Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60004
Title: | การดัดแปลงพงศาวดารจีนฉบับแปลไทยเป็นบทละครรำของหลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) |
Other Titles: | ADAPTATION OF CHINESE CHRONICLES IN THAI TRANSLATIONS TO THE TEXTS OF THAI CLASSICAL DRAMA BY LUANG PHATTHANAPHONGPHAKDI(THIM SUKKHAYANG) |
Authors: | ปาริฉัตร พิมล |
Advisors: | ธานีรัตน์ จัตุทะศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Thaneerat.J@Chula.ac.th,Thaneerat.J@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษากลวิธีการดัดแปลงพงศาวดารจีนฉบับแปลไทยเป็นบทละครรำของหลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ บทละครเรื่องกวางเผง บทละครเรื่องซุยถัง บทละครเรื่องไต้ฮั่น บทละครเรื่อง บ้วนฮวยเหลา บทละครเรื่องสามก๊ก และบทละครเรื่องห้องสิน และศึกษาคุณค่าของบทละครรำดังกล่าวในฐานะวรรณคดีการแสดง ผลการศึกษาพบว่าพงศาวดารจีนฉบับแปลไทยที่หลวงพัฒนพงศ์ภักดีนำมาแต่งเป็นบทละครรำกลุ่มนี้มีทั้งเรื่องที่ได้รับความนิยมมาช้านานและเรื่องใหม่ ๆ ที่เริ่มเป็นที่รู้จักของคนในสังคมสมัยนั้น โดยตอนที่นำมาแต่งพบว่าเป็นตอนที่มีปมขัดแย้งจำนวนมาก มีอนุภาคสนุกสนาน และมีอนุภาคคล้ายคลึงกับอนุภาคในวรรณคดีไทย ในการนำพงศาวดารจีนฉบับแปลไทยมาแต่งเป็นบทละครรำดังกล่าวพบว่ากวีใช้กลวิธีการดัดแปลงทั้งหมด 4 ด้าน ประกอบด้วย การดัดแปลงด้านรูปแบบ ได้แก่ การดัดแปลงสำนวนร้อยแก้วเป็นกลอนบทละครที่มีการบรรจุเพลงร้องและเพลงหน้าพาทย์รวมทั้งกำหนดช่วงที่จะให้เจรจา การดัดแปลงด้านเนื้อหา ได้แก่ การเลือกแต่งเฉพาะตอน การตัดรายละเอียดบางส่วน และการสลับความ การดัดแปลงด้านตัวละคร ได้แก่ การรักษาตัวละครหลักและตัดตัวละครประกอบ การรวมบทบาทของตัวละคร และการสร้างตัวละครให้มีชีวิตชีวา การดัดแปลงด้านกลวิธีการนำเสนอ ได้แก่ การดำเนินเรื่องด้วยบทพรรณนาตามขนบ และการผสมผสานวัฒนธรรมจีนในบทละคร กลวิธีดังกล่าวทำให้บทละครรำกลุ่มนี้มีคุณค่าในฐานะวรรณคดีการแสดง ประกอบด้วยคุณค่าด้านวรรณคดีและคุณค่าด้านการแสดง คุณค่าด้านวรรณคดี ได้แก่ คุณค่าด้านวรรณศิลป์ เช่น ความไพเราะทั้งในระดับเสียง ระดับคำ และระดับความหมาย และคุณค่าด้านเนื้อหาที่ให้ความรู้และแง่คิดแก่ผู้ชม ส่วนคุณค่าด้านการแสดง บทละครรำกลุ่มนี้แสดงให้เห็นการผสมผสานจารีตกระบวนแสดงแบบเดิมกับแบบใหม่อย่างเหมาะสม จารีตกระบวนแสดงแบบเดิม ได้แก่ การประกอบด้วยการร้อง การรำ และการเจรจาตามขนบ การกำกับเพลงร้องและเพลงหน้าพาทย์ไทย และการแสดงให้เห็นกระบวนรำตามขนบ ส่วนจารีตกระบวนแสดงแบบใหม่ ได้แก่ การเล่นเรื่องที่มาจากพงศาวดารจีน การแสดงลักษณะการออกภาษาจีนในการแสดง และการแสดงให้เห็นกระบวนรำที่ต่างไปจากขนบเดิม การผสมผสานดังกล่าวทำให้บทละครรำกลุ่มนี้ให้รสทางการแสดงแบบละครรำแต่เดิม ขณะเดียวกันก็มีความแปลกใหม่ที่ต่างไปจากละครรำตามขนบด้วย นอกจากนี้ บทละครรำกลุ่มนี้ยังมีองค์ประกอบพร้อมสำหรับนำไปใช้แสดงได้ ได้แก่ มีเนื้อเรื่องสนุกสนาน มีการดำเนินเรื่องที่ทั้งกระชับและเอื้อต่อการแสดงกระบวนรำ มีการบรรจุเพลงร้องและเพลงหน้าพาทย์ไว้พร้อม มีการกำหนดช่วงเจรจาในบทละคร และมีการใช้ภาษาที่เหมาะกับการแสดง บทละครรำกลุ่มนี้นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของบทละครรำในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการแสดงในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีลักษณะของการผสมผสานความเป็นไทยกับความเป็นต่างชาติอย่างลงตัวและเป็นต้นเค้าของรูปแบบการแสดงที่ภายหลังเรียกว่าละครพันทาง |
Other Abstract: | This thesis was aimed to study the adaptation method of Chinese chronicles into 6 Thai classical dramas by Luang Phatthanaphongphakdi (Thim Sukkhayang); Guang Pheng, Sui Thang, Tai Hun, Buan Huai Lao, Sam Kok, and Hong Sin, as well as to study the value of such drama in terms of theatrical drama. The result of study found that Chinese chronicles translated into Thai on which Luang Phatthanaphongphakdi had based his Thai classical dramas. From generations through generations, this drama genre has been received the popularity, while the recent ones were also gained recognition from the society in that time. However, the result also found that there were numerous conflicts involved in the derived act of such drama where the elements of joy were stored and were similar to the elements in Thai traditional literature. In the adaptation of Chinese chronicles into Thai classical dramas, the author used 4 methods consisting of 1) the adaptation of pattern; the adaptation on shifting of prose into poetic drama with musical and Na Phat performances including the arranged dialogue point, 2) the adaptation of contents; the composing of only targeted part, the elimination of a few details, and the twist of content, 3) the adaptation of characters; the keeping of main characters and the elimination of supportive characters, joint roles of characters, and enhancing of characters, and 4) the adaptation of presentation; proceeding the story with traditional method and comprising Chinese culture into the drama. The abovementioned methods have driven this drama genre’s value in terms of literary value and performing value to be recognized. Furthermore, the literary value are consisted of artistic language such as the melody in terms of vocal level, verbal level, definition level, as well as the value in contents which will provide knowledge and point of view to the audiences. On the performing value, this drama genre showed the splendid combination between traditional and modern performance. The traditional performance was comprised singing, traditional dancing, and traditional dialogue according to the directing of traditional musical and Na Phat performances, and the showing of traditional dancing gestures, while the modern performance was consisted of Chinese chronicles-derived performance, the gesture of Chinese language pronunciation in the performance, and the showing of shifting dancing gestures from their traditional gestures. Such combination has given this drama genre a sense of traditional dancing performance, while there was also the novelty which differentiated the dancing performance in the drama from its traditional style. Hence, this drama genre also consisted of equipped elements for the performance which including enjoyable contents, precise and appropriate continuity, melodious musical and Na Phat performance, arranged dialogue point, and appropriate language use. This drama genre is considered as an example of dramatic drama in the reign of King Rama V when there were changes in the performance style where Thai and foreign culture were sensationally combined and was the original performance style that was later called “Lakhon Phanthang” |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60004 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1151 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1151 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5780147822.pdf | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.