Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60031
Title: การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา
Other Titles: FACTORS ANALYSIS AND INDICATORS OF SECONDARY SCIENCE TEACHER COMPETENCY
Authors: ภัณฑิรา ดวงจินดา
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Siridej.S@Chula.ac.th,sujiva.siridej@gmail.com,Siridej.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา เป็นงานวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์องค์ประกอบและพัฒนาตัวชี้วัดในการวัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ 2. ตรวจสอบคุณภาพตัวชี้วัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในเขตกรุงเทพ จำนวน 468 คนที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และจำนวน 658 คนที่ใช้เพื่อในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ คือแบบวัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ประกอบไปด้วย 3 ตอน คือ ข้อมูลพื้นฐานของครูวิทยาศาสตร์ผู้ตอบ แบบวัดความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 15 ข้อคำถาม และแบบวัดสมรรถภาพของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 53 ข้อ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for windows ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน คือแบบวัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ประกอบไปด้วย 3 ตอน คือ ข้อมูลพื้นฐานของครูวิทยาศาสตร์ผู้ตอบ แบบวัดความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 10 ข้อคำถาม และแบบวัดสมรรถภาพของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 26 ข้อ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Lisrel version 8.80 ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) สมรรถภาพด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน 2) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM) 3) สมรรถภาพด้านการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 4) สมรรถภาพด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา และ 5) สมรรถภาพด้านบุคลิกลักษณะความเป็นครู (2) การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาทุกด้านมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ของแต่ละโมเดลพบว่ามีค่าน้อยกว่า 2.00 คือมีค่าตั้งแต่ 0.00 – 1.12 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ของแต่ละโมเดลมีค่ามากกว่า 0.95 คือมีค่าอยู่ระหว่าง 0.99 – 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) ของแต่ละโมเดลมีค่ามากกว่า 0.95 คือมีค่าอยู่ระหว่าง 0.98 – 1.00 ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือ (RMR) มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ คือมีค่าตั้งแต่ 0.00 – 0.013 และค่าค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของเศษเหลือมาตรฐาน (RMSEA) มีค่าน้อยกว่า 0.05 คือมีค่าระหว่าง 0.00-0.013 และเมื่อเปรียบเทียบโมเดลทั้งหมด พบว่าโมเดลการสื่อสารและการใช้ภาษาสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากที่สุด (Chi-square = 0.00, df = 0, Relative Chi-Square = 0.00, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, RMR = 0.00, RMSEA = 0.00)
Other Abstract: A study on the factors analysis and indicators of secondary science teacher competency is a descriptive research. The purposes of this research were 1. to study the components and indicators of competencies of secondary science teachers and, 2. to validate the indicators of competencies of secondary science teachers. The sample was the 468 of secondary science teachers in the secondary schools under Basic Education Commission in Bangkok for analyzing Exploratory Factor Analysis and 658 of secondary science teachers for analyzing Confirmatory Factor Analysis. Instrumentation for analyzing Exploratory Factor Analysis consists of 3 parts; 1) Science teacher’s basic data 2) Science knowledge of measurement by 15 items 3) Science teacher competency of measurement by 53 items. The SPSS programs were used for data analyzing. Instrumentation for analyzing Confirmatory Factor Analysis consists of 3 parts; 1) Science teacher’s basic data 2) Science knowledge of measurement by 10 3) Science teacher competency of measurement by 26 items. The Lisrel version 8.80 programs were used in analyzing the data. Results were as follows: (1) Secondary science teacher competency consisted of 5 factors: 1) Student-centered science learning management and relate to family and community 2) Ability to manage learning in STEM education 3) Developing learner into 21st century learner 4) Communication and language 5) Teacher characteristic (2) The result showed the confirmatory factor analysis with reasonable criteria for evaluating the fitness of measurement model. All model fit statistics fell within acceptable range, which indicated that the measurement model fit was reasonable. Consider from Relative Chi-Square less than 2.00, GFI > 0.95, AGFI > 0.95, RMR almost equal 0.00 and RMSEA < 0.05 so Communication and language is the most fit. (Chi-square = 0.00, df = 0, Relative Chi-Square = 0.00, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, RMR = 0.00, RMSEA = 0.00)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60031
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.729
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.729
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783853727.pdf7.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.