Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59880
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประภัสสร จันทร์สถิตย์พร-
dc.contributor.authorอวิรุทธ์ ศิริโสภณา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T05:24:18Z-
dc.date.available2018-09-14T05:24:18Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59880-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะและพัฒนาการของตัวละครหญิง ตลอดจนศึกษาการประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงในสังคมไทย ผ่านละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2560 โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยกระบวนการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ตัวบท ผ่านละครโทรทัศน์ 5 เรื่อง ได้แก่ น้ำเซาะทราย เพลิงพระนาง เพลิงบุญ มายา และเมียหลวง ประกอบกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้สร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ผลการวิจัยพบว่า ตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ทั้ง 5 เรื่อง ปรากฏคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ ในระดับการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างสูง อันสอดรับกับบริบทของสังคม เช่น ลักษณะทางกายภาพ การศึกษา อาชีพ พื้นที่ เป็นต้น แต่คุณลักษณะทางจิตวิทยา มีระดับการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ภูมิหลัง ความต้องการ ความขัดแย้ง เป้าหมาย และการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้โครงเรื่องหลักไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดชุดความคิดเกี่ยวกับเรื่องผู้หญิงในลักษณะการตกเป็นรองผู้ชายเช่นเดิมในช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ 1) อุดมคติหญิงไทย 2) บทบาทและหน้าที่ 3) ค่านิยมด้านคู่ครอง ซึ่งมีเพียงบางประเด็นของชุดความคิดที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของตัวละครหญิงในละครเวอร์ชันหลัง เช่น การศึกษา อาชีพ พื้นที่ เป็นต้น การวิจัยครั้งนี้ได้ข้อสรุปว่า พฤติกรรมการชมละครโทรทัศน์แบบเอา “รส” แต่ไม่เอา “เรื่อง” ของผู้ชม ส่งผลให้เกิด “การผลิตซ้ำย้ำความหมายเดิม” โดยมีผู้สร้างสรรค์ละครโทรทัศน์เป็นผู้ประกอบสร้างความหมายเหล่านั้นให้กลายเป็น “ความเป็นจริง” ของสังคมเรื่อยมาตามความต้องการของผู้ชม สิ่งเหล่านี้แสดงถึงการตกอยู่ภายใต้ “อุดมการณ์ปิตาธิปไตย” ในการขับเคลื่อนสังคมต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study 1) characteristics and characters’ development, and 3) meaning construction of women through female characters in Thai remake TV drama between 1987 - 2017. This qualitative research will explore ‘Nam Sor Sai’, ‘Pleung Pra Nang’, ‘Pleung Boon’, ‘Maya’, and ‘Mia Luang’ by using methodologies, like content analysis, textual analysis, and in-depth interview with program directors and media scholars. The result shows that all female characters from five programs unveil highly-varying demographic characteristics from the contexts of the stories, such as physical appearances, educations, professions, and spheres. However, psychological characteristics of those characters seem to have a low level of change. Their backgrounds, needs, conflicts, goal, and change have a high resemblance to one another—resulting in repetitive main plots which reveals long-lasting ideologies of how Thai women are inferior to their male counterparts in the last 30 years. These ideologies are 1) ideal Thai women 2) gender roles 3) value of marriage. Despite being remade in the modern context, the only notable changes are minor as they only altered female characters’ educations, professions, and spheres. In conclusion, this research discovers that audiences’ behaviors and their preference of receiving “emotional stimulus”, rather than the “contents” of the programs, have resulted in reproduction of the same ideologies—in which the program directors are, in fact, the ones that weave those “ideologies” into “reality” to meet the demand from the audience. All of which are what drives this society towards patriarchy until today.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.936-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectสตรีในละคร-
dc.subjectตัวละครและลักษณนิสัย-
dc.subjectละครโทรทัศน์ -- ไทย-
dc.subjectWomen in the theater-
dc.subjectCharacters and characteristics-
dc.subjectTelevision plays -- Thailand-
dc.titleการประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2560-
dc.title.alternativeMEANING CONSTRUCTION OF WOMEN THROUGH FEMALE CHARACTERS IN THAI REMAKE TV DRAMA BETWEEN 1987-2017-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPraputsorn.C@chula.ac.th,prapassornch@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.936-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5984679228.pdf4.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.