Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59841
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรสา โค้งประเสริฐ | - |
dc.contributor.advisor | วรินทร์ กฤตยาเกียรณ | - |
dc.contributor.author | ตวงทิพย์ สุระรังสิต | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-14T05:21:26Z | - |
dc.date.available | 2018-09-14T05:21:26Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59841 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทรงท่าและการทำงานของกล้ามเนื้อระหว่างนักลีลาศและผู้มีสุขภาพดี ที่มีและไม่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง ผู้เข้าร่วมงานวิจัยประกอบด้วย ผู้มีสุขภาพดี (Healthy: H) ผู้มีสุขภาพดีที่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง (Healthy with chronic ankle instability: H+CAI) นักลีลาศ (Dancer: D) และนักลีลาศที่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง (D+CAI) กลุ่มละ 10 คน วัดค่าดัชนีความมั่นคงรวม (Overall Stability index: OSI) ดัชนีความมั่นคงในทิศหน้าหลัง (Anteroposterior stability index: APSI) และดัชนีความมั่นคงในทิศด้านข้าง (Mediolateral Stability index: MLSI) รวมถึงการทำงานของกล้ามเนื้อรอบข้อเท้า ได้แก่ กล้ามเนื้อทิเบียลิส แอนทีเรีย (Tibialis anteria: TA) เพอโรเนียส ลองกัส (Peroneus loungus: Pl) แกสตรอคนีเมียส (Gastrocnemius lateral part: Ga) และโซเลียส (Soleus: So) ขณะทำการทดสอบยืนขาข้างเดียว 4 รูปแบบ คือ ยืนเปิดตา พื้นราบ (Eyes opened-Floor: EO-Fl) ยืนปิดตา พื้นราบ (Eyes closed-Floor: EC-Fl) ยืนเปิดตา พื้นโฟม (Eyes opened-Foam: EO-Fo) และยืนปิดตา พื้นโฟม (Eyes closed-Foam: EC-Fo) สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ การวัดค่าความแปรปรวนสองทาง (Two way-ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า ขณะยืนทดสอบรูปแบบ EO-Fl ค่า OSI ของกลุ่ม H มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม D+CAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .039 กลุ่ม D มีค่าดัชนีความมั่นคงรวมต่ำกว่ากลุ่ม H+CAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่า APSI กลุ่ม D มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม D+CAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่า MLSI ของกลุ่ม D มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม H+CAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.04 และพบว่าขณะยืนทดสอบรูปแบบ EC-Fl ค่า OSI ของกลุ่ม D มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม H+CAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.02 กลุ่ม D มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม D+CAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกจากนี้ยังพบว่าขณะยืนทดสอบรูปแบบ EC-Fl ค่า APSI ของกลุ่ม H มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม D+CAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กลุ่ม D มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม H+CAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่ม D มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม D+CAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ขณะยืนทดสอบ ค่า MLSI ของกลุ่ม D มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม D+CAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.03 และเมื่อเพิ่มความยากในการทรงตัวขึ้นมากที่สุด ด้วยการยืนทดสอบรูปแบบ EC-Fo ค่า OSI ของกลุ่ม D มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม H+CAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่า APSI ของกลุ่ม H มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม H+CAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.02 กลุ่ม D มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม H+CAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 กลุ่ม D มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม D+CAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.04 อีกทั้งยังพบว่า กลุ่ม D มีการทำงานของกล้ามเนื้อทุกมัดขณะทดสอบความสามารถในการทรงท่ามากกว่ากลุ่มอื่นๆ ยกเว้นการทำงานของกล้ามเนื้อ Ga ที่จะมีการทำงานเพิ่มมากขึ้นในกลุ่ม D+CAI เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ในขณะที่เมื่อทำการเปรียบเทียบความสามารถในการทรงท่าและการทำงานของกล้ามเนื้อ ระหว่างขาข้างถนัดและไม่ถนัดในแต่ละกลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย นักลีลาศมีความสามารถในการควบคุมการทรงท่าและการใช้งานกล้ามเนื้อรอบข้อเท้าที่ดีกว่ากลุ่มผู้มีสุขภาพดี กลุ่มผู้มีสุขภาพดีที่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง และกลุ่มนักลีลาศที่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง ตามลำดับ คำสำคัญ : นักลีลาศ/ความสามารถในการทรงท่า/การทำงานของกล้ามเนื้อ/ภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง | - |
dc.description.abstractalternative | Purpose The purpose of this study was to compare postural stability between dancers and healthy with and without chronic ankle instability. The participants were compare of Healthy (H), Healthy with chronic ankle instability (H + CAI), Dancers (D) and Dancers with chronic ankle instability (D + CAI) (10 person for each group). They were measured for Overall Stability Index (OSI), anteroposterior stability index (APSI) mediolateral stability index (MLSI) and muscular function (Electromyography: EMG) of Tibialis anterior (TA), Peroneus longus (Pl), Gastrocnemius lateral part (Ga) and Soleus (So). There data were collected from 4 different postural ability tests by single leg stance, composed of single leg stance with eyes opened on the floor (EO-Fl), single leg stance with eyes closed on the floor (EC-Fl), single leg stance with eyes opened on the foam (EO-Fo) and single leg stance with eyes closed on the foam (EC-Fo). Two-way ANOVA was applied to determine the OSI, APSI, MLSI and muscular function in each group and each condition. Results showed that EO-Fl condition, the H-group OSI was lower than those of the D+CAI group (p = 0.04). The D-group OSI was lower than the H + CAI group (p = 0.01). For APSI, D-group was significantly lower than the D + CAI group (p = 0.01). The MLSI of D group was significantly lower than the H + CAI group (p = 0.04). During EC-Fl condition, D-group presented OSI values lower than the H + CAI group (p = 0.02) and D-group was significantly lower than the D + CAI group (p = 0.01). While the APSI, H-group was lower than the D + CAI group (p = 0.01) and D group was significantly lower than the H + CAI group (p = 0.05). D-group was also lower than the D + CAI group (p = 0.01). The MLSI of D-group was lower than the D + CAI group (p = 0.03). For EC-Fo condition, OSI of D-group was lower than H + CAI group (p = 0.01). The APSI of H-group was lower than H + CAI group (p = 0.02). Moreover D-group was statistically significant lower than H + CAI group (p = 0.00) and lower than D + CAI group (p = 0.04). We also found that the value of muscular function was higher in every tests condition in D-group and value of Ga muscular function in D+CAI group was found to be highest. In addition, It was found no differences in the postural stability and percent muscles activation between dominant and non-dominant leg in each group. In conclusion dancers have better postural stability and muscular function than healthy, healthy with chronic ankle instability and dancer with chronic ankle instability respectively. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1220 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | การทรงตัว | - |
dc.subject | ข้อเท้า -- กล้ามเนื้อ | - |
dc.subject | Equilibrium (Physiology) | - |
dc.subject | Ankle -- Muscles | - |
dc.title | การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการทรงท่าและการทำงานของกล้ามเนื้อระหว่างนักลีลาศและผู้มีสุขภาพดีกับภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง | - |
dc.title.alternative | Comparison of postural control and muscular function between dancers and healthy person with chronic ankle instability | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Surasa.K@chula.ac.th,Surasa.chula@gmail.com | - |
dc.email.advisor | warin.kri@mahidol.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.1220 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5978406339.pdf | 4.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.