Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59835
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรรณระพี สุทธิวรรณ-
dc.contributor.authorณัฐพล ชัยกิตติพรเลิศ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2018-09-14T05:21:01Z-
dc.date.available2018-09-14T05:21:01Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59835-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลุ่มวัยรุ่นตอนต้นในเรื่องความสัมพันธ์ของการถูกล้อเลียนที่ส่งผลให้เกิดความซึมเศร้าและความวิตกกังวล โดยมีคุณภาพความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทและการยอมรับจากเพื่อนในชั้นเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีความสามารถในการฟื้นพลังเป็นตัวแปรกำกับ โดยผู้เข้าร่วมงานวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีอายุระหว่าง 13 – 15 ปี การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 433 คน ผู้วิจัยตรวจสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกำกับ ด้วยการทดสอบตัวแปรส่งผ่านอย่างมีเงื่อนไข (moderated mediation) ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่าง การถูกล้อเลียน และความซึมเศร้าและความวิตกกังวล (B = .02, p < .05) 2. การยอมรับจากเพื่อนในชั้นเรียนไม่ได้เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่าง การถูกล้อเลียน และความซึมเศร้าและความวิตกกังวล แต่การล้อเลียน สัมพันธ์ทางบวกกับการยอมรับจากเพื่อนในชั้นเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียงอย่างเดียว (B = .13, p < .05) 3. ความสามารถในการฟื้นพลัง เป็นตัวแปรกำกับระหว่าง คุณภาพความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทและความซึมเศร้าและความวิตกกังวล (B = -.13, p < .05) และ 4. การถูกล้อเลียนสามารถอธิบายความซึมเศร้าและความวิตกกังวลของวัยรุ่นได้โดยตรง เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรส่งผ่านทั้ง 2 ตัวแปร (B = .36, p < .05) ผลการวิจัยสามารถนำไปปรับใช้ในการออกแบบโปรแกรมเพื่อจัดการกับปัญหาการล้อเลียน โดยเสริมสร้างให้เด็กมีความสามารถในการฟื้นพลังมากขึ้น โดยผู้วิจัยได้อภิปรายถึงแนวทางการป้องกันต่าง ๆ เพื่อให้เด็กที่่ถูกล้อเลียนสามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและไม่ส่งผลให้เกิดความซึมเศร้าและความวิตกกังวลตามมา-
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to examine mediated roles of friendship quality and peer acceptance in associations between teasing, depression and anxiety with resilience as a moderator in early adolescent. The participants in this study were 433 students aged between 13 - 15 years. The results using mediated moderation analysis were shown that 1. friendship quality could mediate the association between teasing, depression and anxiety. (B = .02, p < .05) 2. Peer acceptance could not mediate the relation between teasing, depression and anxiety. On the other hand, teasing directly associated with peer acceptance directly (B = .13, p < .05) 3. resilience could moderated the relation between friendship quality, depression and anxiety (B = -.13, p < .05). 4. Teasing could explain depression and anxiety directly when control the effect of both mediator roles (B = .36, p < .05). This result suggested that promoting of resilience in adolescents could help teased adolescents handle their situations properly. Ways to buffer teased adolescents from negative outcomes were discussed.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.801-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectความซึมเศร้าในวัยรุ่น-
dc.subjectความวิตกกังวลในวัยรุ่น-
dc.subjectความสามารถในการฟื้นพลังในวัยรุ่น-
dc.subjectDepression in adolescence-
dc.subjectAnxiety in adolescence-
dc.subjectResilience (Personality trait) in adolescence-
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการล้อเลียนกับความซึมเศร้าและความวิตกกังวลในกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น โดยมีคุณภาพความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทและการยอมรับจากเพื่อนในชั้นเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีความสามารถในการฟื้นพลังเป็นตัวแปรกำกับ-
dc.title.alternativeASSOCIATIONS AMONG TEASING, DEPRESSION, AND ANXIETY: THE MEDIATED ROLES OF FRIENDSHIP QUALITY AND PEER ACCEPTANCE WITH RESILIENCE AS A MODERATOR-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineจิตวิทยา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPanrapee.S@Chula.ac.th,cpanrapee@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.801-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5977610838.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.