Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60091
Title: ผลของการฝึกเสริมด้วยการวิ่งหลายทิศทางที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฮอกกี้หญิงระดับเยาวชน
Other Titles: EFFECT OF SUPPLEMENTARY MULTI-DIRECTIONAL SPRINTS TRAINING ON AGILITY IN YOUTH FEMALE HOCKEY PLAYERS.
Authors: พิริยา ชนรักษา
Advisors: คนางค์ ศรีหิรัญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Kanang.S@chula.ac.th,kanang.s@chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยการวิ่งหลายทิศทางที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฮอกกี้หญิงระดับเยาวชน วิธีการดำเนินงานวิจัย นักกีฬาฮอกกี้ทีมโรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี เพศหญิง อายุระหว่าง 17-18 ปี จำนวน 24 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการฝึกเสริมด้วยการฝึกวิ่งหลายทิศทางและการฝึกซ้อมปกติ และกลุ่มควบคุมได้รับการฝึกซ้อมปกติ การฝึกเสริมด้วยการฝึกวิ่งหลายทิศทาง ประกอบด้วยการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยาทั่วไป ความคล่องแคล่วว่องไว การความเร็วในการเปลี่ยนทิศทางการวิ่ง ความเร็วในการวิ่งสปริ๊นท์ระยะทาง 20 เมตร การวิ่งซ้ำ และการกระโดดสูง ผลที่ได้นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการฝึก ทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (pair t-test) และทดสอบระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่าทีแบบอิสะ (independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย ภายหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มที่ได้รับการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกวิ่งหลายทิศทาง มีค่าเฉลี่ยความคล่องแคล่วว่องไว การความเร็วในการเปลี่ยนทิศทางการวิ่ง ความเร็วในการวิ่งสปริ๊นท์ระยะทาง 20 เมตร การวิ่งซ้ำ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง และความสูงของการกระโดดในแนวดิ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มควบคุม พบว่า ความเร็วในการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว ลดลงแต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และของตัวแปรอื่นๆ สรุปผลการวิจัย การฝึกเสริมด้วยการฝึกรูปแบบการวิ่งหลายทิศทางช่วยเพิ่มความสามารถของคล่องแคล่วว่องไว การความเร็วในการเปลี่ยนทิศทางการวิ่งในนักกีฬาฮอกกี้หญิงระดับเยาวชนได้
Other Abstract: Abstract Purpose: To study the effect of supplemented multi-directional sprints training on agility in elite youth female hockey players Methods: Twenty-four female hockey players from the Chonburi Sports School, aged range between 17-18 years, were recruited in this study. The players were separated into two groups, a supplemented multi-directional sprints training group (n = 12) and control group (n = 12). The supplemented multi-directional sprints training program trained 3 round/day, 3 days per week for 6 weeks. The general physical characteristics, illinois agility test, pro-agility test, sprint test 20 m, vertical jump test and repeated sprint ability (RSA) test were measured before and after training 6 weeks. The dependent variables were analyzed using pair t-test and independent t-test. A significance level of 0.05 was considered the statistical significance. Results: After 6 weeks training, the mean value of agility as measured by Illinois agility and pro-agility test, 20m sprint, vertical jump and repeated sprint ability (RSA) of supplemented multi-directional sprints training group were significantly decreased (p<0.05) when compared with pre-test. In control group. However, only the mean values of 20m sprint test was significantly decreased (p<0.05) after 6 weeks training. There was no significant difference (p>0.05) on illinois agility test, pro-agility test, and repeated sprint ability (RSA) test when compared with pre-test. Conclusion: The supplemented multi-directional sprints training program had positive effects on agility and change of direction speed in elite youth female hockey players.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60091
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1236
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1236
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5878408539.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.