Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60015
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฉันทนา หวันแก้ว-
dc.contributor.authorซารีฮาน สุหลง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T06:04:54Z-
dc.date.available2018-09-14T06:04:54Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60015-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการแปลงเปลี่ยน (Transformation) สถานภาพของผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จากผู้สูญเสียมาสู่ นักกิจกรรมสังคม และระบุเงื่อนไขที่ที่เอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้หญิงที่เป็นนักกิจกรรมและเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียสมาชิกในครอบครัวหรือสมาชิกในครอบครัวถูกดำเนินคดีความมั่นคงในพื้นที่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงนักกิจกรรมได้ปรับเปลี่ยนตัวเองในระดับทัศนคติ พฤติกรรม และ วิถีชีวิต อันได้แก่การค้นพบศักยภาพของตัวเอง ทัศนคติต่อผู้อื่น และ การหันมาทำงานเพื่อสังคมมากขึ้นขณะที่ยังมีภาระดูแลครอบครัว เงื่อนไขสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ส่วนหนึ่งมาจากการทำงานร่วมกันกับเครือข่ายทางสังคมในกระบวนการเยียวยา ที่ทำให้เกิดการช่วยเหลือกัน การรับฟังปัญหาของผู้อื่น และการเรียนรู้ประสบการณ์เพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้องเผชิญร่วมกัน เครือข่ายกิจกรรมเป็นทุนทางสังคมที่เอื้อให้ผู้หญิงผู้สูญเสียทำงานเพื่อส่วนรวมได้ (public sphere) ส่วนทุนทางสังคมดังเดิมอันได้แก่ ครอบครัวและเครือญาติช่วยประคับประคองชีวิตส่วนตัวและครอบครัว (private sphere) นอกจากนั้นผู้หญิงผู้สูญเสียสามารถแสดงบทบาททางสังคมได้มากน้อยแตกต่างกัน ผู้หญิงส่วนหนึ่งก้าวไปสู่การสร้างพื้นที่สันติภาพ ขณะที่ส่วนหนึ่งทำงานเพื่อสร้างโอกาสการดำรงชีพ ทั้งนี้ยังมีปัจจัยเนื่องมาจากการมีทุนมนุษย์หรือศักยภาพและประสบการณ์ส่วนบุคคลไม่เท่ากันด้วย-
dc.description.abstractalternativeThis study aims to explain the transformation of woman in the three southern border provinces from victims of violence by which family members were killed or prosecuted, to social activists; and to identify certain conditions of such transformation. Woman activists in Pattani, Yala and Narathiwat whose family affected by violence were interviewed. The results show that women activists have transformed themselves at the level of attitudes, behaviors and life pattern. They have discovered their own potential, changed attitude towards others and worked for the community while still caring for the families. The becoming of social activists is attributed to the fact that the women were linked to social networks in the healing process in which they worked together, helped one another, listened to the others, learned from collective experiences. The social network of activism serves as social capital allowing the women to be able to work in the public sphere. Traditional social capital including family and kinship helps secure the private sphere of personal and family life. In addition, woman-turn-activists exerts their public roles differently, varied from simply securing livelihood to engaging in peace building. This is due to uneven human capital of personal capability and past experiences of each individual woman activist.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.678-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการแปลงเปลี่ยนสถานภาพจากผู้สูญเสียไปสู่นักกิจกรรมสังคมของผู้หญิงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้-
dc.title.alternativeThe Transformation from Victims to Social Activists of Women in the Three Southern Boarder Provinces-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการเมืองและการจัดการปกครอง-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorChantana.b@Chula.ac.th,wchantana@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.678-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5781025024.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.