Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59929
Title: ระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานและการเรียนรู้ส่วนบุคคลเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู
Other Titles: ELECTRONIC PERFORMANCE AND PERSONAL LEARNING SUPPORT SYSTEM TO ENHANCING COMPETENCY FOR TEACHER PROFESSIONAL
Authors: ชยการ คีรีรัตน์
Advisors: ใจทิพย์ ณ สงขลา
ศิริเดช สุชีวะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jaitip.N@Chula.ac.th,jaitipn@gmail.com,Jaitip.n@chula.ac.th
Siridej.S@Chula.ac.th,sujiva.siridej@gmail.com
Subjects: ครู -- การฝึกอบรมในงาน
การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Teachers -- In-service training
Self-managed learning
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานและการเรียนรู้ส่วนบุคคลเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู 2) ศึกษาผลการใช้งานระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคล เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการออกแบบการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ โดยการทดลองกับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ วิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา และวิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและ สื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพใน 13 โรงเรียน จำนวน 29 คน ระยะเวลาในการทดลอง 1 ภาคเรียน เป็นภาคเรียนต้น ปีการศึกษา 2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วยการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของระบบฯ ประกอบด้วย 1) ทรัพยากรพื้นฐาน 2) บุคลากรผู้เกี่ยวข้อง 3) แบบจำลองสมรรถนะ 4) ทรัพยากรด้านเทคโนโลยี และ 5) ผลลัพธ์การเรียนรู้ 2. กระบวนการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1) กระบวนของระบบ และ 2) กระบวนการเรียนรู้ในระบบ 3. การประเมินทักษะและสมรรถนะการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในภาพรวม ผลการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติทดสอบที พบว่านิสิตมีค่าเฉลี่ยคะแนนความคาดหวังหลังการสอน (Mean = 3.32) สูงกว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนปฏิบัติการสอน (Mean = 2.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยคะแนนหลังปฏิบัติการสอน (Mean = 3.18) สูงกว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนปฏิบัติการสอน (Mean = 2.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความคาดหวัง และคะแนนหลังปฏิบัติการสอน พบว่านิสิต มีคะแนนเฉลี่ยความคาดหวัง (Mean = 3.32) และค่าเฉลี่ยคะแนนหลังปฏิบัติการสอน (Mean = 3.18) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การประเมินทักษะและสมรรถนะการปฏิบัติการสอนในสาขาวิชาเฉพาะในภาพรวม ผลการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติทดสอบที พบว่านิสิตมีค่าเฉลี่ยคะแนนความคาดหวัง (Mean = 3.38) สูงกว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนปฏิบัติการสอน (Mean = 2.69) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยคะแนนหลังปฏิบัติการสอน (Mean = 3.41) สูงกว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนปฏิบัติการสอน (Mean = 2.69) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความคาดหวัง และคะแนนหลังปฏิบัติการสอน พบว่านิสิตมีคะแนนเฉลี่ยความคาดหวัง (Mean = 3.38) และค่าเฉลี่ยคะแนนหลังปฏิบัติการสอน (Mean = 3.41) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research were 1) to develop an electronic performance and personal learning support system to enhancing competency for teacher professional; 2) to study the effects of the electronic performance and personal learning support system to enhancing competency for teacher professional to develop teacher performance in design the learning management and learning management. Experiment with preservice teachers Major in Computer Studies and major in education technology; Department of Educational Technology and Communications Faculty of Education, Chulalongkorn University. There were 29 students in the 13 experimental schools. The duration was the first semester of the academic year 2559. The data were analyzed by means, standard deviation and t-test. Findings are revealed as follows; 1. The system composed of 5 components: 1) basic resources 2) personnel involved 3) competency model 4) technology resources and 5) learning outcomes. 2. The process consists of 1) the process of the system and 2) the learning process in the system. 3. The assessment of skills and competencies of teaching practice in schools as a whole. Results of the hypothesis test. It was found that the mean score of average expectation score 3.32 (Mean = 3.32) was higher than the pre-instructional mean score of 2.32 (Mean = 2.32) at the .05 level of significance. After the teaching, the post-instructional mean score 3.18 (Mean = 3.18) was higher than the pre-instructional mean score of 2.32 (Mean = 2.32) at the .05 level of significance. While the mean scores of average expectations score 3.32 (Mean = 3.32) and the post-instructional mean score 3.18 (Mean = 3.18) were not significantly different at .05 level. 4. The assessment of skills and competencies in instructional activities in specific subjects in general. Results of the hypothesis test. It was found that the mean score of average expectation score 3.38 (Mean = 3.38) was higher than the pre-instructional mean score of 2.69 (Mean = 2.69) at the .05 level. After the teaching, the post-instructional mean score 3.41 (Mean = 3.41) was higher than the pre-instructional mean score of 2.69 (Mean = 2.69) at the .05 level of significance. While the mean scores of average expectations score 3.38 (Mean = 3.38) and the post-instructional mean score 3.41 (Mean = 3.41) were not significantly different at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59929
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.601
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.601
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584237127.pdf14.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.