Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59925
Title: บุญ : ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมที่ผลิตโดยวัดพระธรรมกาย
Other Titles: [BUN] ‘MERIT’: THE RELATIONSHIP BETWEEN LANGUAGE AND IDEOLOGY IN DISCOURSES PRODUCED BY WAT PHRA DHAMMAKAYA
Authors: สุนทรี โชติดิลก
Advisors: ณัฐพร พานโพธิ์ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Natthaporn.P@Chula.ac.th,ntp1142@hotmail.com
Subjects: วัดธรรมกาย
วจนะวิเคราะห์
ความดี
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Dhammakaya Temple
Discourse analysis
Virtue
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชุดความคิดเกี่ยวกับ “บุญ” ที่สื่อผ่านกลวิธีทางภาษาในวาทกรรมสื่อที่ผลิตโดยวัดพระธรรมกายตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis CDA) ของแฟร์คลัฟ (Fairclough, 1995) ตามกลุ่มเป้าหมายผู้รับสื่อ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มประชาชนทั่วไป 2) กลุ่มผู้นำบุญ และ 3) กลุ่มเด็กและเยาวชน ผลการวิจัยพบว่า วาทกรรมสื่อสำหรับประชาชนทั่วไปของวัดพระธรรมกายได้ถ่ายทอดอุดมการณ์“บุญ” ผ่านชุดความคิดสำคัญ 3 ชุดความคิด ได้แก่ 1) “บุญ” ของวัดพระธรรมกาย 2) “วิธีการบุญ” ของวัดพระธรรมกาย และ 3) อานิสงส์บุญ” ของวัดพระธรรมกาย ชุดความคิดทั้งหมดกำหนดพฤติกรรมให้ผู้ศรัทธาเลือกทำบุญกับวัดพระธรรมกายด้วยการทำให้เชื่อว่าบุญมีอำนาจในการบันดาลทรัพย์และบันดาลความสุขทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ซึ่งวิธีการทำ “บุญ” ที่ดีที่สุดคือการเลือกทำบุญกับวัดพระธรรมกาย ชุดความคิดทั้งหมดที่วาทกรรมนำเสนอส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการทำบุญ 3 ประการ คือ 1) การทำบุญแบบขวนขวาย 2) การทำบุญแบบทุ่มเท และ 3) การทำบุญแบบสะสมบุญ เพราะเชื่อว่าจะได้อานิสงส์หรือปริมาณบุญมากกว่าการทำบุญอื่น สามารถเห็นผลได้อย่างรวดเร็วในชาตินี้ และส่งผลอย่างแน่นอนในชาติหน้า ผลการศึกษาวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมพบว่า ผู้บริโภคสื่อที่ผลิตโดยวัดพระธรรมกายยินยอมพร้อมใจที่จะปฏิบัติตามความคิดที่ผู้ผลิตวาทกรรมนำเสนอ นอกจากนี้สื่อที่ผลิตโดยวัดพระธรรมกายมีการเผยแพร่ไปยังช่องทางออนไลน์ทำให้กลุ่มผู้ศรัทธาบริโภคสื่อได้สะดวก และสื่อยังแพร่กระจายไปยังผู้ศรัทธารายใหม่ได้ง่ายและกว้างขึ้น ดังนั้นอุดมการณ์ที่นำเสนอจึงน่าจะส่งผลต่อสังคมได้ในวงกว้าง ผลการศึกษาวิถีปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมพบว่า ชุดความคิดเกี่ยวกับ “บุญ” ที่เผยแพร่ผ่านสื่อที่ผลิตโดยวัดพระธรรมกายนั้นมีความสัมพันธ์กับความคิดเรื่อง “บุญ” ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับความคิด และความเชื่อในสังคมไทยหลายประการ อาทิ ความคิดเรื่องบารมี ความคิดเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย และความเชื่อเรื่องความเสื่อสูญของศาสนา ขณะเดียวกันชุดความคิดเกี่ยวกับ “บุญ” ก็อาจส่งผลต่อความคิดความเชื่อของผู้บริโภควาทกรรมในด้านต่างๆ ได้แก่ การสืบทอดความเชื่อเรื่อง “บุญ” ในสังคมไทย การนำเสนอภาพสังคมในอุดมคติแบบพุทธรัฐ การกำหนดแบบอย่างในการปฏิสัมพันธ์และรูปแบบพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในสังคม และการนิยามชีวิตที่มีความสุขด้วย “การแปรสินทรัพย์เป็นบุญ” งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นมุมมองเชิงวิพากษ์ว่า สื่อที่ผลิตโดยวัดพระธรรมกายมิได้เป็นการสอนให้ปุถุชนทำบุญเพื่อสละความโลภตามคำสอนในพุทธศาสนา แต่กลับตอกย้ำให้โลภในการทำบุญและสะสมมากยิ่งขึ้น จนนำไปสู่การทำบุญจนเกินกำลัง วาทกรรมชุดนี้มีส่วนสำคัญในการครอบงำทางความคิด (Hegemony) และกำหนดพฤติกรรมการทำบุญที่พึงประสงค์ตามแนวทางของวัดพระธรรมกายได้
Other Abstract: This research had the primary objective to study the ideology of “merits”, which was conveyed through linguistic devices in the mass media discourse produced by Dhammakaya Temple, on the basis of critical discourse analysis of Fairclough (1995). Data were collected from three targeted groups of recipients: 1) general public; 2) religious believers; and 3) juveniles. According to the results, it was evident that the mass media discourse for the general public of Dhammakaya Temple portrayed the ideology of “merits” through 3 key concepts. 1) “merit” 2) “merit-making” and 3) “advantage of merit”, It was apparent that all of these concepts induced individuals to make merits with Dhammakaya Temple by instilling the belief that merits have the power to lure wealth and happiness to merit-makers in both the present and future lives; whereby the most ideal method of making “merits” was to do so at Dhammakaya Temple. All of the foregoing concepts delineated through the discourse led to three types of merit-making behaviors: 1) merit-making with endeavor; 2) merit-making with dedication; and 3) merit-making in the form of an accumulation of merits with the belief that this method provides better results or higher amount of merits than any other methods, and that the results are promptly visible in the present life and would be absolutely effective in the future life. Regarding the study on discursive practice, the results indicated that the consumers of media produced by Dhammakaya Temple were willing to comply with the ideology presented by the discourse producer. In addition, the mass media discourse produced by Dhammakaya Temple was publicized through online channels, which facilitated the consumption of media by existing believers and were able to reach new believers more easily and broadly. As such, the proposed ideology would certainly affect the society to a broad extent. With respect to the results of the study on sociocultural practice, it was found that there was a relationship between the ideology of “merits” conveyed through the media produced by Dhammakaya Temple and the ideology of “merits” in the Tripitaka and exegesis. Likewise, such ideology was related to multiple concepts and beliefs in the Thai society, such as the concept of prestige, the concept of the role of monks, the belief in the afterlife, and the belief in the decline of religion. Meanwhile, the ideology of “merits” may influence the belief of the consumers of discourse in various aspects, including the inheritance of the belief in “merits” in the Thai society, the presentation of an ideal social image in the context of Buddhism, the determination of a paradigm of interactions and desirable behaviors in the society, and the definition of a happy life on the basis of the “conversion of assets to merits”. This research provided an insight into a critical perspective, specifically the idea that the mass media discourse produced by Dhammakaya Temple did not enlighten ordinary people to make merits for the purpose of forsaking greed according to the Buddhist doctrines. Rather, it induced people to covetously make and accumulate merits, which subsequently led to an immoderate merit-making that exceeded one’s own affordability. Indeed, this mass media discourse significantly contributed to the hegemony of people’s thoughts and induced merit-making behaviors that were in favor of Dhammakaya Temple.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59925
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1156
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1156
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5580517122.pdf8.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.