Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60111
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลวรรณ ตังธนกานนท์-
dc.contributor.authorสุวพิชญ์ เกษมสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T06:07:22Z-
dc.date.available2018-09-14T06:07:22Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60111-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลป้อนกลับจากการประเมินหลายแหล่ง ที่แตกต่างกันที่มีผลต่อพัฒนาการทักษะการทางานกลุ่มของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลป้อนกลับจากการประเมินหลายแหล่งที่แตกต่างกันที่มีผลต่อคุณภาพผลงานของนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 75 คน โดยนักเรียนในกลุ่มทดลองจะได้รับข้อมูลป้อนกลับจากการประเมินหลายแหล่งที่แตกต่างกัน 4 วิธีการ ได้แก่ ข้อมูลป้อนกลับจากตนเองและครู, ข้อมูลป้อนกลับจากตนเองและเพื่อนสมาชิกกลุ่ม, ข้อมูลป้อนกลับจากเพื่อนสมาชิกกลุ่มและครู และข้อมูลป้อนกลับจากตนเอง เพื่อนสมาชิกกลุ่มและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เกณฑ์การให้คะแนนรูบริกแบบแยกองค์ประกอบสำหรับการวัดและประเมินทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียน 2) เกณฑ์การให้คะแนนรูบริกแบบแยกองค์ประกอบสำหรับประเมินคุณภาพผลงาน 3) คำถามปลายเปิดสำหรับผู้ให้ข้อมูลป้อนกลับที่มีแหล่งให้ข้อมูลจากตนเอง เพื่อนในกลุ่มและครูผู้สอน 4) แบบสัมภาษณ์ สำหรับผู้ให้ข้อมูลป้อนกลับที่มีแหล่งให้ข้อมูลจากครู 5) แบบบันทึกหลังได้รับข้อมูลป้อนกลับ 6) แบบบันทึกการพัฒนาตนเองหลังจากได้รับข้อมูลป้อนกลับ และ 7) กิจกรรมการทำงานกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1.นักเรียนที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากตนเอง เพื่อนสมาชิกกลุ่มและครู และนักเรียนที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากเพื่อนสมาชิกกลุ่มและครู มีพัฒนาการทักษะการทำงานกลุ่มมากกว่านักเรียนที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากตนเองและครู อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และนักเรียนที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากตนเอง เพื่อนสมาชิกกลุ่มและครู และนักเรียนที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากตนเองและเพื่อนสมาชิกกลุ่มมีคะแนนพัฒนาการทักษะ การทำงานกลุ่มสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับข้อมูลป้อนกลับอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากตนเอง เพื่อนสมาชิกกลุ่มและครู และนักเรียนที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากตนเองและเพื่อนสมาชิกกลุ่ม มีคุณภาพผลงานสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับข้อมูลป้อนกลับ อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study were 1) to compare teamwork skills development of upper secondary school students receiving different multisource feedback methods, and 2) to compare product quality of upper secondary school students receiving different multisource feedback methods. Sample was 75 upper secondary school students. Students in the experimental group received was four different multisource feedback methods, i.e., self and teacher feedback; self and group peer feedback; group peer and teacher feedback; and self, group peer and teacher feedback. Research instruments were: 1) analytic scoring rubric for the measurement and evaluation of teamwork skills, 2) analytic scoring rubric for measurement and evaluation of product quality, 3) open-ended questions for feedback givers receiving the information from student themselves, group peers, and teachers, 4) interview form for feedback givers receiving the information from teachers, 5) record form after receiving feedbacks, 6) self-development form after receiving feedbacks, and 7) group work activities. Quantitative data were analyzed by using descriptive statistics, one-way repeated measurement ANOVA and one-way ANOVA analysis, relative gain score analysis, whereas qualitative data were analyzed by using analytic induction Findings were as follows: 1. Students received feedback from themselves, group peers and teachers; and students received feedback from group peers and teachers have higher development of teamwork skills than those who received feedback from themselves and teachers at the .05 level of significance. Students received feedback from themselves, group peers and teachers; and students received feedback from themselves and group peers have higher development of teamwork skills than those who receive no feedback significantly at .05 level. 2. Students received feedback from themselves, group peers and teachers; and students received feedback from themselves and group peers have higher product quality than those who receive no feedback significantly at .05 level.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.735-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะการทำงานกลุ่มและคุณภาพผลงานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากการประเมินหลายแหล่งที่แตกต่างกัน-
dc.title.alternativeCOMPARISON OF TEAMWORK SKILLS DEVELOPMENT AND PRODUCT QUALITY OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS RECEIVING DIFFERENT MULTISOURCE FEEDBACK METHODS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorKamonwan.T@Chula.ac.th,tkamonwan@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.735-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883861827.pdf5.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.