Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6006
Title: | ข้อโต้แย้งของฝ่ายชุมชนนิยมต่อมโนทัศน์ของจอห์น รอลส์ เรื่องบุคคลและชุมชน |
Other Titles: | Communitarian arguments against John Rawls' conceptions of the person and the community |
Authors: | สำราญ เทพจันทร์ |
Advisors: | อุกฤษฎ์ แพทย์น้อย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | รอลส์, จอห์น อภิปรัชญา ชุมชนนิยม ความยุติธรรม |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีความประสงค์ที่จะนำข้อโต้แย้งของฝ่ายชุมชน เรื่องบุคคลและชุมชน ที่มีต่อจอห์น รอลส์ขึ้นมาพิจารณา ฝ่ายชุมชนนิยมอ้างว่ามโนทัศน์ดังกล่าวแฝงอยู่เป็นพื้นฐานสำคัญในการเสนอความคิดเรื่องความยุติธรรมของรอลส์ โดยอ้างว่าทฤษฎีความยุติธรรมของรอลส์ตั้งอยู่บนพื้นฐานอภิปรัชญาเกี่ยวกับบุคคลที่ผิด ลักษณะบุคคลแบบรอลส์มาจากข้อตั้งที่บุคคลเป็นปัจเจกชนนิยมจนลดคุณค่าชุมชน ฝ่ายชุมชนนิยมอ้างเหตุผลว่าความเป็นบุคคลถูกกำหนดด้วยสังคม และชุมชนทำให้หลักการทางศีลธรรมมีสถานะเป็นเหตุผล การอ้างเหตุผลของฝ่ายชุมชนนิยมเป็นการปกป้องชุมชน ดังนั้นมโนทัศน์เรื่องบุคคลจึงร้อยรัดกับมโนทัศน์เรื่องชุมชนในการอ้างเหตุผลโต้แย้งรอลส์ รอลส์อ้างว่าฝ่ายชุมชนนิยมเข้าใจสถานะทฤษฎีของเขาผิด ทฤษฎีของเขาไม่ต้องการหาความจริงทางอภิปรัชญาเกี่ยวกับธรรมชาติบุคคล ไม่ใช่หลักรวมทั้งหมด แต่เป็นมโนทัศน์ทางการเมือง ที่มีลักษณะเชิงปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ต้องการพื้นฐานทางความจริง ปัญหาเฉพาะหน้าที่วัฒนธรรมประชาธิปไตยเผชิญคือคนแตกแยกกันเกี่ยวกับความคิดเรื่องสิ่งที่ดี ภารกิจของปรัชญา (การเมือง) คือการทำให้เกิดความมั่นคงในรูปแบบของการตกลงที่เหลื่อมซ้อน ไม่ใช่หาความจริง รอลส์จึงหลีกไม่ต้องตอบปัญหาอภิปรัชญาที่ฝ่ายชุมชนนิยมโต้แย้ง ซ้ำยังเห็นด้วยกับการอ้างเหตุผลบางส่วนของฝ่ายชุมชนนิยม การอ้างเหตุผลของรอลส์บกพร่อง เนื่องจากรอลส์อ้างว่า เขามีพื้นฐานความคิดเรื่องบุคคลซึ่งเป็นภาพบุคคลที่ทั้งขนบตะวันตกเข้าใจตนเองว่าเป็นบุคคลที่อิสระเท่าเทียมกัน ดังนั้นรอลส์จึงขัดแย้งตนเองที่ปฏิเสธพื้นฐานความจริงเรื่องบุคคลของตนเอง แต่เนื่องจากการอ้างเหตุผลทางปรัชญาแยกไม่ออกจากความจริง จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าปรัชญาการเมืองย่อมแยกไม่ออกจากพื้นฐานความจริงเรื่องบุคคลตามข้อโต้แย้งของฝ่ายชุมชนนิยม รอลส์จึงไม่ได้แก้ข้อกล่าวหาของฝ่ายชุมชนนิยมให้กระจ่าง ซ้ำยังทำให้ขนบเสรีนิยมเผชิญปัญหาที่ฝ่ายชุมชนนิยมโต้แย้งต่อไป |
Other Abstract: | This thesis intends to examine communitarian arguments against John Rawls' conceptions of the person and the community. Communitarians argue that Rawls' theorizing isolates and abstracs the person from her attribute and the community and thus deprives her off the source of value, giving instead pride of place to Kantian conception of person. This conception of the person that assumes central values in Rawls' theory has a faulty foundation on the metaphysical level of the personal identity. Rawls' individualistic assumption detaches value from shared normative commitment. Communitarians state that a person's character is shaped by social context. Thus, the conception of the community accompanies the conception of the person in our debate. The issue of the community is not adequately addressed by Rawls' theory. Rawls responds that this criticism misunderstand the logic of his theory. His theory does not want to pursue of truth or presuppose human nature, but seeks free agreement in modern pluralistic democracy which is marked by disagreement on conceptions of the good. The theory of justice is not a comprehensive doctrine, but a political conception with a practical aim at an agreement in overlapping consensus that leads to stability in the face of pluralism. What is really important for political philosophy for us is consensus-based social unity between free and equal persons. Rawls eschews the criticism, not rejects them. Rawls' argument fails. While he argues that people are free and equal, at the same time he rejects its foundation in human nature. This is a failed response. Political philosophers must do more than simply engage in consensus building; that is, philosophizing is not separete form the pursuit of turth, activity of political philosophy is itself based upon substantive metaphysical beliefes about the nature of human being. Rawls' response is untenable and is not right to eschew the criticism, and cannot weaken the communitarian line of arguments. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6006 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.181 |
ISBN: | 9741303343 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.181 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Samrarn.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.