Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60073
Title: | การจำแนกเพศโดยการวัดมือและเท้าในประชากรไทย |
Other Titles: | Estimation of sex using anthropometry of hand and foot in Thai population |
Authors: | เมทินี ร่มโพธิ์ทอง |
Advisors: | ปองพล ไตรเทพชนะภัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pongpon.T@Chula.ac.th,Pongpon.T@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การระบุเพศ เป็นหนึ่งในกระบวนการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลทางนิติมานุษยวิทยา แม้ในปัจจุบันจะมีการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลอยู่หลายวิธี แต่ในกรณีที่สภาพศพได้รับความเสียหายอย่างมาก หรือพบเป็นเพียงชิ้นส่วนของศพ อาจทำให้เกิดความยุ่งยากในการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลด้วยสารพันธุกรรม การระบุเพศจะเป็นการจำกัดวงแคบลงเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและภายหลังการเสียชีวิต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาค่าการวัดของขนาดของมือและเท้าเพื่อใช้ในการระบุเพศในประชากรไทย ทำการวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากอาสาสมัครคนไทย จำนวน 400 คน (ชาย 200 คน หญิง 200 คน) อายุระหว่าง 20 – 60 ปี ทำการวัดขนาดของมือทั้งหมด 8 ตัวแปร และขนาดของเท้า ทั้งหมด 3 ตัวแปร ด้วยดิจิตอลคาลิเปอร์และบอร์ดวัดกระดูก ในหน่วยเซนติเมตรโดยให้ค่าความถูกต้องในระดับ 3 ทศนิยม คำนวณค่าทางสถิติเชิงพรรณนา พร้อมทั้งการวิเคราะห์การจำแนกเพศโดยใช้ค่า Cut-off point สถิติ Logistic regression analysis และคำนวณความถูกต้องในการจำแนกเพศด้วยโปรแกรม SPSS version 22 ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของมือและเท้าทุกตัวแปรในเพศชายมีขนาดใหญ่กว่าเพศหญิง และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) การวิเคราะห์การจำแนกเพศโดยการวัดขนาดของมือและเท้าในประชากรไทยด้วยค่า Cut-off point มีค่าความถูกต้องของการจำแนกเพศอยู่ในช่วงร้อยละ 76.25 – 93.5 และ 79.5 – 93.75 ตามลำดับ และเมื่อนำค่า Cut-off point ไปใช้ในการจำแนกเพศในกลุ่มทดสอบที่เป็นผู้เสียชีวิต จำนวน 100 ราย พบว่าสามารถจำแนกเพศได้โดยมีค่าความถูกต้องเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 74 – 94 และ 63 -75 ตามลำดับ ส่วนการสร้างสมการถดถอยโลจิสติคจากขนาดของมือและเท้าจากตำแหน่งอ้างอิงต่างๆ มีค่าความถูกต้องของการจำแนกเพศโดยใช้ขนาดของมือและเท้าอยู่ในช่วงร้อยละ 92 – 93.5 และ 94 – 96 ตามลำดับ และเมื่อนำสมการไปใช้ในกลุ่มทดสอบ พบว่าสามารถจำแนกเพศได้โดยมีความถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ 82 – 94 และ 84 ตามลำดับ การศึกษาในครั้งนี้พบว่า ขนาดของมือและเท้าสามารถใช้ในการจำแนกเพศในประชากรไทยและมีค่าความถูกต้องที่เชื่อถือได้ โดยวิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติคมีค่าความถูกต้องของการจำแนกเพศสูงกว่าการใช้ค่า Cut-off point จึงควรนำสมการถดถอยโลจิสติคที่ได้ไปใช้ในการจำแนกเพศในประชากรไทย |
Other Abstract: | Sex estimation is one of the most important aspect in forensic anthropology for Identification of unknown remain, especially dismemberment or mass disaster case which mutilated or fragmented remains are usually discover, is difficulties in establishing an identity of deceased. The acquired sex data were then used by investigators for narrowing down antemortem data which can be derived from the relative of the deceased before comparing to the postmortem data. This study aims to estimate sex using hand and foot measurements by measure external parts of the body in Thai population. Measurements were done in 400 subjects (200 males and 200 females), 20 - 60 year-old. The 8 parameters from hand and 3 parameters from foot were measured using Mitutoyo digital caliper and Paleo-tech osteometric board in SI unit with up to accuracy of 3 decimal. Collected data were statistically analyzed using SPSS version 22. Cut-off point, Logistic regression analysis and accuracy were performed for sex estimation. Highly significant sex difference was found in hand parameters and foot parameters with males larger than females (P < 0.01). Cut-off point from hand and foot measurements were used to determine sex with accuracy 76.25 – 93.5% and 79.5 – 93.75%, respectively. In test group, Accuracy of sex estimation from hand and foot measurements are 74 – 94% and 63 – 75%, respectively. Whereas, Logistic regression analysis of hand and foot measurements were used to determine sex with accuracy 92 – 93.5% and 94 – 96%, respectively. In test group, Accuracy of sex estimation from hand and foot measurements are 82 – 94% and 84%, respectively. Hand and foot parameters can be successfully applied to sex estimation in Thais with reasonable accuracy. Logistic regression analysis can determine sex with more accuracy than Cut-off point. Therefore, Logistic regression equation from this study should be used to estimate sex in Thais. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60073 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1198 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1198 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5874112030.pdf | 4.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.