Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorตรีศิลป์ บุญขจร-
dc.contributor.authorวรมาศ ยวงตระกูล, 2522--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-05-26T10:07:11Z-
dc.date.available2006-05-26T10:07:11Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745322954-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59-
dc.descriptionวิทยานิพธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractศึกษาแนวคิดและกระบวนการสร้างวาทกรรมสงครามและสันติภาพในกวีนิพนธ์สงคราม จากสงคราม 5 ครั้ง ได้แก่ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเวียดนาม สงครามแบ่งแยกดินแดนคาบสมุทรบอลข่าน และเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน ค.ศ. 2001 จากการศึกษากวีนิพนธ์สงครามจำนวนทั้งสิ้น 83 บท พบว่า กวีนิพนธ์สงครามยุคใหม่นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสงครามสองประการคือ แนวคิดสนับสนุนสงครามและแนวคิดต่อต้านสงคราม แนวคิดสนับสนุนสงครามเป็นวาทกรรมดั้งเดิมของกวีนิพนธ์สงคราม ที่ยอมรับและสนับสนุนความชอบธรรมในการทำสงคราม โดยนำเสนอว่าสงครามเป็นส่วนหนึ่งของวิถีแห่งความเป็นมนุษย์ เป็นกิจกรรมที่กำหนดโดยพระเจ้าและเชื่อว่า สงครามจะสามารถทำให้คนธรรมดากลายเป็นวีรบุรุษได้ ทั้งนี้แนวคิดแบ่งแยกแบบคู่ปรปักษ์กระตุ้นให้เกิดความเชื่อว่า มนุษย์จะสามารถบรรลุถึงสภาวะแห่งสันติภาพได้ด้วยการทำสงคราม แนวคิดต่อต้านสงครามเป็นวาทกรรมหลักของกวีนิพนธ์สงครามยุคใหม่ ซึ่งปฏิเสธความชอบธรรมในการทำสงคราม โดยนำเสนอผลกระทบของสงครามที่มีต่อมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ วาทกรรมต่อต้านสงครรามสะท้อนทัศนคติในแง่ลบ ที่มนุษย์มีต่อหายนะอันเกิดจากสงครามเบ็ดเสร็จ ซึ่งไม่จำกัดขอบเขตและกลุ่มเป้าหมายในการทำลายล้าง และโต้แย้งแนวคิด "สงครามเพื่อยุติสงคราม" ทั้งนี้กวีนิพนธ์ที่ต่อต้านสงครามแนะว่า การตระหนักถึงผลกระทบอันน่ากลัวของสงคราม จะทำให้มนุษยชาติยุติการสู้รบและอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ-
dc.description.abstractalternativeTo study the principles and procedures employed to construct discourses on war and peace in war poetry from 5 instances of war, the First World War, the Second World War, the Vietnam War, the Balkan War, and the terrorist attack of September 11, 2001. By studying 83 pieces of poetry, the researcher has come to the conclusion that war poetry is based upon two major concepts; those of Pro-war and Anti-war sentiment. The pro-war concept is the primary discourse in war poetry reflecting the attitudes that the instigation of war is a fundamental human right. War is commonly portrayed as an activity deigned by God. It is seen as being a means whereby the common man could achieve the status of a hero, and is furthermore applauded the notion that good conquering adversity is a path towards sustained peace. The anti-war ideal is highlighted in the poetry of the modern era, which refutes the previously held ideal that it is an inherent human right to conduct war, by illustrating the negative physical and mental effects of wars. The anti-war discourse reflects modern standpoint that war has disastrous, not constructive, effects upon humanity and the total war serves only to destroy frontiers and people. The concept further argues against the notion of, "a war to end all wars". In contrast, the anti-war works suggest that peace may be ultimately achieved through humanities common revulsion over the unforgettable destructive effects of war.en
dc.format.extent2529902 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1026-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกวีนิพนธ์สงครามen
dc.subjectสงครามในวรรณกรรมen
dc.subjectสันติภาพในวรรณกรรมen
dc.titleวาทกรรมสงครามและสันติภาพในกวีนิพนธ์สงครามen
dc.title.alternativeDiscourses on war and peace in war poetryen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวรรณคดีเปรียบเทียบen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTrisilpa.B@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.1026-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Woramas.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.