกลุ่มประชากรจำเพาะจึงมีความจำเป็น โดยเฉพาะในประชากรไทย การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหาความชุกของของภาวะความผิดปกติทางกระดูกแต่ละชนิดของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอดเลือดในประชากรไทยโดยใช้การเจาะตรวจกระดูกเพื่อตรวจพยาธิสภาพของกระดูก และเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างสารบ่งชี้ทางชีวภาพกระดูกและพยาธิสภาพกระดูก รวมถึงประเมินระดับที่เหมาะสมของระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมน วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังชาวไทยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 22 คน โดยจะได้รับการตรวจวัดระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมน แคลเซียม ฟอสเฟต วิตามินดี สารบ่งชี้ทางชีวภาพกระดูก ได้แก่ tartrate-resistant acid phosphatase-5b และ bone specific alkaline phosphatase และจะได้รับการตรวจพยาธิสภาพของกระดูกโดยใช้เทคนิคการติดฉลากกระดูกด้วยยาเตตราซัยคลิน เพื่อใช้ประกอบการวัดพารามิเตอร์โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เฉพาะทาง ชนิดของภาวะความผิดปกติทางกระดูกจะถูกจำแนกตาม การหมุนเวียนของกระดูก การสะสมแร่ธาตุในกระดูก และ ปริมาตรกระดูก นอกจากนี้ผู้ป่วยจะได้รับการวัดมวลกระดูกและระดับแคลเซียมสะสมในหลอดเลือดหัวใจ ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษามีอายุเฉลี่ย 48 ±10 ปี ระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนเฉลี่ย 523±238 พิโคกรัมต่อมิลลิลิตร ระยะเวลาในการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกไตเฉลี่ย 64 เดือน พบว่าภาวะ adynamic bone disease ถึงร้อยละ 50 osteitis fibrosa พบได้ร้อยละ 40.9 และ mixed uremic osteodystrophy พบได้ร้อยละ 9.1 ไม่พบผู้เข้าร่วมการศึกษาที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นภาวะกระดูกน่วมหรืออะลูมินัมเป็นพิษ ระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนที่ 484.5 พิโคกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถใช้ทำนายภาวะหมุนเวียนกระดูกสูงได้พื้นที่ใต้เส้นโค้งเท่ากับ 0.86 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ที่ 0.70-1.0) โดยมีความไวและความจำเพาะเป็น 0.82 และ 0.82 ตามลำดับ สรุปผลการศึกษา: Adynamic bone disease เป็นชนิดของความผิดปกติทางกระดูกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังชาวไทยที่ได้รับการฟอกเลือดที่พบมากที่สุด ถึงแม้ระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนจะอยู่ใกล้เกณฑ์พิสัยบนของระดับพาราไทรอยด์ฮอร์โมนเป้าหมายตามแนวทางเวชปฏิบัติ KDIGO การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการเจาะตรวจกระดูกเพื่อตรวจพยาธิสภาพของกระดูกเพื่อการวินิจฉัยภาวะความผิดปกติทางกระดูกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังยังเป็นเครื่องมือมาตรฐานและมีความจำเป็นเพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและช่วยในการเลือกการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีภาวะความผิดปกติทางกระดูก
Other Abstract: Background: Management of secondary hyperparathyroidism has been evolving and requires more investigations. Currently, the relatively “wide” recommended target for intact parathyroid hormone (iPTH) concentration has proved to be reasonable only in limited circumstances, and hence a more suitable target range for specific population is highly in demand. This study was conducted to determine the prevalence of various types of renal osteodystrophy in Thailand and to investigate the correlation between bone markers and bone histomorphometry to suggest an optimal iPTH level. Methods: Twenty-two chronic HD patients participated in this cross-sectional study. iPTH, serum calcium, phosphate and 25-hydroxyvitamin D and bone turnover markers including tartrate-resistant acid phosphatase-5b (TRAP-5b) and bone specific alkaline phosphatase (B-ALP) were measured. Double tetracycline-labeled iliac crest bone specimens were evaluated for static and dynamic parameters by using specialized computer program (Osteomeasure®). The types of bone histomorphometry were classified based on turnover (T), mineralization (M), and volume (V) classification. Bone density and coronary artery calcification were measured. Results: Mean age and iPTH were 48 ±10 years and 523±238 pg/mL, respectively. Median dialysis vintage was 64 months. Adynamic bone disease was the most common bone abnormalities (50%), followed by osteitis fibrosa (40.9%) and mixed uremic osteodystrophy (9.1%). No evidences of osteomalacia and aluminum bone disease were detected. iPTH at the cutoff of 484.5 pg/mL predicted high bone turnover with an area under the receiver operating characteristic curve (AUROC) of 0.86 (95 % CI 0.70-1.0) with the sensitivity and specificity of 0.82 and 0.82 respectively. Conclusions: Adynamic bone disease remains the most common bone disease among chronic HD patients in Thai population, albeit iPTH levels were close to the upper limit target of KDIGO guideline. Our study suggested that bone biopsy is required as an accurate diagnostic tool and providing guide for the treatment of chronic HD patients with renal osteodystrophy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59817
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1636
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1636
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974104030.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.