Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59912
Title: | RESIDENTIAL ENVIRONMENT IN RELATION TO RESPIRATORY AND ASTHMA SYMPTOMS AMONG PRIMARY SCHOOL CHILDREN IN DIN DAENG DISTRICT BANGKOK THAILAND |
Other Titles: | ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยกับอาการของโรคระบบทางเดินหายใจและโรคหืดในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
Authors: | Nawarat Apichainan |
Advisors: | Nutta Taneepanichskul |
Other author: | Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences |
Advisor's Email: | Nutta.T@chula.ac.th,nutta.taneepanichskul@gmail.com |
Subjects: | Respiratory organs -- Diseases Asthma in children หืดในเด็ก ทางเดินหายใจ -- โรค |
Issue Date: | 2017 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Background: Environmental factors have played important role to children health. Limited studies were focused on residential environments and respiratory symptoms among children living in urban area. Our study sought to 1) estimate prevalence of respiratory and asthma symptoms, and 2) examine the association between children characteristic / residential environments with the symptoms among primary school children in urban area of Bangkok, Thailand. Methods: A cross-sectional study was conducted among 658 primary school children aged 6 to 10 years between April and May 2018. Self-reported questionnaire from child’s parent was used as a measurement tool. Children’s history of respiratory and asthma symptoms within 1 year was modified from International Study of Asthma and Allergies in Childhood (ISAAC). Binary logistic regression models were performed to find the associations. Results: Running nose without cold symptom was the highest reported respiratory and asthma symptom in the past 12 months (52.7%). Living in tenant residence was significantly associated with wheezing or whistling in the chest (asthma) (AOR = 2.362, 95%CI 1.156-4.828). Having garment/clothing shop near residence was significantly associated with shortness of breath (AOR = 1.935, 95%CI 1.060-3.529). Living in cigarette smoke area was significantly associated with dry cough at night (AOR = 1.887, 95%CI 1.075-3.309). Living in incense smoke area was significantly associated with shortness of breath (AOR = 3.767, 95%CI 1.183-11.990). Having doll in bedroom was significantly associated with dry cough at night (AOR = 2.610; 95%CI 1.720-3.959), phlegm (AOR = 2.375; 95%CI 1.618-3.488), shortness of breath (AOR = 2.440; 95%CI 1.164-5.11), and running nose without cold (AOR = 2.265; 95%CI 1.558-3.291) symptoms. Wall dampness near children’s bedroom was significantly associated with shortness of breath (AOR = 3.435; 95%CI 1.297-9.098), and running nose without cold (AOR = 2.331; 95%CI 1.034-5.257). Conclusions: Residential environments including tenant status, garment/clothing shop near residence, cigarette smoke, incense smoke, doll, window, and wall dampness were positive significantly associated with respiratory and asthma symptoms. Further intervention to improve residential environment should be considered to reduce respiratory and asthma symptoms among urban children. |
Other Abstract: | บทนำ: ในปัจจุบันปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามามีบทบาทสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาความสัมพันธ์ดังกล่าวในกลุ่มเด็กวัยเรียนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมืองยังมีไม่มากนัก การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของกลุ่มอาการโรคระบบทางเดินหายใจและโรคหืด และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทั่วไปของเด็ก/สิ่งแวดล้อมบริเวณที่พักอาศัยกับอาการของโรคดังกล่าวในกลุ่มเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมืองของกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วิธีดำเนินงานวิจัย: การศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) ทำการวิจัยในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 658 คน อายุตั้งแต่ 6 ถึง 10 ปี ดำเนินการในช่วงเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2561 โดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนามาจาก International Study of Asthma and Allergies in Childhood (ISAAC) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอาการของโรคระบบทางเดินหายใจและโรคหืดของเด็ก ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งดำเนินการเก็บข้อมูลโดยผู้ปกครองของเด็กเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม และใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิเพื่อหาความสัมพันธ์ ผลการศึกษา: อาการน้ำมูกไหลโดยไม่เป็นหวัด เป็นอาการที่พบมากที่สุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา (52.7%) ส่วนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทั้งบริเวณโดยรอบและภายในที่อยู่อาศัย พบหลายปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (AOR>1) ต่ออาการของโรคระบบทางเดินหายใจและโรคหืด ดังนี้ การอาศัยอยู่ในบ้านเช่ากับอาการหายใจเสียงวี๊ด (AOR = 2.362, 95%CI 1.156-4.828) การมีร้านตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่ใกล้ที่พักอาศัยกับอาการหายใจสั้น (AOR = 1.935, 95%CI 1.060-3.529) การอยู่ในบริเวณที่มีควันบุหรี่กับอาการไอแห้งในเวลากลางคืน (AOR = 1.887, 95%CI 1.075-3.309) การอาศัยอยู่ในบ้านที่มีควันธูปกับอาการหายใจสั้น (AOR = 3.767, 95%CI 1.183-11.990) การมีตุ๊กตาภายในห้องนอนกับอาการไอแห้งในเวลากลางคืน (AOR = 2.610, 95%CI 1.720-3.959) อาการมีเสมหะ (AOR = 2.375, 95%CI 1.618-3.488) อาการหายใจสั้น (AOR = 2.440, 95%CI 1.164-5.11) และอาการน้ำมูกไหลโดยที่ไม่เป็นหวัด (AOR = 2.265, 95%CI 1.558-3.291) รวมถึง กรณีมีความชื้นบริเวณผนังใกล้ห้องนอนของเด็กก็มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญต่ออาการหายใจสั้น (AOR = 3.435, 95%CI 1.297-9.098) และอาการน้ำมูกไหลโดยที่ไม่เป็นหวัด (AOR = 2.331, 95%CI 1.034-5.257) สรุปผลการศึกษา: สิ่งแวดล้อมบริเวณที่พักอาศัย ได้แก่ ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ควันบุหรี่ ควันธูป ตุ๊กตา จำนวนหน้าต่าง และความชื้นบนผนัง รวมถึงการอาศัยอยู่ในบ้านเช่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่ออาการของโรคระบบทางเดินหายใจและโรคหืด การศึกษานี้จึงเสนอว่า หน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องควรเข้าไปดำเนินการ ตลอดจนกำหนดให้มีแนวทางที่ชัดเจนในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมบริเวณที่พักอาศัยทั้งภายในและบริเวณโดยรอบ เพื่อนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการของโรคระบบทางเดินหายใจและโรคหืดในเด็กได้ต่อไป |
Description: | Thesis (M.P.H.)--Chulalongkorn University, 2017 |
Degree Name: | Master of Public Health |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Public Health |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59912 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.485 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.485 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pub Health - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6078821553.pdf | 14.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.