Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5993
Title: การพัฒนาแบบประเมินทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
Other Titles: A development of the reading, analytic thinking, writing skills assessment instrument for primary school students
Authors: อัญญารัตน์ เจริญพฤฒินาถ
Advisors: เอมอร จังศิริพรปกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Aimorn.J@Chula.ac.th
Subjects: ทักษะการเรียน -- การประเมิน
การอ่าน
ความคิดและการคิด
การเขียน
การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา)
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สร้างและพัฒนาแบบประเมินทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยใช้แนวคิดในการประเมินทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนมาเป็นกรอบแนวคิด แล้วสนทนากลุ่ม กลุ่มครู นักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อสร้างตัวบ่งชี้และเกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 3, 065 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนและนำข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมินในด้านความตรงและความเที่ยง พร้อมทั้งสร้างกรอบในการแปลความหมายของคะแนน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบประเมินทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน มี 10 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การประเมินทักษะการอ่าน ตัวบ่งชี้ คือ ความคล่องในการอ่าน ความเข้าใจในการอ่าน วิธีการอ่านสาร การประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ ตัวบ่งชี้ คือ วิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ วิเคราะห์หลักการ การประเมินทักษะการเขียน ตัวบ่งชี้ คือ เนื้อเรื่อง ลำดับเรื่อง ไวยากรณ์ กลไกการเขียน 2. คุณภาพของแบบประเมินทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน พบว่า 2.1. แบบประเมินทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน มีความตรงเชิงเนื้อหา ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างตัวบ่งชี้กับทักษะที่ประเมิน และระหว่างเกณฑ์การให้คะแนนกับตัวบ่งชี้มีค่าเท่ากับ 0.83-1.00 มีความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ ที่ได้จากการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากการประเมินทั้ง 3 ทักษะกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มีความตรงเชิงจำแนก จากการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของนักเรียน ที่มีทักษะทางการเรียนสูงและต่ำ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ มีความตรงเชิงโครงสร้างที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน 2.2. แบบประเมินทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนมีความเที่ยงแบบความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และมีความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .820-.946 3.การสร้างกรอบในการแปลความหมายของคะแนนแบบอิงเกณฑ์ กำหนดคะแนนจุดตัดด้วยทฤษฎีการตัดสินใจพบว่า ทั้ง 3 ระดับชั้นมีคะแนนจุดตัดทุกตัวบ่งชี้ที่ เกณฑ์ 2 ยกเว้นในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตัวบ่งชี้ทักษะความคล่องในการอ่านและเนื้อเรื่องในงานเขียนมีจุดตัดคะแนนที่ เกณฑ์ 3 ส่วนการสร้างกรอบในการแปลความหมายคะแนนแบบอิงกลุ่ม โดยใช้เปอร์เซ็นไทล์ คะแนนมาตรฐาน ที และการให้เกรด
Other Abstract: To construct and develop reading, analytic thinking, writing skills assessment instrument for primary school students at grade 4-6. The conceptual framework of instrument was derived focus group, which compose of teacher, student and parent group for constructs indicator and analytic rubric scoring. Validity and reliability of the instrument tell its qualities. The frame of reference is cut score and norm. The results were as follow 1. This instrument was composed of 3 factors which compose of 10 indicators. Reading skill factor have 3 indicators (fluent, comprehensive, strategy). Analytical thinking skill factor have 3 indicators (element, relationship, organizational principle).Writing skill factor have 4 indicators (content, organization, grammar, mechanice). 2. Validity and reliability of instrument were as follow: 2.1 The content validity was confirmed by the index of consistency. The IOC ranged from 0.83 to 1.00. The criterion-related validity using Pearson Product Moment Correlation Coefficient between GPA and score of reading-analytical thinking-writing was significantly correlation at .01 level. The discriminant validity using t-test to test the differences between mean of the high and low study skill students was significantly differences at .01 level. The Construct validity was proved by confirmatory factor analysis. 2.2 The inter-rater reliability using Pearson Product Moment Correlation Coefficient to test correlation of teachers was significantly correlation .01 level.The cronbach{174}s alpha reliability coefficient of instrument was .820-0946 3. Criterion reference using cut score from Decision-Theoretic Approach was as follow: All three different class and indicators have the same value of cut score that is at 2. However,Grade 6 students have an ability of fluent and content of writing at 3.For the norm reference ,percentide norm,standard T score and grading are used.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5993
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.495
ISBN: 9741756941
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.495
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Unyarat.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.