Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60022
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุดมลักษณ์ กุลพิจิตร-
dc.contributor.authorพนิตกานต์ อรรถสุขวัฒนา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T06:05:03Z-
dc.date.available2018-09-14T06:05:03Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60022-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ วิเคราะห์แนวปฏิบัติของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาลใน 2 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ และ การสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก ครอบครัว และชุมชน ตัวอย่าง ได้แก่ ครูอนุบาลที่สอนเด็กวัย 3 ปี จำนวน 315 คน จากจำนวน 3 สังกัด ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1) การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ พบว่า ในด้านการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนอนุบาลมีนโยบายการวางแผนกิจกรรมหรือจัดหลักสูตรในประเด็นการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เด็กปรับตัวมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.7 มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจนในการจัดการเรียนรู้โดยมีแผนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมรอยเชื่อมต่อตลอดปีการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 58.6 ครูอนุบาลเปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมอย่างเหมาะสมตามเวลา คิดเป็นร้อยละ 87.6 และใช้การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้โดยศึกษาเด็กเป็นรายบุคคลด้วยวิธีการสังเกตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.9 ในด้านการเสริมสร้างทักษะการปรับตัว ครูอนุบาลสร้างทัศนคติที่ดีต่อการมาโรงเรียน โดยจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและคล้ายบ้านมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 75.2 ครูอนุบาลจัดกิจกรรมส่งเสริมความพร้อม โดยส่งเสริมให้เด็กมีอิสระในการทำกิจกรรมผ่านการเล่น คิดเป็นร้อยละ 87 โดยส่งเสริมความพร้อมด้านร่างกายในเรื่อง การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.5 ด้านอารมณ์และสังคม ในเรื่องการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการทำกิจกรรมต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 91.2 ด้านสติปัญญา ในเรื่องการจัดกิจกรรมให้เด็กได้สังเกตและสำรวจสิ่งต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 91.2 ด้านภาษาในเรื่องการพูดและการสื่อสารผ่านการเล่านิทาน คิดเป็นร้อยละ 91.9 และในด้านการจัดสภาพแวดล้อมทำให้เด็กมีส่วนร่วมและสนใจ ครูอนุบาลจัดสภาพแวดล้อมและเตรียมอุปกรณ์เพื่อให้เด็กช่วยเหลือตนเองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 83.4 2) การสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก ครอบครัวและชุมชน พบว่า ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก ครูอนุบาลสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงและสร้างความคุ้นเคยกับเด็กเป็นรายบุคคล คิดเป็นร้อยละ 86.6 ในประเด็นการรับมือกับความรู้สึกแยกจากของเด็ก ครูอนุบาลใช้การรับมือกับเด็กเป็นรายบุคคล คิดเป็นร้อยละ 84 ส่วนในประเด็นการสื่อสารที่หลากหลายร่วมกันในทางบวก ครูอนุบาลใช้การสนทนารายกลุ่มในการพูดคุยสื่อสารกับเด็กมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 77.2 และในด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับครอบครัวเด็ก ครูอนุบาลใช้การประชุมผู้ปกครองในการแลกเปลี่ยนและส่งต่อข้อมูลเด็กมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 86.6 การสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างครูกับผู้ปกครองใช้การพูดคุย คิดเป็นร้อยละ 89.3 ส่วนการจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม ครูอนุบาลเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 71.3 และในด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับชุมชน ครูอนุบาลจัดกิจกรรมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยให้เข้ามาเป็นวิทยากรในการเชื่อมต่อเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 73-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study an analysis of teacher practices in building transition from home to preschool in 2 aspects: 1) Regarding promoting children‘s development and learning and 2) Regarding the relationship between children, families and communities. The samples were 315 kindergarten teachers who taught 3 year old children in schools under 3 offices such as Office of the Basic Education Commission, Office of the Higher Education Commission and Office of the Private Education Commission. Research tools were questionnaires interviews and content analysis . Data were analyzed by frequency and percentage. The results of these analyses were as follows: 1) Regarding promoting development and learning found that in the field of learning management. Kindergartens have a policy to plan activities or to set up a curriculum on environmentally-friendly issues. 70.7% had a clear timetable for learning management, with an activity plan to promote links throughout the academic year. 58.6% of preschool teachers give children the opportunity to do activities in a timely manner. 87.6% used the evaluation of development and learning by studying individual children with the most observation method. 87.9% of the adaptive capacity building kindergarten teacher creates a positive attitude towards school. The environment is as safe and homely as possible. 75.2 percent of preschool teachers organized activities to promote their readiness. Encourage children to be free to do activities through play. 87% of the patients were physically fit.The use of small muscles. 91.5% were emotional and social. In practice, 91.2% of children are aware of their activities. 91.2% spoke in language and communication through storytelling. 91.9% and in terms of environment, children are involved and interested. Kindergarten teacher arranges the environment and prepares the equipment for the children to help themselves most. accounted for 83.4% 2) Regarding creating relationships with children. Family and community found that in the relationship between teachers and children. Kindergarten teachers establish a stable and familiar relationship with the children individually. 86.6% of the respondents were concerned about their feelings of separation. Kindergarten teachers use individual coping. 84% of the communication issues are positive. Kindergarten teachers use group conversations to talk to their children most. 77.2% and the relationship between teachers and children. Kindergarten teachers use parenting conferences to exchange and forward most child information. 86.6% of the teachers agreed with the parents. 89.3% of parents participated in activities. Kindergarten teachers give parents the opportunity to express their opinions on learning activities. 71.3% and the relationship between teachers and community. Kindergarten teachers organize activities for the community to participate as a guest speaker in the connection. accounted for 73 percent.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.778-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการวิเคราะห์แนวปฏิบัติของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาล-
dc.title.alternativeAN ANALYSIS OF TEACHER PRACTICES IN BUILDING TRANSITION FROM HOME TO PRESCHOOL-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการศึกษาปฐมวัย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorUdomluck.K@Chula.ac.th,Udomluck.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.778-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783342327.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.