Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59838
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นผู้สนับสนุนกีฬากับการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย |
Other Titles: | RELATIONSHIP BETWEEN SPORTS SPONSORSHIP AND BRAND RECOGNITION OF THE BADMINTON TOURNAMENT IN THAILAND |
Authors: | บุณยกร ธรรมพานิชวงค์ |
Advisors: | เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | Tepprasit.G@Chula.ac.th,Tepprasit.G@Chula.ac.th |
Subjects: | ผู้สนับสนุนด้านกีฬา Sports sponsorship |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นการเป็นผู้สนับสนุนในการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทยของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน และศึกษาการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาที่ส่งผลต่อการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบเป็นอิสระและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1.ผู้เข้าร่วมการแข่งขันแบดมินตันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการสนับสนุนกีฬาโดยรวมอยู่ในระดับที่เห็นด้วยมากและในรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากด้วย 2. ผู้เข้าร่วมการแข่งขันแบดมินตันมีระดับความจำต่อการจดจำตราสินค้าโดยรวมมีผลอยู่ในระดับที่จดจำมาก และในรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากด้วย 3. การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยค่า "ที" แบบเป็นอิสระ(Independent t-test) พบว่า ระดับความเห็นการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาทั้ง 7 ด้านและระดับความจำของการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันไม่แตกต่างกันและไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาที่ส่งผลต่อการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย พบว่า การเป็นผู้สนับสนุนกีฬามีความสัมพันธ์กับการจดจำตราสินค้าของผู้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อจำแนกค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย พบว่า การเป็นผู้สนับสนุนกีฬามีอิทธิพลทางบวก (β = 0.741) ในส่วนของการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาในรายด้านทั้ง 7 ด้าน พบว่า มีความสัมพันธ์กับการจดจำตราสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเมื่อจำแนกค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย พบว่าทุกด้านมีอิทธิพลทางบวก และด้านที่มีผลกระทบต่อการจดจำตราสินค้ามากที่สุดได้แก่ ด้านการสนับสนุนกีฬาแบบเจาะจงประเภทกีฬา รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการสนับสนุนกิจกรรม ด้านการสนับสนุนสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการสนับสนุนนักกีฬา ด้านการสนับสนุนสโมสร/ทีมกีฬา ด้านการสนับสนุนหน่วยงานหรือองค์กรที่ดูแล และ ด้านการสนับสนุนผ่านช่องทางการสื่อสาร |
Other Abstract: | The objectives of this research were to study the participants’ opinions towards the sponsorship of badminton competition in Thailand, and to study sports sponsorship affecting brand awareness of badminton competition participants in Thailand. The sample of this study was 400 badminton competition participants in Thailand. The questionnaire was used as the instrument to collect data. Data were then analyzed by using percentage, mean, standard deviation, Independent t-test, and multiple regression analysis. The results of this research indicated as follows: 1. Participants’ opinion towards overall sports sponsorship was at a high level. When individual aspects were considered, all aspects were at high levels as well. 2. Participants’ brand awareness was at a high level. When individual aspects were considered, all aspects were at high levels as well. 3. By testing with Independent t-test, participants’ opinion towards 7 aspects of sports sponsorship and brand awareness level were indifferent with a statistical insignificance. 4. By studying the relationship between variables, sports sponsorship was related to brand awareness with a statistical significance level of 0.05. When regression coefficients were considered, sports sponsorship had positive influence (β = 0.741). In terms of 7 aspects of sports sponsorship, all aspects were related to brand awareness with a statistical significance level of 0.05. When regression coefficients were considered, all aspects had positive influence and the most influential aspect on brand awareness was specific sport sponsorship, followed by activity support, location and facilities support, sport club/team support, responsible organization or agency support, and support via communication channel. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59838 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1227 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1227 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5978312039.pdf | 5.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.