Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59863
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุวิมล ว่องวาณิช | - |
dc.contributor.advisor | กนิษฐ์ ศรีเคลือบ | - |
dc.contributor.author | วัชรศักดิ์ สุดหล้า | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-14T05:23:01Z | - |
dc.date.available | 2018-09-14T05:23:01Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59863 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | บรรยากาศโรงเรียนทางบวกเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ต้องส่งเสริมให้กับทุกสมาชิกในโรงเรียน การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดบรรยากาศโรงเรียน โดยใช้การศึกษาเอกสารและการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ 2) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างบรรยากาศโรงเรียน สุขภาวะและความยึดมั่นผูกพันกับงานของครู โดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และ 3) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของเครื่องมือส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนในมุมมองของผู้ใช้ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะแรกเป็นการศึกษาเอกสารและการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาเครื่องมือวัดบรรยากาศโรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลเป็นครู นักเรียนและผู้บริหาร จำนวน 18 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุจากตัวอย่างวิจัยที่เป็นครูในโรงเรียนจำนวน 301 คน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน และระยะที่ 3 การพัฒนาเครื่องมือส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนและตรวจสอบความเหมาะสมของเครื่องมือจากมุมมองของผู้ใช้ซึ่งเป็นผู้บริหาร ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. โมเดลการวัดบรรยากาศโรงเรียนประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความปลอดภัย วิชาการ ประชาคมโรงเรียน และสภาพแวดล้อมของสถาบัน เครื่องมือวัดบรรยากาศโรงเรียนเป็นแบบสอบถามมาตรประเมินค่า 5 ระดับ มีความตรงเชิงเนื้อหาจากการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความเที่ยงระหว่าง .679 - .905 และมีความตรงเชิงโครงสร้างจากผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดบรรยากาศโรงเรียนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไค-สแควร์(35, N=220) = 46.519, p = .092, CFI = .990, TLI = .984, RMSEA = .039, SRMR = .053) 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไค-สแควร์(29, N=301) = 39.958, p = .085, CFI = .991, TLI = .986, RMSEA = .035, SRMR = .027) โดยบรรยากาศโรงเรียนมีอิทธิพลทางบวกต่อสุขภาวะและความยึดมั่นผูกพันกับงานของครู และสุขภาวะมีอิทธิพลทางบวกต่อความยึดมั่นผูกพันกับงานของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ บรรยากาศโรงเรียนยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความยึดมั่นผูกพันกับงานผ่านสุขภาวะของครู 3. เครื่องมือส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนเป็นชุดเครื่องมือประกอบด้วย แบบประเมินบรรยากาศโรงเรียนสำหรับครู แบบประเมินการส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนสำหรับผู้บริหาร และคู่มือการส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนซึ่งมีเนื้อหาสาระ 3 ส่วน ได้แก่ 1) ความสำคัญของการวัดและส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียน 2) คำอธิบายการใช้เครื่องมือวัดและส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียน การแปลผลการวัดและการส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียน และ 3) ทางเลือกของแนวทางในการส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียน ชุดเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในมุมมองของผู้ใช้ซึ่งเป็นผู้บริหารโรงเรียน | - |
dc.description.abstractalternative | Positive school climate is significant and necessary to promote for all school members. The purposes of this study were: 1) to develop school climate measurement instrument using documentary study and user experience research; 2) to develop causal relationship model of school climate and teachers’ well-being and work engagement using the structural equation modeling analysis; and 3) to develop and examine the appropriateness of the school climate enhancement instrument based on the users’ perceptions. Research processes were divided into 3 phases. The first phase, documentary study and user experience research were performed with 18 teachers, students, and school administrators. Results were synthesized to develop the school climate measurement instrument. The second phase, questionnaire survey research was conducted to develop the causal relationship model. The sample were 301 teachers in Bangkok and metropolitan using multistage random sampling. The third phase, the results from phase I and II were used to develop the school climate enhancement instrument. The appropriateness of the instrument was examined by school administrators as its users. The research findings were as follows. 1. Measurement model of school climate consisted of 4 dimensions: safety, academic, community, and institutional environment. The school climate measurement instrument was a 5-point rating scale questionnaire. It had content validity as examined by experts. The reliability coefficients ranged between .679 - .905. It also had construct validity as shown by the model fit with the empirical data (Chi-square(35, N=220) = 46.519, p = .092, CFI = .990, TLI = .984, RMSEA = .039, SRMR = .053). 2. The developed causal relationship model of school climate and teachers’ well-being and work engagement fitted the empirical data (Chi-square(29, N=301) = 39.958, p = .085, CFI = .991, TLI = .986, RMSEA = .035, SRMR = .027). School climate had a positive direct effect on teachers’ well-being and work engagement. In turn, teachers’ well-being had a positive direct effect on teachers’ work engagement. Moreover, school climate had an indirect effect on teachers’ work engagement via teachers’ well-being as its mediator. 3. A School climate enhancement toolkit was developed. It included school climate measurement instrument for teachers, school climate enhancement evaluation for school administrators, and school climate enhancement manual which consisted of three parts: 1) the importance of school climate measurement and enhancement, 2) description and use of the instrument, and 3) alternative guidelines for school climate enhancement for school administrators. The developed toolkit was appropriate to be used as evaluated by school administrators. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1289 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ความผูกพันต่อองค์การ | - |
dc.subject | สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน | - |
dc.subject | Organizational commitment | - |
dc.subject | School environment | - |
dc.title | การพัฒนาเครื่องมือวัดและส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนเพื่อสุขภาวะและความยึดมั่นผูกพันกับงานของครู: การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ | - |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT OF SCHOOL CLIMATE MEASUREMENT AND ENHANCEMENT INSTRUMENT FOR TEACHERS' WELL-BEING AND WORK ENGAGEMENT: A USERS EXPERIENCE RESEARCH | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Suwimon.W@Chula.ac.th,wsuwimon@gmail.com,wsuwimon@gmail.com | - |
dc.email.advisor | kanit.s@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.1289 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5983388427.pdf | 20.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.